Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Covid-19 ไวรัสโคโรนา 2019, image, image, image, image, image, image,…
Covid-19
ไวรัสโคโรนา 2019
พยาธิสภาพ
เชื้อใช้ผิวเซลล์ของไวรัสจับกับ angiotensin converting enzyme II ที่ผิวเซลล์มนุษย์เพื่อเข้าไปเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนเชื้อในเซลล์มนุษย์แล้วเซลล์มนุษย์ที่ติดเชื้อจะเพิ่มจำนวนและปล่อยเชื้อไวรัสออกมานอกเซลล์เพื่อไปก่อโรคในเซลล์ข้างเคียงต่อไปการที่เชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นและเข้าไปในเซลล์ข้างเคียงอีกหลายรอบ จะทำลายเซลล์มนุษย์ในหลอดลมและปอด ทำให้ปอดอักเสบและการหายใจล้มเหลวในที่สุดหากระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ไม่สามารถทำลายหรือควบคุมเชื้อให้ทันกาล
โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยคาด
ว่าเป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คนโดยมีค้างคาววเป็นพาหะ
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ SAR-CoV-2 เชื้อก่อ
โรคได้ทั้งในคนและสัตว์ เชื้อสามารถติดต่อจากคนสู่
คนผ่านทางเดินหายใจจากละอองของเสมหะจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลายในระยะประมาณ 1-2 เมตร
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่างๆโดยที่ไม่มีการป้องกัน
รับประทานอาหารที่ร้อน สุกใหม่ๆ
ล้างมือสม่ำเสมอ
หากจำเป็นต้องไปในที่ชุมชนแออัดให้สวมหน้ากากอนามัยเสมอ
หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด
อาการและอาการแสดง
อาการน้อย
มีไข้ ไอไม่มีอาการเหนื่อย
อาการปานกลาง
มีไข้ร่วมกับมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เหนื่อย หายใจเร็ว X-ray ทรวงอกพบความผิดปกติ
อาการรุนแรง
หายใจเร็ว ความอิ่มตัวของ O2 < 93 ในขณะพัก PaO2/FiO2 < 300 mmhg
x-ray ทรวงอกพบปอดแย่ลงมากกว่าร้อยละ 50 ภายใน 1-2 วันอย่างต่อเนื่อง
อาการวิกฤต
มีการหายใจล้มเหลวต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เช่น ปอดอักเสบและน้ำท่วมปอด
มีภาวะช็อคหรือมีอวัยวะอื่นล้มเหลว เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว ไตวาย
การวินิจฉัย
การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Real-time RT-PCR ต่อ N-gene และ ORF-1b gene
2 การตรวจยืนยันเชื้อ SARS-CoV-2
วิธี Real-time RT-PCR ต่อยีนเป้าหมายที่แตกต่างกันหรือบริเวณเป้าหมายที่ต่างกันแม้จะเป็น
ยีนเดียวกัน
การตรวจลําดับนิวคลิโอไทด์ (Nucleotide sequencing ) ต่อ ORF-1b gene หรือ N gene
การรักษา
Chioroquine หรือ hydroxychloroquine ซึ่งเป็นยารักษามาลาเลีย
ยาต้านไวรัสเอสด์เป็นยากลุ่มเสริม ที่มีสูตรผสมระหว่าง Lopinavir และ Ritonavir หรือ Darunavir และ Ritonavir ในรายที่เป็นโรคโควิดรุนแรง
Favipiravir มีฤมธิ์ต้านไวรัสกลุ่ม RNA ของเชื้อไวรัสได้ ยาถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้
กิจกรรมการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1
การใช้เครื่องช่วยหายใจโดยใช้หลักการปรับเครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันอันตรายต่อเนื้อเยื่อปอดเพื่อช่วยลดภาระการหายใจ
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนในท่า pron position อย่างน้อย 16 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้มีการไหลเวียนเลือดไปยังปอดมากขึ้น
ประเมินการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดโดยวัดสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง
ประเมินการหายใจโดยสังเกตลักษณะการหายใจ อัตราการหายใจ monitor oxygen satuation
เมื่อพบอาการผิดปกติเช่นความดันโลหิตต่ำ ภาวะออกซิเจนแย่ลงให้รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาแผนการรักษา
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2
ประเมินสัญญาณชีพผู้ป่วยทุก 1 ชั่วโมงเพื่อประเมินการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดและภาวะแทรกซ้อน
ประเมินการหายใจโดยสังเกตลักษณะการหายใจ อัตราการหายใจ
monitor oxygen satuation
ใส่เครื่องช่วยหายใจตามแผนการรักษาของแพทย์
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจน ได้แก่ ซึมลง กระสับกระส่าย หายใจลำบาก ให้รีบรายงานแพทย์
ให้ยาขยายหลอกลมตามแผนการรักษา
จัดท่านอนศรีษะสูง 30-45 องศา เพื่อช่วยให้หายใจได้สะดวกและแลกเปลี่ยนแก๊สได้ดีขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อช่วยลดการใช้ออกซิเจน
ติดตามผลการวิเคราะห์ก๊าสและผลตรวจทางรังสีวิทยาถ้ามีการเปลี่ยนแปลง
รายงานแพทย์
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 3
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมิณปริมาณเลือดที่มาเลี่ยงไต
ดูแลให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำอย่างระมัดระวังเรื่องอัตราหยดของสารน้ำโดยให้ผ่านเครื่องปรับหยดสารน้ำ
บริหารยาด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อไต
สังเกตุอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำเกิด คือ อาการบวม หายใจหอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้
ให้การพยาบาลแบบประคับประคองเพื่อไม่ให้ไตเสียการทำงานมากขึ้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ระหว่างที่ไตยังไม่ฟื้นตัว
สังเกตอาการทางร่างกาย เช่น ความตึงตัวของผิวหนัง ความชุ่มชื้นของเยื่อเมือกต่างๆ เพื่อประเมินภาวะไม่สมดุลของสารน้ำ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
2.มีภาวะปอดอักเสบเนื่องจากติดเชื้อ SARS-CoV-2
1.มีภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลันเนื่องจากเนื้อเยื่ออดถูกทำลาย
3.มีภาวะไตวายเฉียบพลันจากภาวะแทรกซ้อนของ covid-19