Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประกันคุณภาพและพัฒนาการศึกษา - Coggle Diagram
การประกันคุณภาพและพัฒนาการศึกษา
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ขั้นตอนการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
ขั้นการเตรียมการ
1.1 การเตรียมความพร้อมของบุคลากร โดยต้องสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของการประกันคุณภาพภายในและการทำงานเป็นทีม
1.2 การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบในการประสานงาน กำกับดูแลช่วยเหลือสนับสนุนให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันและเชื่อมโยงเป็นทีม
ขั้นการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
2.1 การวางแผน จะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบงาน
2.2การปฏิบัติตามแผน ซึ่งในขณะดำเนินการต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา
2.3 การตรวจสอบประเมินผล ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา
2.4 การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน
ขั้นการจัดทำรายงานประเมินตนเอง (SAR) หรือรายงานประจำป
แนวทางการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา
สถานศึกษาแต่ละแห่งต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามกฏกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
สถานศึกษานำมาตรฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดประกาศใช้ไปเทียบเคียงและจัดทำเป็น “มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา”
เมื่อหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาได้รับ SAR จากสถานศึกษา า ก็จะมีการสรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ผลการดำเนินงาน
การประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาและการตัดสินระดับคุณภาพตามมาตรฐานเป็นไปตามหลักการตัดสินโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ (ExpertJudgment)
การประเมินคุณภาพภายในเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่ต้องตรวจสอบและประเมินตนเองตามสภาพบริบทของสถานศึกษา
การกำหนดเป้าหมายความสำเร็จการดำเนินงานของสถานศึกษาให้สถานศึกษากำหนดเป้าหมายความสำเร็จและเกณฑ์การประเมินตามสภาพบริบทของสถานศึกษา
การประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้เน้นการประเมินตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสภาพจริงของสถานศึกษา(Evidence Based)
คณะที่ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ควรศึกษามาตรฐานการศึกษาและประเด็นพิจารณาที่กำหนดให้เข้าใจถ่องแท้ก่อนดำเนินการประเมินคุณภาพสถานศึกษาของตนหลังประเมิน
ในการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สถานศึกษาดำเนินการ โดยให้มีการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ให้สถานศึกษาสรุปและจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียนและผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษา
โครงสร้างรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาไม่มีรูปแบบตายตัวให้สถานศึกษาจัดทำในสิ่งที่สถานศึกษาต้องการนำเสนอได้สิ่งสำคัญที่สุดของรายงานการประเมินตนเอง
ข้อควรตระหนักในการประเมินคุณภาพภายใน
หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน
กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานคณะกรรมกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหน่วยงานต้นสังกัดสูงสุดในการกำหนดมาตรฐานการศึกษา มีหน้าที่ในการประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มากำหนดทิศทางในการดำเนินงานด้านการศึกษาเพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีบทบาทสำคัญในการนำมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดเป็นเป้าหมายการพัฒนาในภาพรวมระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ระดับสถานศึกษาสถานศึกษา เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่มีความสำคัญที่สุด ที่นำเอามาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและ อัตลักษณ์ของสถานศึกษาที่โดดเด่นในด้านต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกันแล้วกำหนดเป็นมาตรฐานของสถานศึกษา
จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จัดให้มีการการประเมินผลและตรวจสอบ
คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
จัดให้มีการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา
ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพภายนอก
หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตามและการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือผู้ประเมินภายนอก
ระบบการประกันคุณภาพภายนอกเพื่อรับรองมาตรฐานและมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ
การประกันคุณภาพภายนอก การประกันคุณภาพภายนอกให้คำนึงถึงจุดมุ่งหมายและหลักการ
ในการประกันคุณภาพภายนอก ให้สำนักงานทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาแต่ละแห่งตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ
ในกรณีที่ผลการประเมินคุณภาพภายนอกแสดงว่า ผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ให้สำนักงานแจ้งเป็นหนังสือพร้อมแสดงเหตุผล ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานแก่หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษานั้นและให้สถานศึกษานั้นปรับปรุงแก้ไขโดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและดำเนินการตามแผนเพื่อขอรับการประเมินใหม่ภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมินครั้งแรก
ในกรณีที่สถานศึกษาไม่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในกำหนดเวลาตามกำหนด ให้สำนักงานรายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือหน่วยงานต้นสังกัดอื่นแล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
แนวคิดและหลักการของการประเมินคุณภาพภายนอก
ตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น – จุดด้อย ของสถานศึกษาเงื่อนไขความสำเร็จและสาเหตุของปัญหา
เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา แก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
กระบวนการประเมินคุณภาพภายนอก
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 2 ระหว่างการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 3 หลังการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา