Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพระบบประสาท กล้ามเนื้อ…
บทที่ 7 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก
7.3 การพยาบาลเด็กที่มีการติดเชื้อในระบบสมอง (Intracranial infection)
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) เป็นบริเวณส่วนเมมเบรน
สาเหตุ
1.Bacterial meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียพบได้ไม่บ่อยเท่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสแต่ภาวะโรครุนแรงมากกว่า แบ่งตามเชื้อต้นเหตุได้อีก 2 ชนิดคือ 1.1 Purulent meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดเป็นหนอง 1.2 Tuberculosis meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส 2.Viral meningitis หรือ Aseptic meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส 3.Eosinophilic meningitis เกิดจากพยาธิ 4.การติดเชื้อรา (fungal meningitis) 5.ปฏิกิริยาที่ไม่ใช่การติดเชื้อ (non-infection diseases) เช่น 5.1 เนื้องอก (Malignancy) 5.2 การบาดเจ็บ/กระทบกระเทือนของสมอง (trauma) 5.3 การได้รับสารพิษ จากตะกั่ว ปรอท เป็นต้น
อาการและอาการแสดง แบ่งได้ 3 แบบ
1.อาการที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ
มีไข้สูง หนาวสั่น เบ่ออาหาร มีอาเจียนได้ง่าย
2.อาการที่แสดง่ามีการระคายของเยื่อหุ้มสมอง (Meningeal Irritation)
ปวดศีรษะมาก ปวดบริเวณคอด้วย ระยะแรกซึมเล็กน้อย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการจะเลวลงเรื่อยๆ จนถึงหมดสติภายใน 4-5 วัน โดยเฉพาะภายในอายุ 6 เดือนแรกจะไม่พบ คงมีแต่กระหม่อมหน้า (Anterior Fontanelle) อาการแสดงของการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมองที่สำคัญดังนี้ อาการคอแข็ง (Stiftness of neck), kernig's Sign Positive & Brudzinski's Sing Positive
3.อาการที่แสดงถึงภาวะแทรกซ้อน
เช่น สมองบวม มีน้ำหรือหนองในช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง มีฝีในสมอง
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ประกอบด้วยดังนี้
1.ประวัติของผู้ป่วย
2.การตรวจห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
2.1 การตรวจเลือด
2.3 การย้อมสีน้ำในไขสันหลัง (gram stain)
2.4 การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (CT scan)
2.2 การตรวจน้ำไขสันหลัง
-ลักษณะน้ำไขสันหลังปกติใสไม่มีสี
-ความดันน้ำไขสันหลังปกติในเด็กโตมีค่าประมาณ 110-150 มม/น้ำ
-จำนวนเซลล์ในน้ำไขสันหลังเม็ดเลือดขาวในน้ำไขสันหลังในเด็กปกติไม่ควรเกิน 10 เซลล์/ม3
-โปรตีนในน้ำไขสันหลัง เด็กปกติจะตรวจพบโปรตีนในน้ำไขสันหลังไม่เกิน 40 mg/dl
5.น้ำตาลในน้ำไขสันหลังปกติควรมีค่าเกิน 1/2 ของน้ำตาลในเลือด
การรักษา
1.การรักษาเฉพาะ
2.การรักษาทั่วไปตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง
2.1 ให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้สูง
2.2 ให้ยานอนหลับเพื่อลดอาการกระสับกระส่าย
2.3 ให้ยากันชักในผู้ป่วยที่มีอาการชักเกร็ง
2.4 ให้ยาลดอาการบวมของสมองในผู้ป่วยที่มีอาการสมองบวม
2.5 ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาภาวะสมดุลของน้ำและอิเลคโตรไลท์
2.6 เจาะคอ หรือใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจ หรือภาวะหมดสติ
3.การรักษาภาวะแทรกซ้อน
3.1 ของเหลวคั่งในช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง (subdural effusion)
3.2 ฝีในสมอง (brain abscess)
3.3 ความดันในกะโหลกศีรษะสูง
3.4 การมองเห็นและการได้ยินผิดปกติ
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อของระบบประสาท
1.ผู้ป่วยเด็กมีภาวะความดันสูงในกะโหลกศีรษะและเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการชัก
2.อาจได้รับสารอาหารและน้ไม่เพียงพอ เนื่องจากอาการและพยาธิสภาพทางสมองและการได้รับยาขับน้ำ
3.ไม่สุขสบายพักหลับได้น้อยเนื่องจากภาวะ ICP มีการระคายเคืองจากการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองหรือเนื้อเยื่อสมอง มีไข้ มีความเจ้บปวด
สมองอักเสบ (Encephalitis)
เป็นการอักเสบของเนื้อสมอง
สาเหตุ
1.Primary viral encephalitis การที่ไวรัสเข้าสู่สมองแล้วทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
1.1 ไวรัสนำโดยแมลง โดยเฉพาะโรคไข้สมองอักเสบเจอี หรือ Japanease B. Virus เป็นสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสในสมองที่พบบ่อยที่สุด
1.2 ไวรัสเริม ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบได้ในทุกวัย
1.3 ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า
2.Secondary viral encephalitis การที่มีสมองอักเสบโดยเป็นผลมาจากปฏิกริยาที่มีไวรัสเข้าสู่ร่างกายซึ่งปกติไวรัสนั้นไม่ได้เข้าสู่สมองเป็นสำคัญปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นประเภท allergic หรือ Immune reaction
พยาธิสภาพ
เชื้อจะเพิ่มจำนวนในบริเวณที่เข้าไป แล้วผ่านเข้าสู่สมองโดยมีระยะเชื้ออยู่ในกระแสเลือดสั้นมาก ในการตรวจสมองผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรม พบมี สมองบวมมาก เลือดคั่ง มีเลือดออกเป็นหย่อมๆ ในเนื้อสมอง แต่เยื่อหุ้มสมองไม่มีการเปลี่ยนแปลงและบริเวณที่อักเสบจะพบเม็ดขาวชนิดลิมโฟซัยต์ และโมโนนิวเคลียสอยู่รอบๆ หลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำในช่อง Arachnoid
อาการและอาการแสดง
1.ไข้สูงมาก ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ คอแข็ง
2.ซึมลง จนกระทั่งถึงขั่นโคม่า ภายใน 24-72 ชั่วโมง
3.ชัก มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Involuntary movement)
4.กระสับกระส่าย อารมณ์แปรผัน เพ้อคลั่ง อาละวาด มีอาการทางจิต
5.การหายใจไม่สม่ำเสมอ อาจหยุดเป็นห้วงๆ
การวินิจฉัยโรค
1.ประวัติจากผู้เลี้ยงดู
2.อาการและอาการแสดงดังที่กล่าวข้างต้น
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจนับเม็ดเลือดขาวในเลือด ในช่วง 2-3 วันแรกเม็ดเลือดขาวสูง
3.2 การตรวจน้ำไขสันหลัง
3.3 การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI)
3.4 การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)
3.5 การตรวจวินิจฉัยแยกสาเหตุของเชื้อ
การรักษา การรักษาแบบประคับประคอง มีดังนี้
1.ดูแลระบบหายใจของผู้ป่วยให้ปกติ และหายใจสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันสมองขาดออกซิเจน
2.การให้ยา ดังนี้
2.1 ยาระงับชัก
2.2 ยาป้องกันและรักษาความสมองบวมตั้งแต่ระยะแรกๆ ยาที่ลดอาการบวมของสมอง
2.3 ยานอนหลับ เพื่อลดอาการกระสับกระส่ายอาการเพ้อคลั่ง
2.4 ยา acyclovir ทางหลอดเลือดดำ
2.5 ยาลดไข้
2.6 ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะ
3.รักษาสมดุลของปริมาณน้ำเข้า-ออกร่างกาย โดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
4.การให้สารอาหารที่มีแคลอรีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อน
ผู้ป่วยที่มีอาการของโรครุนแรงอาจเสียชีวิต ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการของโรคไม่รุนแรงอาจหายเป็นปกติ หรือมีความพิการของสมอง เช่น การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (spastic) อาการสั่น (tremor) โรคลมชัก อัมพาตครึ่งซีก (paralysis) พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ ความจำเสื่อมและความคิดต่ำกว่าวัย พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีความผิดปกติทางอารมณ์