Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ ระบบประสาท กล้ามเนื้อ…
บทที่ 7 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ ระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก
7.1 การพยาบาลเด็กที่มีอาการชัก
โรคลมชัก (Epilepsy)
ภาวะที่เกิดอาการ Seizure ตั้งแต่ 2 episodes ขึ้นไป โดยไม่เกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น การติดเชื้อในสมอง อุบัติเหตุทางสมอง
สาเหตุของอาการชักที่เกิดขึ้นได้บ่อยของเด็ก
ภาวะติดเชื้อที่กะโหลกศีรษะ ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ ภาวะผิดปกติทาง metabolism ภาวะผิดปกติทางไต เนื้องอกในกะโหลกศีรษะ โรคบาดทะยัก ภาวะไข้สูงในเด็กเล็ก ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด โรคลมบ้าหมู/โรคลมชัก
ชนิดและลักษณะเฉพาะของภาวะชัก
Partial seizure
คือการชักที่เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองเฉพาะที
Simple partial seizure ผู้ป่วยไม่เสียการรู้ตัวขณะทีมี่อาการชัก
Complex partial seizure ผู้ป่วยจะเสียการรู้ตัวขณะที่มีอาการชัก
Generalized seizure
การชักที่เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองพร้อมกันทั้ง 2 ด้าน Generalized tonic-clonic seizure มีอาการหมดสติเกร็งทั้งตัว
Absence มีอาการเหมอ ตาลอย เกิดขึ้นและสิ้นสุดเร็ว
Myoclonic มีอาการกระตุกระยะสั้น ๆ หรือ คล้ายๆ สะดุ้ง
Clonic มีอาการกระตุกเป็นจังหวะ
Tonic มีอาการเกร็งอย่างรุนแรง
Atonic สูญเสียการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
.Unclassified epileptic seizure
อาการไม่แน่ชัด เช่น การชักชนิด subtle ใน neonatal seizure
การรักษา
รักษาสาเหตุของการชักในรายที่ทราบสาเหตุ
การให้ยากันชักเพื่อควบคุมอาการชักโดย เลือกยาที่เหมาะสมกับอาการชัก หาง่าย มีผลข้างเคียงน้อย ต้องให้สม่ำเสมอทุกวัน และติดตามการรักษา การรักษาโดยการผ่าตัดในรายที่ไม่ตอบสนองตต่อการให้ยากันชัก หลีกเลี่ยงและควบคุมสิ่งกระตุ้น ดูแลและฟื้นฟูจิตสังคม
ยากันชักที่ใช้บ่อย ๆ
Phenobartial , Valproic , Carbamazpine , Benzodiazepine , lamotrigine , Clonazepam , Ethosuximide
การพยาบาล
เสี่ยงต่อการชักช้ำ
กิจกรรมการพยาบาล
1 ให้ยากันชักตามแผนการรักษา ในขนาดที่เหมาะสม และสม่ำเสมอ และอธิบายถึงความจำเป็นในการรับประทานยา บอกให้ทราบชื่อยาที่ได้รับ ผลข้างเคียง และการเก็บรักษายา
2 ลดหรือจำกัดปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดอาการชัก
เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุและอุบัติเหตุจากการชัก
กิจกรรมการพยาบาล
1 จับให้เด็กนอนหงายราบ ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ดูดเสมหะหรือสื่งตกค้างที่ปากออกให้หมด และใช้ของนุ่มๆ ใส่ในช่องปากของเด็ก ขณะชัก
2 ให้ออกซิเจนตามความเหมาะสม ควรเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยชีวิตให้พร้อม 3 ให้ยากันชักตามแผนการรักษา และติดตามผลอาการข้างเคียงของยา
4 อยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา จัดสิ่งแวดล้อมที่ที่เด็กอยู่ให้เงียบ ไม่มเเสง เสียงมารบกวนมากเกินไป
5 สังเกตุและบันทึกสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการชัก อาการนำ อาการหลัง
ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile seizure)
การชักที่สัมพันธกับไข้ โดยไม่เกิดการติดเชื้อในสมอง หรือความผิดปกติทางเกลือเเร่ของร่างกายในเด็กอายุมากกว่า 1 เดือน
สาเหตุ -พันธุกรรม ภาวะที่สมองเด็กยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ และมีไข้เป็นปัจจัยกระตุ้น -พี่น้องของเด็กที่เป็น Febrile Seizure มีความเสี่ยงในการเกิด Febrile Seizure สูง -เกิดในเด็กบางคนหลังที่ได้รับวัคซีน DPT หรือ Measles
-การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร
อาการและอาการแสดง ไข้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่าระดับใดจึงทำให้เกิด ไข้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนว่าระดับใดจึงทำให้เกิด 38 - 39 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า
ลักษณะของอาการชักจากไข้สูง
Simple Febrile Convulsion เป็นแบบชักทั้งตัว เกิดขึ้นไม่เกิน 15 นาที(มักไม่เกิน 5 นาที) ไม่มีการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง ไม่พบความผิดปกติทางระบบประสาท
Complex Febrile Convulsion เป็นแบบเฉพาะที เกิดนานกว่า 15 นาที มีการชักซ ้าภายใน 24ชั่วโมง มีความผิดปกติทางระบบประสาท
การรักษา
รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้
ระงับอาการชักด้วยการให้ Diazepam ทาง vein or anus ให้ซ้ำได้ทุก 6-8 ชม
Paracetamol 10-20 mg/kg/dose ให้ซ ้าได้ทุก 4-6 ช.ม.
การพยาบาล
เสี่ยงต่อเซลล์สมองถูกทำลายจากการชักนาน
กิจกรรมการพยาบาล
1 ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง จัดให้นอนตะแคงหน้า
2 ดูแลให้ยากันชักตามแผนการรักษา คือ Diazepam 0.3 mg/kg/dose สวนเก็บทางทวารหนัก หลังสวนให้ยกก้นและหนีบรูทวารนาน 2 นาที
3 ลดไข้ทันทีที่พบว่ามีไข้ด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นนานประมาณ 15 นาที หรือให้ยาลดไข้ paracetamol dose 10-20 mg/kg/dose ซ ้าได้ทุก 4-6 ชั่วโมง
เสี่ยงต่อการได้รับอุบัติเหตุ หรือ อันตรายจากการชัก
กิจกรรมการพยาบาล
1 จับเด็กให้นอนในที่ราบใช้ผ้านิ่มๆ เช่น ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัวหนุนบริเวณใต้ศีรษะเพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะกระแทกกับพื้น
2 คลายเสื้อผ้าเด็กออกให้หลวม โดยเฉพาะรอบคอเพื่อให้หายใจสะดวก
3 หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดการชักซ้ำ โดยการลดไข้ จัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กได้พัก
4 ประเมินและบันทึกลักษณะการชักลักษณะของใบหน้า ตา ขณะชัก
บิดามารดามีข้อจำกัดในการเลี้ยงดูแลเด็กเนื่องจากความรู้
กิจกรรมการพยาบาล
1 เปิดโอกาสให้บิดามารดามีส่วนร่วมในการดูแลเด็กเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
2 แนะนำและสาธิตวิธีการเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกต้อง
3 แนะนำวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องขณะที่มีภาวะชัก
7.2 การพยาบาลเด็กที่มีภาวะความดัน ในช่องกระโหลกสูง
ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalous)
เป็นภาวะที่มีน้ำไขสันหลังคั่งในกะโหลกศีรษะบริเวณ Ventricle(โพรงสมอง) และชั้น subarachnoid
สาเหตุ
มีการสร้าง CSF มากกว่าปกติ ที่พบบ่อยคือเนื้องอกของ Choroid Plexus เพียงอย่างเดียว
มีการอุดตันของทางเดินน้ำไขสันหลังระหว่างจุดที่ผลิตและจุดที่ดูดซึม
ความผิดปกติของการดูดซึมของน้ำไขสันหลังจากการอักเสบจาก Congenital Hypoplasia ของ Arachnoid Villi
อาการและอาการแสดง
1 ทารกและเด็กเล็กอาจจะเริ่มมีอาการภายใน 2-3เดือน เมื่อวัดรอบอกและรอบศีรษะขนาดของศีรษะขยายเมื่อมีน ้ามากขึ้น หน้าผากโปนเด่น หนังศีรษะแยกออก
2 มีอาการเมื่อมองลงล่างจะเห็นตาขาวมาก( Sun Set Eye หรือ Setting Sun Sign) 3.เบื่ออาหาร เลี้ยงไม่โต สั่น ร้องเสียงแหลม เมื่อมีอาการมากขึ้น ดูดนมลำบาก
ตัวผอม หัวโต มีความต้านทานโรคน้อย
แนวทางการรักษา
1 ถ้าศีรษะโตไม่มากนัก เกิดจากการมีเยื่อหุ้มสมอง อักเสบจากแบคทีเรีย เจาะหลังใส่ยา ก็อาจให้ความดันของน้ำไขสันหลังปกติ
2 ถ้าศีรษะโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ต้องผ่าตัดเอาส่วนที่อุดตันออก เช่น เนื้องอก 3 ท า Shunt ให้น ้าไขสันหลังจาก Ventricleไปดูดซึมที่ peritoneal เรียก V-P shunt
การพยาบาล
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
1 มีโอกาสเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง และเปลี่ยนแปลงทางประสาท เนื่องจากมีการสะสมของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะ กิจกรรมการพยาบาล ดูแลไม่ให้เด็กร้อง หลีกเลี่ยงการทำให้อาเจียน จัดท่าให้นอนศีรษะสูงเล็กน้อย 30 องศา ดูแลในการระบาย CSF ดูแลให้ได้รับยา Diamox ตามแผนการรักษา ประเมินอาการและอาการแสดงของ IICP
อาจเกิดภาวะขาดสารน ้าและอาหาร เนื่องจากดูดกลืนล าบาก อาเจียน -จับให้เด็กเรอหลังดื่มนม
ความแข็งแรงของผิวหนังผิดไปจากคนปกติ เนื่องจากศีรษะโตดูแลผิวหนังป้องกันระคายเคือง ป้องกันการติดเชื้อ – จัดให้นอนบนที่นอน
อ่อนนุ่ม พลิกตะแคงทุก 2 ชั่วโมง ดูแลความสะอาดของผิวหนังบริเวณศีรษะ
ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและเด็ก อาจไม่เป็นไปตามปกต
การพยาบาลหลังผ่าตัด
1 มีโอกาสเกิดภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง กิจกรรมการพยาบาล - NPO หลังผ่าตัดจนกว่าจะได้ยินเสียงการทำงานของลำไส้ - ประเมินท้องอืดเป็นระยะ - ไม่นอนตะเเคงข้างที่ผ่าตัด เพราะอาจจะกด valve
2 มีโอกาสติดเชื้อบริเวณ Shunt กิจกรรมการพยาบบาล ประเมินการอักเสบของเนื้อเยื้อบริเวณแผลผ่าตัด ตัดเล็บเด็กให้สั้นและหลีกเลี่ยงการเกาบริเวณศีรษะ แนะนำผู้ปกครองให้สังเกตอาการและอาการแสดง
3 มีโอกาสเกิด subdural hematoma กิจกรมมการพยาบาล จัดให้นอนราบกรณีกระหม่อนที่ลึกลงไปมาก เพื่อให้การไหลเวียนชอง CSF ลงท้องช้าลง ประเมินภาะว IICP หลังผ่าตัดทุก 15-30 นาที หลังผ่าตัดในช่วง 6 ชั่วโมงแรก
คำแนะนำแก่บิดามารดาเมื่อเด็กมีอาการ Shunt
แนะนำให้สังเกตอาการของความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่ม
สังเกตบริเวณที่มี Pump ว่าบวมหรือไม่
จัดท่านอนให้เด็กนอนศีรษะสูงเล็กน้อย 30 องศา ห้ามนอนศีรษะต่ำ
แนะนำเกี่ยวกับเรื่องอาหาร เช่น ให้รับประทานผักผลไม้เพื่อป้องกันท้องผูก
ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย พาเด็กมาตรวจตามนัดทุกครั้ง