Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภัยพิบัติธรรมชาติ - Coggle Diagram
ภัยพิบัติธรรมชาติ
ธรณีภาค
แผ่นดินไหว(earth quake)
ภัยแผ่นดินไหว หมายถึง ภัยที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นดินที่รุนแรง ขนาด
มากกว่า 5 ขึ้นไป จากรอยเลื่อนมีพลังและภูเขาไฟปะทุ ซึ่งเป็นพลังงานจากความเครียดที่สะสม
-
-
- การเคลื่อนตัวฉับพลันของรอยเลื่อนมีพลัง
-
-
ภูเขาไฟปะทุ
ภูเขาไฟปะทุ หมายถึง การปะทุของหินหนืดหลอมเหลวและแก๊สจากใต้เปลือกโลก
ความรุนแรงของการปะทุจะขึ้นอยู่กับแรงดันที่ปะทุออกมา
-
-
สึนามิ (tsunami)
สึนามิ หมายถึง คลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟปะทุใต้ทะเลอย่างรุนแรง เมื่อคลื่นเคลื่อน เข้าปะทะชายฝั่ง ความยาวคลื่น คาบคลื่นจะลดลง แต่ความสูงคลื่นจะเพิ่มมากขึ้น ทําให้มีพลังทําลาย รุนแรงจนอาจเกิดการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บของผู้คน รวมถึงสิ่งปลูกสร้างบริเวณชายฝั่งเสียหาย
-
-
แผ่นดินถล่ม
แผ่นดินถล่ม หมายถึง เป็นการเคลื่อนที่ของดินหรือหินตามบริเวณพื้นที่ลาดชันที่เป็นภูเขาหรือเนินเขาเนื่องจากแรงดึงดูดโลก อาจเคลื่อนหลุดออกมาหรือพังทลายลงมาก็ได้
-
-
- สภาพภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาและมีความลาดชันมาก
-
-
- การก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ
- การใช้ที่ดินไม่เหมาะสม เช่น การท าเหมือง
-
-
อุทกภาค
อุทกภัย(flood)
อุทกภัย หมายถึง ภัยหรืออันตรายที่เกิดจากน้ําท่วมฉับพลันในพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง
หรือน้ําไหลเอ่อล้นฝั่งแม่น้ําเข้าท่วมพื้นที่
- น้ําป่าไหลหลาก เมื่อฝนตกหนักต่อเนื่องบริเวณพื้นที่ต้นน้ํา คือ ภูเขาจะเกิดการสะสมของน้ําท่าจนพื้นดิน และป่าไม้ดูดซับไว้ไม่ได้อีกต่อไป จึงเกิดการไหลบ่าลงสู่บริเวณที่ต่ํากว่า เช่น เชิงเขา ที่ราบเชิงเขา อย่างรวดเร็วด้วยกําลังรุนแรง บางครั้งเรียกว่า น้ําท่วมฉับพลัน
- น้ําท่วมขัง เมื่อมีปริมาณน้ําท่าไหลบ่าหน้าดินสะสมในปริมาณมาก จะทําให้เกิดการไหลบ่าในแนวระดับ จากที่สูงลงสู่ที่ต่ําเข้าท่วมขังบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม ทําให้ได้รับความเสียหาย ในเมืองใหญ่ที่ ระบบระบายน้ําไม่มีคุณภาพและมีสิ่งกีดขวางเส้นทางระบายน้ํามาก จะทําให้น้ําท่วมขังนาน
- น้ําล้นตลิ่ง เมื่อปริมาณน้ําจํานวนมากไหลลงสู่แม่น้ํา ซึ่งมีพื้นที่ระบายน้ําน้อยกว่าปริมาณน้ํา ทําให้เกิด การเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรมตามฝั่งแม่น้ํา ทําให้ได้รับความเสียหาย
สาเหตุการเกิดอุทกภัยที่รุนแรง มีดังนี้
- น้ําป่าไหลหลาก มีสาเหตุจากพายุหมุนเขตร้อนพัดผ่าน ทําให้ ฝนตกหนักติดต่อกันนานจนพื้นดินและป่าไม้ดูดซับไว้ไม่ได้ จึงเกิดการไหลบ่าลงสู่บริเวณที่ต่ํากว่า และทําลายป่าไม้บริเวณ พื้นที่ต้นน้ําที่ดูดซับน้ําและยึดดิน ทําให้เกิดน้ําป่าไหลหลาก รุนแรงเมื่อฝนตกหนัก
- น้ําท่วมขัง มีสาเหตุจากภูมิประเทศที่ลุ่ม การระบายน้ําและ ระบบการจัดการน้ําไม่ดี หรือน้ําทะเลหนุนสูงบริเวณที่ลุ่ม ชายฝั่ง
- น้ําล้นตลิ่ง มีสาเหตุจากปริมาณน้ําในแม่น้ํามีมากเกินความจุ ของลําน้ํา จึงล้นออกไปด้านข้าง
-
ภัยแล้ง (drought)
ภัยแล้ง หมายถึง ภัยที่เกิดจากการมีฝนน้อยกว่าปกติหรือไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทําให้เกิดการขาดแคลนน้ํากิน น้ําใช้
น้ําทําการเกษตร ความรุนแรงของภัยแล้งขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศ ระยะเวลาที่เกิดภัยแล้ง และขนาดของพื้นที่ที่เกิดภัยแล้ง
ภัยแล้งจําแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ภัยแล้งด้านอุตุนิยมวิทยา คือ สภาวะที่ฝนน้อยหรือไม่มี ฝนเลยในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติควรจะต้องมีฝนตก
- ภัยแล้งด้านการเกษตร คือ สภาวะการขาดแคลนน้ําของพืช และมนุษย์ อาจนําไปสู่ภาวะความอดอยากได้ ถ้าเกิดภัยแล้ง รุนแรงต่อเนื่อง
- ภัยแล้งด้านอุทกวิทยา คือ สภาวะที่ระดับน้ําผิวดินและ น้ําใต้ดินลดลงมากผิดปกติ หรือน้ําในแม่น้ําลําคลองมี ปริมาณลดลงมากกว่าปกติ
สาเหตุหลักของการเกิดภัยแล้ง คือ การ เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น ฝนไม่ตกต้อง ตามฤดูกาลหรือฝนทิ้งช่วงนาน ทําให้มีน้ํากักเก็บใน แหล่งน้ําน้อย ในฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ทําให้อัตรา การระเหยของน้ําผิวดินสูงขึ้น การทําลายป่าไม้บริเวณ ต้นน้ํา ทําให้ไม่มีต้นไม้ทําหน้าที่ดูดซับฝนลงสู่ใต้ผิวดิน และความต้องการใช้น้ําในปริมาณมากเกินกว่า น้ําต้นทุนจากฝนจะทดแทนได้
-
บรรยากาศภาค
พายุ
พายุคือ ลมที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรงและสภาพอากาศสามารถบ่งบอกถึง
ความรุนแรงของพายุแต่ละระดับได้
- พายุทอร์นาโด คือ พายุหมุนรุนแรงซึ่ง เกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง เป็นปรากฏการณ์ทางอากาศ ที่มีความรุนแรงที่สุด โดยภายในพายุเมฆขนาดใหญ่ อ า ก า ศ อุ่ น แ ล ะ ค ว า ม ชื้ น กํ า ลั ง ล อ ย ตั ว สู ง ขึ้ น ขณะที่อากาศเย็นกําลังตกลงพร้อมกับฝน สภาวะ ดังกล่าวจึงทําให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศภายในเมฆ ซึ่งอากาศหมุนนี้มีรูปร่างเป็นแท่ง เคลื่อนที่เป็นแนวตั้ง ออกจากเมฆ แล้วสัมผัสลงบนพื้นผิวโลก โดยทั่วไป พายุทอร์นาโดสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกภูมิภาค แต่เกิดขึ้น บ่อยในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะมีสภาวะอากาศที่ เอื้อต่อการเกิดภาวะลมร้อนและไอเย็นปะทะกัน
- พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นพายุระดับท้องถิ่น บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรมีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้า คะนองมาก เนื่องจากมีอากาศร้อนชื้น พายุฝนฟ้าคะนองเกิดจากการที่อากาศร้อนลอยตัวขึ้น และมีแรง กระทําทําให้อากาศยกตัวขึ้นไปสู่ความสูงระดับหนึ่ง โดยมวลอากาศจะเย็นลงเมื่อลอยสูงขึ้น และกลั่นตัว เป็นละอองน้ําเล็ก ๆ เป็นการก่อตัวของเมฆคิวมูลัส และพัฒนามาเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส อากาศจะเคลื่อนที่ลงอย่างรวดเร็ว เกิดลมกระโชกรุนแรงและเกิดเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง บางครั้งอาจเกิดลูกเห็บตก
- พายุหมุนเขตร้อน เป็นพายุขนาดใหญ่ที่ก่อตัวเหนือทะเลหรือมหาสมุทร ในเขตร้อน เนื่องจากน้ําในมหาสมุทรได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ระเหยขึ้นเป็นไอน้ํา ต่อมาไอน้ํากลั่นตัวเป็นหยดน้ําเล็กจํานวนมากแล้วกลายเป็นเมฆและฝนต่อไป ซึ่ง กระบวนการกลั่นตัวของไอน้ําจะมีการคายพลังงานแฝงออกมา พลังงานนั้น เมื่อรวมกับแรงจากการหมุนของโลกจะทําให้เกิดการเคลื่อนตัวของพายุหมุนเขตร้อน
-
- พายุฝนฟ้าคะนอง เมื่อก่อตัวเต็มที่จะมีลมกระโชกรุนแรง ฝนตกหนัก
- พายุหมุนเขตร้อน จําแนกตามความเร็วลมและความสูงของคลื่นพายุซัดฝั่ง
- พายุทอร์นาโด จําแนกตามความเร็วลมและระดับความเสียหายตามมาตราฟูจิตะ
-
ชีวภาค
ไฟป่า (forest fire)
ไฟป่า หมายถึง ไฟที่เผาไหม้เชื้อเพลิงตามธรรมชาติในป่าหรือทุ่งหญ้า เช่น ใบไม้ เศษไม้ บนพื้นป่า หญ้า วัชพืช ไม้พื้นล่าง ไม้พุ่ม กิ่งไม้แห้ง แล้วลุกลามโดยอิสระ โดยไม่สามารถควบคุม ได้ สร้างความเสียหายต่อสมดุลธรรมชาติ
สาเหตุการเกิดไฟป่าที่รุนแรง
- สาเหตุจากธรรมชาติ ได้แก่ ฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกันจากแรงลมพัด ภูเขาไฟปะทุ ปฏิกิริยาเคมีในดินบริเวณป่าพรุ ทําให้เกิดความร้อนโดยมีแก๊สออกซิเจนและวัสดุเชื้อเพลิงต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบให้เกิดการลุกลามโดยอิสระในผืนป่า
- สาเหตุจากมนุษย์ ที่เกิดมากที่สุดมาจากการจุดไฟเผาป่า เพื่อเก็บหาของป่า สาเหตุ รองลงมา คือ การเผาไร่หรือพื้นที่เพาะปลูกภายหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อกําจัดวัชพืช โดยปราศจาก แนวป้องกันไฟ ส่วนสาเหตุอื่น ๆ รองลงมา ได้แก่ การล่าสัตว์ การทําปศุสัตว์ ความประมาท จากการก่อกองไฟแล้วลืมดับ หรือทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพื้นป่า
ประเภทของไฟป่า
- ไฟใต้ดิน เป็นไฟที่ไหม้วัสดุเชื้อเพลิงที่อยู่ในดินและใต้ดิน เช่น ไฟไหม้ป่าพรุ มีความรุนแรงน้อย
- ไฟผิวดิน เป็นไฟที่ไหม้วัสดุเชื้อเพลิงตามผิวดิน เช่น เศษไม้ เศษใบไม้ หญ้าแห้ง มีอัตราลุกลามตั้งแต่ช้าจนถึงเร็วมาก
- ไฟเรือนยอด เป็นไฟที่ไหม้วัสดุเรือนยอดไม้ แล้วเกิดการลุกลามจากเรือนยอดหนึ่งสู่เรือนยอดต่อไป ไฟป่าชนิดนี้จึงมี ความรุนแรงมาก
-