Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีความขัดแย้งโลกสงครามการค้าสหรัฐอเมริกาเเละจีนที่ยังคงสืบเนื่องมาจนปัจจ…
กรณีความขัดแย้งโลกสงครามการค้าสหรัฐอเมริกาเเละจีนที่ยังคงสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน
สภาพการณ์
ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาได้โจ ไบเดน เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งนายโจ ไบเดนต้องรับผิดชอบต่อจากทรัมป์ในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับนานาชาติจากการทำสงครามการค้า แต่ที่จริงเเล้วสงครามการค้ายังไม่ได้จบลง เพราะนายโจ ไบเดนไม่ได้เปลี่ยนนโยบายระยะยาวของประเทศ รวมถึงยังมีนโยบาย Buy American Rules ที่ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในประเทศ
ภูมิหลัง(ความเป็นมา)
ที่จริงเเล้วในสมัยของเติ้งเสี่ยวผิง ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯเป็นไปอย่างราบรื่น
เเต่ต่อมาในยุคของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เป็นช่วงที่ประเทศจีนมีความพร้อมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ กำลังทหาร ส่วนการเมืองภายในจีนเองมีความมั่นคงมากที่สุด ในขณะที่ชาติตะวันตกกำลังประสบปัญหาการบริหารเศรษฐกิจที่ผิดพลาดมาตั้งแต่ ยุค subprime จนถึงวิกฤติภาคสถาบันการเงินในยุโรป
ดังนั้นจีนจึงกลายเป็นประเทศที่โดดเด่น และมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับที่สองของโลก มหาอำนาจของโลกจึงถูกประกาศออกมาให้ทุกประเทศได้ทราบ ถึง China dream ที่ต้องการขยายอิทธิพลและแสนยานุภาพของจีน และต้องการให้จีนก้าวขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจของโลก เช่นเดียวกับประเทศตะวันตก และประวัติศาสตร์ในอดีตที่จีนเคยเป็นมหาอำนาจมาก่อนแล้ว
สหรัฐจึงเปลี่ยนไปจากประเทศที่เกื้อหนุนกัน มาเป็นคู่แข่ง เพราะต้องระวัง นโยบายการปฏิรูปประเทศของจีน ที่ต้องการเปลี่ยนไปสู่ประเทศที่มีเทคโนโลยีชั้นสูง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาแสนยานุภาพทางด้านอาวุธและกองทัพ ซึ่งก็เป็นเครื่องมือที่ทรงอำนาจในการต่อรองทางการเมืองระหว่างประเทศและนั่นย่อมจะเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงต่อสหรัฐอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะทำให้จีนเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงกับสถานภาพของความอภิมหาอำนาจที่สหรัฐครอบครองมาอย่างยาวนาน ภายหลังตั้งแต่ที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย และรัสเซียเริ่มอ่อนกำลังไป
แนวโน้ม
สงครามการค้ามีแนวโน้มจะจบลงได้ยาก เเม้อาจพักรบสั้น ๆ แต่สุดท้ายก็จะปะทุขึ้นมาอีก ซึ่งอาจทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจโลกจะเสียสมดุล และเดินเข้าสู่ภาวะซบเซาอีกครั้ง เพราะสงครามการค้านี้ส่งผลกระทบในหลายอุตสาหกรรมและหลายประเทศอย่างมหาศาล
แนวทางการป้องกัน/แก้ไขปัญหา
กาารป้องกันปัญหาเเละเเก้ไขปัญหาความขัดเเย้งระหว่างสองชาติเป็นไปได้ยาก ดังนั้นเราก็ต้องรู้จักการติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดเเละปรับตัวตามสถานการณ์การเปลี่ยนเเปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเเละซับซ้อน
ตัวอย่าง เเนวทางการปรับตัว
การหาพันธมิตรในต่างประเทศเพื่อเป็นคู่ค้า : การมีธุรกิจในต่างประเทศจะช่วยให้การนำเข้าและส่งออกสินค้ามีความสะดวกมากขึ้น นอกจากนี้แล้ว พันธมิตรในต่างประเทศยังช่วยลดต้นทุนในการทำตลาด ลดความเสี่ยงในด้านยอดขายได้ด้วย โดยอาจมีการทำข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับมูลค่าของสินค้าที่จะนำเข้ามาขายในประเทศให้กับธุรกิจที่เป็นพันธมิตร และมูลค่าของสินค้าที่พันธมิตรจะขายให้ในตลาดต่างประเทศ
ต้องมีการบริหารให้มีสภาพคล่องทางการเงิน : เพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับการทำธุรกิจในช่วงที่ยอดขายลดลงมาก หรือมีคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มมากขึ้นจนต้องขยายการผลิตในระยะสั้น ซึ่งอาจรวมไปถึงขอวงเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินจากสถาบันการเงิน
ต้องมีการกระจายความเสี่ยงด้วยการขยายฐานลูกค้า : ธุรกิจควรมีการขยายฐานลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศไปยังกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางการค้าน้อย เช่น การจับกลุ่มลูกค้าภายในประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง ด้วยการปรับรูปแบบของสินค้าให้มีความน่าดึงดูดใจ มีคุณภาพสูงขึ้น มีการออกแบบที่ดีขึ้น รวมถึงการขยายฐานลูกค้าในต่างประเทศไปยังประเทศอื่นในอาเซียน เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง
ต้องมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน : ด้วยการใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยง เช่น การค้าขายโดยทำข้อตกลงการชำระเงินเป็นเงินบาท การใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือการระบุเงื่อนไขในการชำระเงินให้ยืดหยุ่นตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
ตัวอย่างประเทศที่มีการปรับตัวที่ดีคือเวียดนาม เนื่องจากรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา ประกาศว่ารถยนต์ทุกคันของรัฐ จะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า และผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ซึ่งเวียดนามมีการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยมีการทำข้อตกลง FTA กับสหรัฐอเมริกาเรียบร้อยแล้ว และพร้อมจะตั้งโรงงานเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกา
สาเหตุ
เกิดการต่อสู้ด้านการวางกลยุทธ์เพื่อกีดกันการขยายอำนาจ ระหว่างจีนและสหรัฐฯ โดยเป็นการแข่งขันทางการค้าและการลงทุน ทั้งสองชาติต่างตั้งกำแพงภาษีเก็บจากสินค้าของอีกฝ่าย
วันที่ 1 มีนาคม 2018 ทรัมป์ประกาศเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าประเภทเหล็กและอะลูมิเนียมจากต่างประเทศรวมถึงจีน
ในเดือนเดียวกันนี้ ทรัมป์ได้ออกมาประกาศตั้งกำแพงภาษีสำหรับสินค้าจีน โดยเพิ่มภาษีนำเข้าเป็น 25% คิดเป็นมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อลดการขาดดุลทางการค้า โดยประเทศจีนก็ออกมาตอบโต้ด้วยมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากอเมริกาในอัตรา 15-25% เช่นกัน ซึ่งนับเป็นการประกาศศึกการค้าของสองชาติอย่างชัดเจน
ผลกระทบ
ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น
เนื่องจากปัจจุบันมีการดำเนินนโยบายมี Buy American Rules
ผู้ประกอบการที่ต้องการทำการค้าขายกับสหรัฐอเมริกา ก็ต้องมีการสร้างถิ่นกำเนิดของสินค้าในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้น เพราะโจ ไปเดน ได้ลงนามเพื่อเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของสหรัฐอเมริกาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เกิดการจัดระเบียบห่วงโซ่อุปทานในระดับโลกขึ้นมาใหม่ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ สินค้าส่งออกจำนวนไม่น้อยในตลาดโลกไม่ได้ผลิตขึ้นมาภายในประเทศเดียวทั้งหมด มีการแยกผลิตตามความได้เปรียบด้านต้นทุนในการผลิตของประเทศ หากประเทศที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าจนทำให้ความได้เปรียบด้านต้นทุนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้ผลิตในประเทศเหล่านั้นอาจโดนแทนที่ด้วยผู้ผลิตในประเทศอื่นที่มีความได้เปรียบมากกว่า จนทำให้ห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเปลี่ยนโฉมหน้าไป อาจส่งผลต่อผู้ผลิตในประเทศไทยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเหล่านี้
การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมจะชะลอตัวลง เป็นผลมาจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดลงของทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นเป็นหัวจักรใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไปยังสองประเทศนี้ได้รับผลกระทบ ยอดการส่งออกลดลงจนส่งผลต่ออัตราการขยายตัวของประเทศเหล่านั้นตามไปด้วย สุดท้ายแล้วแม้แต่ประเทศที่ไม่ได้พึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯและจีน ก็จะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการที่เศรษฐกิจของประเทศอื่นชะลอตัวลงตามไปด้วย
มีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากหากย้อนกลับไปดูทิศทางการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทและเงินตราสกุลอื่นในเอเชีย จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์สงครามการค้า เป็นการเพิ่มความเสี่ยงทางการเงินให้กับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
ส่วนใหญ่ผลกระทบที่เกิดขึ้นมักเป็นข้อเสีย เเต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อดี
ในเรื่องของการที่บางประเทศอาจสามารถส่งออกสินค้าทดแทนจีนและสหรัฐฯ เช่น ประเทศไทยก็มีการส่งสินค้าเกษตรไปยังจีนมากขึ้น และส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์ยางไปยังสหรัฐฯ
เรื่องของการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาของบริษัทในบางประเทศลดลง เพราะในเมื่อทิศทางการค้าการลงทุนโลกยังไม่มีความชัดเจน ประกอบกับการที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของบางประเทศลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ อาจส่งผลให้บริษัทเลื่อนการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาออกไป ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของบริษัทและความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้เพิ่มขึ้นช้ากว่าที่ควรจะเป็น