Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
TYPHOID FEVER ไข้รากสาดน้อย, image, image, image, image, image, image,…
TYPHOID FEVER
ไข้รากสาดน้อย
พยาธิสภาพ
ติดต่อจากการติดเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลาไทฟิ (Salmonella typhi) ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่มและอาหารเมื่อเชื้อเข้าสู่ทางเดินอาหารจะทำลายเชลล์เยื่อบุทางเดินอาหารและแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือดได้จากนั้นเชื้อยังสามารถ กระจายไปยังตับ ม้าม ท่อน้ำดีและผิวหนังได้
การติดต่อ : การติดต่อเกิดได้เฉพาะจากคนสู่คนเท่านั้น โดยผู้ที่ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะจะขับเชื้อออกมาทางอุจจาระเป็นหลัก
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงลอยแบบเรื้อรัง กลางคืน อาจมีไข้สูงได้ถึง 40.5 องศาเซลเซียส และจะหายไปในตอนเช้า
มีอาการท้องผูก มักพบในผู้ใหญ่ หรืออาการท้องเสียถ่ายเหลว(Pea soup) มักพบในเด็ก
อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดแน่นท้อง ท้องอืด และกดเจ็บเล็กน้อย
พบผื่นราบ หรือผื่นนูน (สีออกแดง) หรือจุดแดงคล้ายยุงกัดที่หน้าอกหรือหน้าท้อง ขนาดประมาณ 2-4 มิลลิเมตร เมื่อดึงหนังให้ตึงจะจางหาย ซึ่งเรียกว่า “โรสสปอต” (Rose spots)
อาจพบม้ามโต ตับโต และบางรายอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง (ดีซ่าน) หรือโลหิตจาง (ถ้าเป็นเรื้อรัง)
อาจมี DIC shock (Disseminated Intravascular Coagulopathy Shock)คือภาวะที่เลือดแข็งตัวกระจายไป
ทั่วร่างกาย มีเลือดออกในลำไส้หรือลำไส้ทะลุได้
ภาวะแทรกซ้อน
ระบบประสาท เช่น แขนขาอ่อนแรง เส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ระบบหายใจ เช่น ปอดอักเสบ (ปอดบวม) และมีแผลที่คอหอย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
อาการเลือดออกในลำไส้และลำไส้ทะลุ
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ
ประวัติการเดินทางของผู้ป่วย ไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ Salmonella typhi หรือไม่ เช่นพื้นที่แออัด ไม่มีการสุขาภิบาลที่ดี
ประวัติการทานอาหารและน้ำดื่ม ที่ได้ทานไปสะอาดหรือไม่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ (Antibody) ต่อเชื้อไทฟอยด์
การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) ซึ่งอาจพบเม็ดเลือดขาวขึ้นสูง ต่ำ หรือปกติก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบภาวะโลหิตจาง (ซีด) และมีค่าอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (ESR) สูง ส่วนค่าการทำงานของตับอาจเป็นปกติหรือสูงก็ได้ และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจพบความผิดปกติได้เล็กน้อย
การทดสอบไวดาล (Widal test)เป็นการตรวจหาสารก่อภูมิต้านทานหรือแอนติเจน (Antigen) ของเชื้อไทฟอยด์ ซึ่งมักจะตรวจพบหลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการมาแล้วประมาณ 7-10 วัน
การรักษา
Co-trimoxazole 2 tab oral b.i.d. p.c.
Amoxicillin 500 mg oral q.i.d. q 6 hrs. กรณีติดเชื้อรุนแรง
Ceftriaxone 2 g iv drip q 6 hrs. กรณีติดเชื้อรุนแรง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากมีไข้สูง หนาวสั่น
2.เสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโตรไลต์ในร่างกายเนื่องจากการสูญเสียอิเล็กโตรโลต์ในทางเดินอาหาร
3.เสี่ยงต่อภาวะเยื่อบุลำไส้อักเสบและเลือดออกเนื่องจากมีการติดเชื้อ
4.ไม่สุขสบายเนื่องจากมีผื่นคันตามร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1
ตรวจวัดสัญญาณชีพผู้ป่วยทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมิณอาการของไข้
เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาอย่างนุ่มนวลเนื่องจากน้ำจะช่วยพาความร้อนออกจากร่างกายทาง
ผิวหนังทำให้อุณหภูมิลดลงและทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำชดเชยอย่างเพียงพอ คือให้ดื่มน้ำ 2,500-3,000 ml/day เพื่อเป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนในสิ่งแวดล้อมที่สงบเงียบ เนื่องจากเป็นการลดอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ ลดการทำงานของกล้ามเนื้อ เป็นการลดการผลิตความร้อน ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์และติดตามอาการผลข้างเคียงของยา
ดูแลผู้ป่วยไม่ให้ห่มผ้าหนาเกินไปเพราะจะทำให้การระบายอากาศไม่ดี
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ WBC Neutrophil Lymphocyte
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2
วัด V/S ทุก ครึ่ง-1 ชั่วโมง จนกว่าสัญญาณชีพจะคงที่จึงวัดทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินการทำหน้าที่ของระบบประสาท เช่น ระดับความรู้สึกตัว อาการกระสับกระส่าย อาการชัก
ประเมินระดับความรู้สึกตัว อาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน การถ่ายอุจจาระ ตาลึก เพื่อประเมินภาวะขาดน้ำ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มเกลือแร่บ่อยๆ ตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อทดแทนอิเล็กโทรไลต์ที่เสียไปทางอุจจาระ
ประเมินสารน้ำเข้า-ออกทุกเวรเพื่อประเมินสมดุลน้ำในร่างกายและให้ดื่มน้ำอย่างจำกัดตามแผนการรักษา
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินภาวะสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3
ประเมินอาการของการติดเชื้อโดยการดูแลสังเกตติดตามบันทึกจำนวนการถ่ายอุจจาระ กลิ่น สีและลักษณะอุจจาระ
วัดและประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลง
จัดเตรียมน้ำดื่มที่สะอาดและแนะนำผู้ป่วยทานอาหารปรุงสุกใหม่
ติดตามผลการตรวจเลือดและอุจจาระตามแผนการรักษาเพื่อประเมินภาวะติดเชื้อและภาวะตกเลือด
ดูแลให้ได้รับยาฆ่าเชื้อตามแผนการรักษาและติดตามประเมินผลข้างเคียง
4.ไม่สุขสบายเนื่องจากมีผื่นคันตามร่างกาย
แนะนำผู้ป่วยและญาติทำความสะอาดร่างกายเพื่อให้ผิวหนังสะอาด เช็ดให้แห้งและใส่เสื้อผ้าที่อ่อนนุ่ม เพื่อลดการระคายเคือง
แนะนำให้ผู้ป่วยตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการเกิดแผลจากการเกาบริเวณที่คัน
ดูแลให้ได้รับยา ตามแผนการรักษา และติดตามผลข้างเคียงของยา
ประเมิณลักษณะจำนวนผื่น อาการคัน ถ้าเพิ่มมากขึ้นรายงานแพทย์รับทราบเพื่อพิจารณารักษาต่อไป
การควบคุมป้องกัน
เลือกซื้ออาหารที่ใหม่และสด
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกสุขลักษณะ เช่นรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังรับประทานอาหาร
การปฏิบัติที่ถูกสุขลักษณะร่วมกับการใช้ระบบ HACCP ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อได้