Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 9 ระบบบริการสุขภาพและสังคมสําหรับผู้สูงอายุ, นางสาวหงส์สุดา…
หน่วยที่ 9 ระบบบริการสุขภาพและสังคมสําหรับผู้สูงอายุ
ระบบสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไทย
1.2 การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุโดยชุมชน
มีรูปแบบการจัด ดังนี้ การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนาหว้า โครงการสถานพักฟื้น คนชราดอนลาน เป็นต้น
1.1 การจัดบริการและสวัสดิการผู้สูงอายุโดยภาครัฐ
1. การจัดบริการและสวัสดิการผู้สูงอายุโดยภาครัฐ มีรูปแบบการจัดและหน่วยงานที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้
:red_flag:
ก. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ :star:
1) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อผู้สูงอายุ (สถานสงเคราะห์คนชรา Home for the age) เป็นการจัดสวัสดิการด้านที่พักอาศัยให้แก่ผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ไม่มีผู้ให้การอุปการะ ไม่มีที่ อยู่อาศัย แต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยให้บริการด้านปัจจัย 4 และบริการด้านสังคมสงเคราะห์
ปัจจุบันมีจํานวน 20 แห่ง ใน 16 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี นครปฐม บุรีรัมย์ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี จันทบุรี ชลบุรี ชุมพร ตรัง ยะลา ภูเก็ต นครราชสีมา มหาสารคาม เชียงใหม่ นครสวรรค์
คุณสมบัติของผู้ใช้บริการ
ไม่พิการทุพพลภาพ หรือโรคติดต่อในระยะแพร่เชื้อ
ไม่เป็นโรคเรื้อน หรือโรคติดต่อในระยะแพร่เชื้อ
สุขภาพแข็งแรง ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจําวันได้
มีรายได้เพียงพอที่จะชําระค่าบริการ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆได้
ต้องมีความจําเป็นอย่างใด อย่างหนึ่ง คือ
– ขาดผู้อุปการะดูแล
– ไม่ได้รับความเอาใจใส่ดูแลจากครอบครัว หรือจากผู้ที่พักอาศัยอยู่ด้วย
– เป็นผู้มีศีลธรรมไม่มีประวัติเสื่อมเสีย ไม่มีความประพฤติ หรือนิสัยที่น่ารังเกียจ
ข. กระทรวงมหาดไทย :star:
1) การจัดสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
เป็นบริการที่จัดให้แก่ผู้สูงอายุที่ยากจน โดยจ่ายเงิน สงเคราะห์เบี้ยยังชีพให้คนละ 500 บาทต่อเดือน จนกระทั่งผู้สูงอายุเสียชีวิต
หลักเกณฑ์คือ
ต้องเป็นผู้ที่มี อายุ 60 ปีขึ้นไป
เป็นผู้ที่เกิดก่อน 1 เมษายน 2492
มีสัญชาติไทยไม่มีรายได้
ไม่เป็นผู้ได้รับ สวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเบี้ยยังชีพแบบขั้นบันได
อายุ 60-69 ปี รับเบี้ยยังชีพ 600 บาท
อายุ 70-79 ปี รับเบี้ยยังชีพ 700 บาท
อายุ 80-89 ปี รับเบี้ยยังชีพ 800 บาท
อายุ 90-99 ปี รับ เบี้ยยังชีพ 1,000 บาท
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
2.1 มีสัญชาติไทยและภูมิลําเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
2.2 มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (ในกรณีที่ทะเบียนราษฎร์ระบุเฉพาะปีเกิดให้ถือ ว่าบุคคลนั้นเกิด ในวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น)
2.3 ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด จากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดต้องมาด้วนตนเองหรือในกรณีมีความจําเป็นไม่สามารถมา จดทะเบียนด้วยตนเองได้ ต้องมีเอกสารแสดงตนดังนี้
3.1 บัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย พร้อมสําเนา
3.2 ทะเบียนบ้านพร้อมสําเนา
3.3 สมดุบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสําเนาสําหรับในกรณีผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพประสงค์ขอรับผ่านธนาคาร
3.4 หนังสือมอบอํานาจ พร้อมสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน ของผู้รับมอบอํานาจ
(ในกรณียื่น คําขอขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทน)
2) การจัดตั้งศูนย์บริการผู้สูงอายุในวัด
โดยชุมชนตนเอง เป็นโครงการที่สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วน ร่วม ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของตนเอง โดยให้วัดหรือสถาบันทางศาสนาอื่น ๆ เช่น โบสถ์ มัสยิดเป็น ศูนย์กลางในการจัดกิจกรรม โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นไปตามความต้องการของชุมชนนั้น ๆ
หน่วยงานติดต่อ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย / อบต / อบจ กลุ่มงานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ สํานักพัฒนาสังคม กทม 2
ค. กระทรวงสาธารณสุข :star:
คลินิกผู้สูงอายุ(Geriatric clinic)
การจัดบริการช่องทางด่วนสําหรับผู้สูงอายุ
ระบบบริการดูแลระยะยาว (Long term care)
ศูนย์ดูแลกลางวัน (Day Care)
หน่วยงานติดต่อ
โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ
ช. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา :star:
การบริการด้านการท่องเที่ยว โดยการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวสําหรับผู้สูงอายุ
การบริการด้านกีฬาและนันทนาการ
หน่วยงานติดต่อ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สํานักพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย
ซ. กระทรวงวัฒนธรรม :star:
การบริการด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
คัดเลือกศิลปินแห่งชาติ
หน่วยงานติดต่อ
กระทรวงวัฒนธรรม
ฑ. กระทรวงคมนาคม :star:
การลดหย่อนค่าโดยสาร
2 more items...
ณ. กระทรวงยุติธรรม :star:
การช่วยเหลือในทางคดี โดยการให้คําแนะนํา ปรึกษา ให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมายและประสานงานกับสภาทนายความในการจัดหาทนายความว่าความแก้ต่างคดี เผยแพร่
หน่วยงานติดต่อ
ในกรุงเทพ สํานักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา คลินิกยุติธรรม ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรมต่างจังหวัด สํานักงานยุติธรรมจังหวัด
ญ. กระทรวงพาณิชย์ :star:
การจัดหาตลาดรองรับสินค้า โดยการนําสินค้าเข้าร่วมจําหน่ายในงานต่างๆ หรือ การอบรมความรู้ทางด้านการบริหารจัดการและการตลาด
หน่วยงานติดต่อ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สถาบันฝึกอบรมธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ / สํานักงานพาณิชย์จังหวัด
ง. กระทรวงศึกษาธิการ :star:
1) บริการการศึกษาสําหรับผู้สูงอายุ
นอกระบบการศึกษา จัดโครงการฝึกอบรม
จัดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน มีหลักสูตร เกี่ยวกับผู้สูงอายุในการศึกษาขั้นพื้นฐานถึงอุดมศึกษา
หน่วยงานติดต่อ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
จ. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม :star:
ฝึกอบรมทักษะอาชีพแก่ผู้สูงอายุ เช่น การทําขนม การจัดดอกไม้ การตัดเย็บ
จัดหางานและรับสมัครงาน
บริการให้ข้อมูลทางอาชีพและตําแหน่งงานว่าง
หน่วยงานติดต่อ
สํานักงานจัดหางานเขตพื้นที่ 1 - 10 / สํานักงานจัดหางานจังหวัด
ฉ. กระทรวงการคลัง :star:
การลดหย่อนภาษีแก่ผู้บริจาคทรัพย์สินให้แก่กองทุนผู้สูงอายุ
การลดหย่อนภาษีเงินได้ แก่ผู้อุปการะบิดา มารดา หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท / ผู้สูงอายุ 1 คน / ปี
หน่วยงานติดต่อ
สํานักงานสรรพากร
กรมสรรพากร
2) ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุ (Day Center)
คําจํากัดความ คือ สถานที่ซึ่งผู้สูงอายุมาอยู่รวมกัน เพื่อตอบสนองความต้องการ ร่วมกัน หรือ เป็นอุปกรณ์ในชุมชนอย่างหนึ่ง ให้บริการหลายประเภท และเป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุจัดขึ้น เพื่อผู้สูงอายุ
ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุ
บริการภายในศูนย์ ได้แก่ สุขภาพอนามัย กายภาพบําบัด สังคมสงเคราะห์กิจกรรมเสริมรายได้ กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมเสริมความรู้ และศาสนกิจ บริการหน่วยเคลื่อนที่ เป็นต้น
หน่วยเคลื่อนที่ ของกระทรวงพัฒนาสังคม เป็นหน่วยเคลื่อนที่ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ ซึ่งจัดขึ้นและให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า
บริการบ้านพักฉุกเฉิน เป็นบริการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ต้องการแยกมาอยู่ชั่วคราว และบริการแก่ผู้สูงอายุที่มีภารกิจในเมืองแต่ไม่มีที่พักอาศัย โดยรับเข้าพักในบ้านพักฉุกเฉิน และให้บริการในด้านปัจจัย 4 สังคมสงเคราะห์ หรือส่งไปรับการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น
3) การจัดการอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) เพื่อทําหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ
4) เงินสงเคราะห์ในการจัดการศพ
ช่วยเหลือเงินเพื่อใช้ในการจัดการศพสําหรับ
ผู้สูงอายุที่ยากจน ศพละ 2,000 บาท
5) กองทุนผู้สูงอายุ เป็นการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน เช่น ถูก ทอดทิ้ง กู้ยืมเงินประกอบอาชีพ สนับสนุนแผนงานและโครงการในการส่งเสริมการพัฒนาผู้สูงอายุ
6) การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรม โดยช่วยเหลือ เบื้องต้น 500 บาท ช่วยเหลือในการดําเนินคดี
การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพร่างกายจิตใจ ฯลฯ
7) การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น ถูก หลอกลวง กล่าวเท็จ โดยช่วยเหลือเบื้องต้น 500 บาท ช่วยเหลือในการดําเนินคดี การรักษาพยาบาล
การฟื้นฟูสภาพร่างกายจิตใจ ฯลฯ
8) การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาครอบครัว
9) การช่วยเหลืออาหารและเครื่องนุ่งห่ม
โดยช่วยเป็นสิ่งของ เป็นเงินครั้งละ 2,000 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง/คน/ปี
หน่วยงานติดต่อ ในกรุงเทพฯ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สํานักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 2 สํานักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการกรุงเทพฯ สํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุต่างจังหวัด สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
ระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุไทย
เป้าหมายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ คือมุ่งสู่
“Active Ageing”
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุคงระยะสุขภาพดีให้นานที่สุด เจ็บป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง มีภาวะ ทุพพลภาพให้น้อยที่สุด และตายอย่างสงบสมศักดิ์ศรี
การให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้สูงอายุฟรี (หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) สามารถใช้สิทธิได้ ทุกหน่วยงานบริการสุขภาพของรัฐ ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดยใช้ระบบการส่งต่อ (Refer System) ในกรณีผู้สูงอายุมีสิทธิข้าราชการบํานาญ ให้ใช้สิทธิข้าราชการบํานาญ
การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ทุกตําบล ทั่วประเทศ เพื่อเป็นหน่วยงานกลางใน การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ได้มีส่วนร่วมในสังคม เป็นผู้ให้กับสังคม โดยมีการจัดกิจกรรม ส่งเสริมคุณภาพชีวิต
การจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุ (Geriatric clinic) โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดกระทรวง สาธารณสุข และทบวงมหาวิทยาลัย โดยคลินิกผู้สูงอายุมีกิจกรรมในการดูแล
การจัดช่องทางด่วนสําหรับผู้สูงอายุในทุกสถานบริการพยาบาล
การจัดระบบบริการดูแลระยะยาว (Long term Care) ในทุกสถานบริการพยาบาล
การจัดศูนย์ดูแลกลางวัน
(Day Care) ผู้สูงอายุ
การจัดโรงพยาบาลที่ให้การดูแลในระยะสุดท้าย
สรุป :red_flag:
ประเทศไทยเห็นความสําคัญของประเด็นการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว ได้มีการบรรยัติ กฎหมายเพื่อให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ได้มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุในทุกมิติอย่างครอบคลุม ปัจจุบันการส่งเสริมสวัสดิการทางสังคม และระบบการให้บริการทางสุขภาพ ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อ ตอบสนองการดูแลผู้สูงอายุไทยได้อย่างมีคุณภาพต่อไป
นางสาวหงส์สุดา นพรัตน์ 621201176