Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คุณค่าและความหมายของชีวิตในปรัชญาขงจื่อ - Coggle Diagram
คุณค่าและความหมายของชีวิตในปรัชญาขงจื่อ
1.) ความหมายของชีวิต
ขงจื่อเน้นที่การปฏิบัติต่อกันบนพื้นฐานทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกันทางสังคมในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
ขงจื่อจึงสอนให้มีความรับผิดชอบตามหลักจริยธรรมระหว่างบุคคล
ผู้ปกครองเป็นผู้ปกครอง ขุนนางเป็นขุนนาง บิดาเป็นบิดา บุตรเป็นบุตร
คนที่มีชื่อเรียกทางสังคมว่าอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับชื่อที่เรียกนั้นให้สมบูรณ์
ชีวิตกับจริธรรมจึงเป็นสิ่งที่แยกขาดจากกันไม่ได้
ชีวิต คือ ความซื่อสัตย์ คนที่ไม่มีความซื่อสัตย์เหมือนคนที่ตายแล้ว
ชีวิตที่ไม่มีความซื่อสัตย์ก็เหมือนไม่มีชีวิต มนุษย์จาต้องถือความซื่อสัตย์เป็นชีวิตทีเดียว
ชีวิตที่ดำรงอยู่ได้ด้วยคุณธรรมในทัศนะขงจื่อจึงเป็นชีวิตที่มั่นคง และปลอดภัยชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่มีมิติทางจริยธรรม
หลักคำสอนของขงจื่อจึงมุ่งเน้นที่การเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ด้วยการปฏิบัติด้านคุณธรรมและจริยธรรม
วรรณคดี
จริยธรรม
ความสัตย์ซื่อภักดี
ความน่าเชื่อถือ
ขงจื่อให้ความสำคัญกับชีวิตหรือการดำเนินชวิตในปัจจุบันมากกว่าชีวิตหลังความตาย
2.) ชีวิตที่มีคุณค่า
"การปฏิบัติมนุษยธรรมมาจากตนเอง ใช่ว่ามาจากผู้อื่น”
“การเรียนรู้ต้องนี้กินความครอบคลุมถึงการศึกษาเล่า เรียน การกล่อมเกลาจริยธรรม บุคลิกภาพและแนวปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ โดยอาศัยแหล่งความรู้ตาม จารีตประเพณีในรูปของคัมภีรก์วีนิพนธ์”
ขงจื่อพูดถึงโทษ 6 ประการที่เกิดจากการไม่รักการเรียนรู้
2.) โทษที่บังเกิดคือความเลื่อนลอย
) โทษที่บังเกิดคือความบั่นทอน
4.) โทษที่บังเกิดคือความดุดัน
5.) โทษที่บังเกิดคือความบ้าบิ่น
6.) โทษที่บังเกิดคือความคลั่ง
1.) โทษที่บังเกิดคือความโง่
ตู้ เหวยหมิง ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงคุณค่าพื้นฐานจากภายในของผู้บรรลุคุณธรรมไว้ 5 ข้อ
1) ความเป็นมนุษย์ (humanity) เป็นผู้มีคุณธรรมขั้นพื้นฐาน คือการมีความรักความเมตตา เห็นอกเห็นใจของเพื่อนมนุษย์
2) ความถูกต้อง (uprightness) คือความถูกต้องชอบธรรมซึ่งแตกต่างจากความดี
3) ความสุภาพ (civility) คือการปฏิบัติตามหลักพิธีกรรม และขงจื่อได้เห็นว่าพิธีกรรมเป็นรูปแบบของความสภุาพ
4) ปัญญา (wisdom) คือการรูบุคคลและรู้การกระทำของบุคคล ผู้ที่ทำได้เท่านั้นจึงได้ชื่อว่าคนมีปัญญา
5) ความเชื่อถือได้ (trust) ความยุติธรรม และความเท่าเทียม
3.) ชีวิตที่มีความหมาย
ผู้คนทั่วไปคิดว่า ชีวิตที่มีความหมาย คือ การทำสิ่งใดๆ ที่มนุษย์เราสามารถทำได้ นอกเหนือจากการปฏิบัติตามหลักศีลธรรมและการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
นักปรัชญาตะวันตก ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการแสวงหาทางปัญญา (intellectual pursuits) ในแง่ของความเป็นจริง
แนวปฏิบัติ (practices)
"หลี่" หรือธรรมเนียมปฏิบัติหรือหลักจารีต (ritual)
หลี่เฉินหยาง(Cheng yang Li) เสนอให้เรามองหลี่ในฐานะหลักภาษาทางวัฒนธรรม
หลี่เปรียบเสมือนโครงสร้างทางไวยากรณ์ของภาษาอันเป็นกฎที่เราใช้ร่วมกัน
หลี่หรือจารีตใช้เป็นเครื่องมือเพื่อนำทางการดำเนินชีวิตของคนในสังคมอย่างมีระเบียบ
หลี่จึงมีความหมายกว้างที่หมายรวมถึง ธรรมเนียมประเพณี รูปแบบการวางตัว และระเบียบแบบแผน ของคนในสังคมทุกระดับ
หลี่จึงเป็นพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์ที่แสดงออกต่อกัน
ครอบครัว (family)
หลักคำสอน คือ ความกตัญญู เป็นการเลี้ยงดูมารดาบิดาด้วยความกตัญญูในฐานะบุตรธิดาและต้องผ่านเกณฑ์ “ความเคารพ” เป็นสำคัญ คำสอนเรื่อง “แนวปฏิบัติ”และ “ครอบครัว”
มีความสอดคล้องกับคำว่า “ความหมายของชีวิต” ออกเป็น 3 ลักษณะ
ความหมายเชิงปัญญา (Intelligibility – Meaning) ในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
ความหมายเชิงจุดมุ่งหมาย (Purpose – Meaning) เช่น ความกตัญญู ความดีใจ - เสียใจ เป็นต้น
ความหมายเชิงความสำคัญ (Significance – Meaning) เช่น งานแต่งงาน งานศพ และงานพิธีการอื่น ๆ ในส่วนของครอบครัว (families) ชีวิตของพ่อแม่ในปัจจุบันจะเชื่อมกับชีวิตของลูกในอนาคต
ในคัมภีร์หลุนอี่ว์ (Analects) ขงจื่อ เห็นว่าการพูดถึงชีวิตที่มีความหมาย ควรสัมพันธ์กับคุณค่าและประสบการณ์ต่างๆ