Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Postpartum Hemorrhage - Coggle Diagram
Postpartum Hemorrhage
ประวัติCase
ผู้คลอดหญิงไทยอายุ 38 ปี อายุครรภ์ 36+5 weeks (G4P3A0L3) Last 9 ปี
มาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บครรภ์นอนพักดูอาการที่ห้องคลอดนาน 2 วัน จำหน่ายกลับบ้าน ภายหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลนาน 16 ชั่วโมงผู้คลอดกลับมาด้วยอาการเจ็บครรภ์และเด็กไม่ดิ้นก่อนมาโรงพยาบาล 30 นาที
อายุครรภ์ 37+1 สัปดาห์(G4P3A0L3) Last 9 ปี รับไว้ในโรงพยาบาลวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ประวัติ Anemia (Hct 29.5) โดยให้ประวัติว่า 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการอาการเจ็บครรภ์และมีมูกเลือดออกทางช่องคลอดและเด็กไม่ดิ้น
LR
เวลา 05.00 น. เจาะถุงน้ำ (ARM) และให้ยา Oxytocin เพิ่มการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อเร่งคลอดขณะรอคลอดผู้คลอดปวดท้องมากตลอดเวลา ปากมดลูกเปิด 3 เซนติเมตรความบางของปากมดลูก 70% ระดับส่วนนำลักษณะน้ำคร่ำเจาะถุงน้ำมีสีแดงจาง ๆHct 28% Platelet 173,000 cell / ul คลอดทารกเพศหญิง ตัวซีด ไม่หายใจ หัวใจไม่เต้น Apgar Score 0 คะแนนน้ำหนัก 2,150 กรัมหลังทารกคลอดนาน 7 นาทีรกคลอดและมีเลือดไหลทันทีจำนวน 800 มิลลิลิตรตรวจรกพบมีก้อนเลือดหลังรก 200 มิลลิลิตรมดลูกนิ่มหดรัดตัวไม่ดีและมีเลือดออกเรื่อย ๆ ช่วยนวดคลึงมดลูกให้ยาเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูกประเมินมดลูกหดรัดตัวย้ายไปตึกสูติกรรมหลังคลอด
-
PP
เวลา 16.00 น. รับย้ายจากห้องคลอดมารดาหลังคลอดยังมีอาการวิงเวียนตาลายหนาวสั่นประเมินตาม BUBBLE ... V / S ความดันโลหิต 106/74 มิลลิเมตรปรอทซีพจร 112 ครั้งต่อนาทีหายใจ 22 ครั้งต่อนาทีอุณหภูมิกาย 36.9 องศาเซลเซียส On 5% D n / 2 1000 CC + Oxytocin 10 UV drip 100cc / hr
เวลา 15.30 นตรวจประเมินอาการพบว่ามีเลือดออกจากช่องคลอดซุ่มผ้าอนามัย 1 ผืนและชุมผ้าถุงและผ้าขวางเตียงมดลูกเพิ่มไม่แข็งกตบริเวณยอดมดลูกมีก้อนเลือดออกมาประมาณ 1 ก้อน (15cc)
เวลา 15.45 น. สัญญาณชีพ T 37 c P 106 ครั้ง / นาที RR 20 ครั้ง/นาที BP 100/60 mmHg
เวลา 16.00 น. มารดาหลังคลอดมีอาการเวียนศีรษะหน้ามืดเป็นลม T 37 c P 110 ครั้ง/นาที RR 20 ครั้ง/นาที BP 90/60 mmHg มดลูกนิ่มมี bleeding per vaginale ไหลออกมาเปื้อน pad 50 CC รายงานแพทย์ให้เปลี่ยน IV lode 400 CC และให้ methergien 0.2 mgV Stat ให้ obs อาการผิดปกติ notify
การให้ยา Methergine
การพยาบาล
- อธิบายให้มารดาหลังคลอดให้ทราบเกี่ยวกับยา methergine เป็นยาเพิ่มแรงบีบตัวของมดลูกพร้อมทั้งให้สังเกตอาการและอาการผลข้างเคียงของยา
- ซักประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว
- วัดความดันโลหิตทั้งก่อนและหลังให้ยา ถ้าก่อนให้ยามีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทจะไม่ให้ Methergin
- หลังให้ยาสังเกตอาการและอาการแสดง การหายใจ สัญญาณชีพ โดยเฉพาะ BP อาการ Chest pain, leg cramp
- เมื่อฉีดยาใน 5 นาทีแรกต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ยานี้อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียน ใจสั่น ความดันเลือดสูงหรือแพ้ได้ ห้ามใช้ในคนที่เป็นความดันโลหิตสูงโรคหัวใจโรคตับและโรคไต
กลุ่ม Ergot alkaloid
กลไกการออกฤทธิ์ : ออกฤทธิ์โดยกระตุ้นผ่านทางช่องแคลเซียมในมดลูก Ergometrine เป็น partial agonist ของ Adrenagic , 5HT-1 และกระตุ้นตัวรับ Dopamine ในระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มดลูกหดรัดตัวและค้างอยู่ (Sustained contraction) ออกฤทธิ์ทันทีเมื่อให้ทางหลอดเลือดดำและออกฤทธิ์ใน 2-5 นาทีเมื่อให้ยาทางกล้ามเนื้อ ตัวยามีค่าครึ่งชีวิต ประมาณ 120 นาที
อาการข้างเคียง : คลื่นไส้อาเจียน การแข็งตัวของเลือดจะเร็วผิดปกติ ระวังในคนไข้ที่เป็นโรคเกี่ยวหลอดเลือด ระวังความดันโลหิตสูงและมีภาวะครรภ์เป็นพิษ หลีกเลี่ยงผู้ที่ใช้ยาฆ่าเชื้อรา
ความหมาย
การเสียเลือดภายหลังทารกคลอดทางช่องคลอดมากกว่า 500 มิลลิลิตรหรือมากกว่า 1,000 มิลลิลิตร ในกรณี ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง หรือ การเสียเลือดหลังทารกคลอดเกินร้อยละ 1 ของนํ้าหนักตัวมารดา แบ่งตามระยะเวลาของการตกเลือดได้ 2 ชนิด ได้แก่ การตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก และการตกเลือดหลังคลอดในระยะหลัง
พยาธิสรีรภาพ
ตามธรรมชาติภายหลังรกคลอด ผนังมดลูกโดยเฉพาะ
ตําแหน่งที่รกลอกตัว ซึ่งมีหลอดเลือดปลายเปิดเป็นจํานวนมากจะถูกบีบรัดตัวและเลือดหยุดไหล ทั้งนี้เพราะอาศัยเซลล์ของกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งประสานล้อมรอบหลอดเลือด รวมทั้งขบวนการแข็งตัวของลิ่มเลือด แต่ในกรณีที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อมดลูกหรือ มีสิ่งขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูกจะทําให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดีหรือในกรณีที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของลิ่มเลือด หรือมีการฉีกขาดของหนทางคลอดหรือมดลูกจะทําให้เกิดการตกเลือดที่รุนแรงหลังคลอดได้
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
5T
- Tone : มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ผู้คลอดมีประวัติการตั้งครรภ์และคลอดหลายครั้งและผู้ป่วยมีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด(Abruptio placenta) ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกยืดขยายมากกว่าปกติ การหดกลับของกล้ามเนื้อมดลูกไม่ดีและการเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนด(Abruptio placenta) ทำให้เกิดการสูญเสียเลือดปริมาณมากในขณะตั้งครรภ์หรือระยะรอคลอด
- Tissue : เศษรกค้าง
- Trauma : ช่องทางคลอดฉีกขาด
- Thrombin : เลือดไม่แข็งตัว
- Traction : Uterien invertion
การซักประวัติเพิ่มเติม
- มีแผลฝีเย็บ RML ระดับ 3 มีจุดเขียวรอบแผล แผลบวมเล็กน้อย บ่นปวด pain 3
- Bleeding per vaginaชุ่มผ้าอนามัย 2 ผืน มี blood 350
- ระดับยอดมดลูกเหนือสะดือประมาณ 1 นิ้ว มดลูกนิ้มหดรัดตัวไม่ดี
- การแข็งตัวของเลือดปกติ ไม่ได้ตรวจการแข็งตัวของเลือด
- เต้านม 2 ข้างเท่ากัน ไม่มีคัดตึงเต้านม น้ำนมเริ่มไหล nipple ปกติ
- มีปัสสาวะออก 40 cc/hr.
- Bowel sound 6 ครั้ง
- มีโรคประจำตัวเป็นภูมิแพ้
- ไม่มีประวัติเคยได้รับการผ่าตัด
-
การให้สารน้ำ
LRS เพราะว่าเป็นส่วนประกอบของเกลือแร่และด่างที่ใกล้เคียงกับ Plasma เนื่องจากมารดาหลังคลอดกลุ่มนี้มีโอกาสเกิด Hypovolemic shock จากการสูญเสียเลือดออกจากร่างกาย