Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
A beautiful mind, บรรณานุกรม
-กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2560).…
A beautiful mind
-
การวินิจฉัยโรค
DSM-5
A. มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป นาน 1 เดือน
- อาการหลงผิด
- อาการประสาทหลอน
- การพูดอย่างไม่มีระเบียบแบบแผน
- พฤติกรรมที่ไม่มีระเบียบแบบแผน
- มีอาการด้านลบ
B. ระดับความสามารถในด้านสำคัญๆ เช่น ด้านการทำงาน การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือกาดูแลตนเองลดลงไปจากเดิมอย่างชัดเจนอย่างน้อยหนึ่งด้าน
C. มีอาการต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยต้องมี active phase (ตามข้อ A) อย่างน้อย นาน 1 เดือน
และรวมช่วงเวลาที่มีอาการในระยะ prodromal หรือ residual phase อาการที่พบอาจเป็นเพียงอาการ
ด้านลบ หรืออาการตามข้อ A ตั้งแต่2อาการ ขึ้นไป แต่แสดงออกแบบเล็กน้อย
-
-
F. ผู้ป่วยที่มีประวัติกลุ่มโรคออทิสติก หรือโรคเกี่ยวกับการสื่อสารตั้งแต่วัยเด็ก จะวินิจฉัยโรคจิตเภท
ก็ต่อเมื่อมีอาการหลงผิดหรืออาการประสาทหลอนที่เด่นชัดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ร่วมด้วย
-
-
พัฒนาการตามช่วงวัย
-
วัยรุ่น : มีบุคลิกที่แตกต่างจากคนอื่นอย่างชัดเจน สนใจทางด้านคณิตศาสตร์ มักหมกหมุ่นอยู่กับการคิดทฤษฎี และเริ่มมีอาการเห็นภาพหลอน
วัยผู้ใหญ่ : เป็นอัจฉริยะมีความคิดที่โดดเด่น ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ แต่อาการเห็นภาพหลอนเริ่มหนักขึ้นจนทำให้มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรง
วัยชรา : เริ่มมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นมากขึ้น เนื่องจากได้รับการรักษาจนอาการป่วยเริ่มหายดี และเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการหลายๆท่านจากการคิดค้นทฤษฎีขึ้นมาใหม่
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
- ครอบครัวไม่สามารถเผชิญกับการเจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
subjecttive
- ภรรยารู้สึกน้อยใจที่จอห์นไม่ให้ความสนใจตนเอง
- ภรรยาไม่ได้ติดตามการรับประทานยาของจอห์น
- ภรรยารู้สึกว่าจอร์นมีความรู้สึกทางเพศลดลง
objective
- ภรรยามีสีหน้ากังวล เมื่อพูดคุยเรื่องการเจ็บป่วยของจอห์น
- ภรรยาเขวี้ยงของแตก ตอนที่จอห์นไม่ยอมมีเพศสัมพันธุ์ด้วย
กิจกรรมการพยาบาล
- สร้างสัมพันธภาพ แนะนำตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจที่จะทำการรักษาด้วย
- เตรียมญาติในการดูแลและอยู่ร่วมกับผู้ป่วย โดยการให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่ญาติเผชิญอยู่ การให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของอาการป่วยทางจิตเวช และการให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
3.แสดงการยอมรับพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเภททั้งด้านบวกและด้านลบ ได้แก่ พฤติกรรม อารมณ์ หากผู้ดูแลเข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมต่างๆ แล้วควรยอมรับและให้อภัย ควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจด้วยเหตุผล
- ส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วย การร่วมมือในการรักษาและพัฒนาการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วย เช่น การช่วยเหลือด้านจิตใจ เช่น คนรอบข้าง ผู้รักษาจะให้คำแนะนำที่ผู้ป่วยสามารถนำไปปฏิบัติได้ เช่น ช่วยผู้ป่วยในการหาวิธีแก้ปัญหาในแบบอื่นๆ ที่เขาพอทำได้
- จัดให้มีหน่วยงานให้คำแนะนำ และช่วยแก้ปัญหาเมื่อครอบครัวเผชิญภาวะวิกฤติต่างๆเนื่่องมาจากการป่วยจิตเวช
- มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง เนื่องจากมีการหวาดระแวง
subjecttive
- ผู้ป่วยบอกว่าจิตแพทย์ที่รักษาเขาเป็นสายลับรัสเซีย
- ผู้ป่วยบอกว่ามีคนสะกดรอยตาม และถูกปองร้ายจากกลุ่มคนที่เป็นสายลับรัสเซีย
objective
- ผู้ป่วยนั่งกุมมือและบีบมือตัวเองเกือบตลอดเวลา สีหน้า วิตกกังวล แววตาหวาดระแวง ก้มหน้าเป็นส่วนใหญ่
- เมื่อพูดถึงการเป็นสายลับจะพูดรัวเร็ว
- มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม
กิจกรรมการพยาบาล
- สร้างสัมพันธภาพ แนะนำตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจที่จะทำการรักษาด้วย พยาบาลต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างสม่ำเสมอ
- เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เล่าเรื่องราวถึงเหตุการณ์ที่เจอ อาการต่างๆ รับฟังด้วยความตั้งใจ อาจเรียกชื่อของผู้ป่วยหรือใช้เทคนิคในสร้างสัมพันธภาพสะท้อนความรู้สึกเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเราใส่ใจในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกและได้รับรู้ถึงข้อมูลปัญหามากขึ้น
- ผู้ป่วยที่มีความหวาดระแวงในบางสิ่ง เช่น มีคนจะลอบฆ่า พยาบาลต้องยอมรับในพฤติกรรมหวาดระแวง ไม่โต้แย้ง ต่อต้าน และจัดบรรยากาศให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย การให้ความจริงกับผู้ป่วยจะกระทำได้ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยรับได้ การให้เหตุผลเพียงอย่างเดียวผู้ป่วยอาจไม่เชื่อถือพยาบาลอาจจะต้องแสดงพฤติกรรมให้ผู้ป่วยแน่ใจด้วย เช่นชิมอาหารให้ดู เป็นต้น
- ประเมินอาการและความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วย ได้แก่ ประเมินลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย อารมณ์และความรู้สึกที่แสดงออก ลักษณะของคำพูด การรับรู้และประสาทหลอน ความคิดหลงผิด ความสามารถในการควบคุมตนเอง
5.. การสื่อสารกับผู้ป่วยต้องเปิดเผยรักษาคำพูดให้ข้อมูลอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา หลีกเลี่ยงการจ้องมอง
- ผู้ป่วยหวาดระแวงจะมีความเคลือบแคลงสงสัยไม่แน่ใจในการพบปะผู้คนหรือการเข้าร่วมกิจกรรม โดยออกมาในรูปแบบของการแยกตัวเอง รุกรานผู้อื่นก่อนเพื่อป้องกันตนเองหรือกล่าวหาผู้อื่น กล่าวหาว่ากิจกรรมบำบัดกลุ่มไม่น่าสนใจพยาบาลต้องคอยสังเกตและระมัดระวังการก่อความวุ่นวาย การทำร้ายผู้อื่นและถ้าผู้ป่วยสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ควรชมเชยเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจ และภาคภูมิใจในตัวเอง
- ส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วย และพัฒนาการมีส่วนร่วมของครอบครัว และชุมชนในการดูแลผู้ป่วย เช่น ให้ความรู้ผู้ป่วย ญาติ/ผู้ดูแลเรื่องสาเหตุ อาการ การดําเนินโรค การรักษาและผลข้างเคียงจากการใช้ ยาจิตเวช
- มีแนวโน้มกลับมารักษาซ้ำเนื่องจากผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
subjecttive
-
-
- จอห์นบอกว่าการรับประทานยาทำให้ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวันและอารมณ์ทางเพศลดลง
-
กิจกรรมการพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพ แนะนำตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจที่จะทำการรักษาด้วย พยาบาลต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างสม่ำเสมอ
2.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เล่าเรื่องราวถึงเหตุการณ์ที่เจอ อาการต่างๆ รับฟังด้วยความตั้งใจ อาจเรียกชื่อของผู้ป่วยสะท้อนความรู้สึกเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเราใส่ใจในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกและได้รับรู้ถึงข้อมูลปัญหามากขึ้น
- ประเมินอาการและความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วย ได้แก่ ประเมินลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย อารมณ์และความรู้สึกที่แสดงออก ลักษณะของคำพูด การรับรู้และประสาทหลอน ความคิดหลงผิด ความสามารถในการควบคุมตนเอง ความสามารถในการรับรู้กาลเวลา สถานที่ บุคคล
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Thorazine 30 mg IM q 6 และ Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn hrs. ตามเวลาที่แพทย์สั่งและเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา
- แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติสังเกตอาการเตือนก่อนอาการทางจิตกำเริบ เช่น เริ่มหงุดหงิดง่าย ไม่นอน/นอนไม่หลับ อาจเริ่มมีอาการประสาทหลอน รวมถึงมีพฤติกรรมไม่ร่วมมือ เช่นทิ้งยา/ ไม่กินยา พูดห้วน ตาขวาง การดื่มสุรา
- สอนทักษะการติดตาม การกำกับการ กินยาของผู้ป่วยให้แก่ อสม.ในพื้นที่เพื่อช่วยสนับสนุนกิจกรรมการพยาบาล
- เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่น เนื่องจากมีความผิดปกติด้านการรับรู้
subjecttive
- จอห์นเชื่อว่าตนเองเป็นสายลับ และกำลังถูกปองร้าย
- จอห์นเห็นภาพหลอน และคิดว่าภาพหลอนนั้นจะไปทำร้ายภรรยาของเขา
- จอห์นปล่อยลูกทิ้งไว้ในอ่างอาบน้ำเพราะคิดว่ามีคนอยู่กับลูก
4.จอห์นคิดว่าพาร์เชอร์คนที่เขาทำงานด้วยจะมาทำร้ายครอบครัว เขาจึงเข้าไปปัดโทรศัพท์จากภรรยาเพื่อป้องกันไม่ให้ภรรยาได้รับอันตราย
objective
- จอร์นมีพฤติกรรมทำลายของโดยการโยนโต๊ะทำงานของตนเองออกจากหน้าต่างห้องของตน
-
- จอห์นใช้ศีรษะตนเองโขกกับหน้าต่าง
- จากการตรวจสภาพจิตหัวข้อการรับรู้เกี่ยวกับตนเองจอห์นยอมรับว่าตนเองแตกต่าง ตนเองแสดงพฤติกรรมแปลก เพราะต้องรักษาความลับทางการทหารและมีคนจะมาทำร้าย
กิจกรรมการพยาบาล
- สร้างสัมพันธภาพ แนะนำตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจที่จะทำการรักษาด้วย พยาบาลต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยได้กล้าพูดเปิดใจถึงความคิด ความรู้สึก
- เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เล่าเรื่องราวถึงเหตุการณ์ที่เจอ อาการต่างๆ รับฟังด้วยความตั้งใจ อาจเรียกชื่อของผู้ป่วยหรือใช้เทคนิคในสร้างสัมพันธภาพสะท้อนความรู้สึกเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเราใส่ใจในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกและได้รับรู้ถึงข้อมูลปัญหามากขึ้น
- ประเมินอาการและความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วย ได้แก่ ประเมินลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย อารมณ์และความรู้สึกที่แสดงออก ลักษณะของคำพูด การรับรู้และประสาทหลอน ความคิดหลงผิด ความสามารถในการควบคุมตนเอง ความสามารถในการรับรู้กาลเวลา สถานที่ บุคคล
- พยาบาลต้องยอมรับในความคิดหลงผิดของผู้ป่วย โดยพยาบาลไม่ควรโต้แย้ง หรือท้าทายว่าสิ่งที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟังนั้นไม่จริง พยาบาลไม่ปฏิบัติตามที่ผู้ป่วยเชื่อ และไม่ควรนำคำพูดของผู้ป่วยไปพูดล้อเล่น เช่น ถ้าผู้ป่วยถามว่าพยาบาลเห็นหรือได้ยิน เช่นเดียวกับผู้ป่วยหรือไม่พยาบาลควรตอบให้ผู้ป่วยรู้ว่าพยาบาลไม่เห็นหรือไม่ได้ยิน
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Thorazine 30 mg IM q 6 และ Diazepam 10 mg IM q 4 hrs prn hrs. ตามเวลาที่แพทย์สั่งและเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา
- ลดโอกาสในการเกิดอาการประสาทหลอนต่างๆ โดยการสนทนากับผู้ป่วยด้วยถ้อยคำทีชัดเจนเรียกชื่อผู้ป่วยให้ถูกต้องและกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
- แนะนำให้ผู้ป่วยและญาติสังเกตอาการเตือนก่อนอาการทางจิตกำเริบ เช่น เริ่มหงุดหงิดง่าย ไม่นอน/นอนไม่หลับ อาจเริ่มมีอาการประสาทหลอน รวมถึงมีพฤติกรรมไม่ร่วมมือ เช่นทิ้งยา/ ไม่กินยา พูดห้วน ตาขวาง การดื่มสุรา
- จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม มีบรรยากาศผ่อนคลาย อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่เป็นมุมอับเพื่อช่วยลดภาวะเครียดของผู้ป่วยลง
- ให้ความรู้แก่ญาติให้เข้าใจในความเจ็บป่วย ช่วยประคับประคองด้านอารมณ์และเพื่อการมีส่วนร่วมใน
การรักษา
-
การรักษา
การรักษาด้วยยา
- ระยะควบคุมอาการ เป้าหมายของการรักษาในระยะนี้คือ การควบคุมอาการให้สงบลงโดยเร็ว
- ระยะให้ยาต่อเนื่อง หลังจากที่อาการสงบลงแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาต่อเนื่อง เพื่อ
ป้องกันไม่ให้กลับมามีอาการกำเริบซ้ำ
การรักษาด้วยไฟฟ้า
โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีผู้ป่วยไม่ตอบสนองด้วยยา โดยใช้ECT ร่วมด้วย นอกจากนี้ยังอาจใช้ในผู้ป่วยชนิด catatonic หรือผู้ป่วยที่มี severe depression ร่วม
-
-
-
-
-