Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ชนิดและคุณค่าทางโภชนาการของเครื่องปรุงรสต่างๆ - Coggle Diagram
ชนิดและคุณค่าทางโภชนาการของเครื่องปรุงรสต่างๆ
1. เครื่องปรุงรสเค็ม
น้ำปลา (Fish Sauce)
1.น้ำปลาแท้ น้ำปลาที่ได้จากการหมักหรือย่อยปลา หรือส่วนของปลา หรือกากของปลาที่เหลือจากการหมัก ตามกรรมวิธีการผลิตน้ำปลา
2.น้ำปลาที่ทําจากสัตว์อื่น น้ำปลาที่ได้จากการหมักหรือย่อยสัตว์อื่นซึ่งมิใช่ปลาหรือส่วนของสัตว์อื่น หรือกากของสัตว์อื่นที่เหลือจากการหมักตามกรรมวิธีการผลิตน้ำปลา
3.น้ำปลาผสม หมายความว่า น้ำปลาตาม 1) หรือ 2) ที่มีสิ่งอื่นที่ไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคเจือปนหรือเจือจางหรือปรุงแต่งกลิ่นรส
ปลาไส้ตันจัดเป็นน้ำปลาที่มีคุณภาพดีเยี่ยม มีสีเหลืองปนแดงใส กลิ่นหอม และรสออกหวาน
น้ำปลาคุณภาพต่ำจะผลิตโดยการใช้นําเกลือที่เหลือจากการแช่ปลาทูเค็ม หรือใช้น้ำที่ได้จากการนึ่งหอยแมลงภู่นํามาต้มกับกากปลาขั้นสุดท้ายของการผลิตน้ำปลา
กรรมวิธีการผลิตน้ำปลา
1.ล้างปลาให้สะอาด ทิ้งไว้ให้แห้งผสมเกลือแกงในอัตราส่วนปลาทะเล 2 ส่วนต่อเกลือ 1 ส่วน หรือ ปลาน้ำจืด 3 ส่วนต่อเกลือ 1 ส่วน
2.คลุกเคล้าทีละน้อยเพื่อให้ปลาและเกลือผสมกันอย่างทั่วถึงแล้วถ่ายลงถังหมัก โอ่ง หรือไหที่สะอาดและมีฝาปิด
3.โรยเกลือที่ก้นถัง บรรจุปลาประมาณ ½ ของถังโรยหน้าด้วยเกลืออีกครั้งหนึ่ง
ปิดฝาให้มิดชิดหมักประมาณ 8 –12 เดือน แล้วจึงถ่ายส่วนน้ําปลาตอนบนออกมาประมาณร้อยละ 40 –50 ของสิ่งหมักในถังหมักน้ำปลา
ลักษณะของน้ำปลาแท้ที่มีคุณภาพดี
มีสีน้ำตาลแดงหรือ น้ำตาลเหลืองใส มีกลิ่นรสหอมชวนรับประทาน
ซีอิ้ว (Soybean Sauce)
2ชนิด
ซีอิ้วขาว
เป็นของเหลวใส สีน้ำตาลเหลืองหรือ สีน้ำตาลเข้ม กลิ่นหอม รสเค็ม
ซีอิ้วดํา
เป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือเกือบดํา ค่อนข้างข้นมีกลิ่นหอมน้อย และมีกลิ่นของน้ำตาลเคี่ยวไหม้ผสมเล็กน้อย ทําจากซีอิ้วขาว
คุณค่าทางโภชนาการ
โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ รวมทั้งกรดอะมิโนที่สําคัญ 17ชนิด และมีวิตามินบี 12ในปริมาณเล็กน้อย
กระบวนการหมักซีอิ้ว
โคจิ (Koji)
เมล็ดที่ปกคลุมไปด้วยรา (Moldy Grains)
โมโรมิ (Moromi)
เป็นการหมักในสภาพไร้อากาศ (Anaerobic Conditions)
ในระยะนี้เชื้อราจะไม่สามารถเจริญเติบโต
เต้าเจี้ยว (Fermented Whole Soybean)
การผลิตเต้าเจี้ยว
1.เริ่มต้นทําการเตรียมโคจิ โดยใช้ถั่วเหลือง ข้าว หรือข้าวบาร์เลย์ คลุกเคล้าผสมกับแป้งสาลีคั่ว
2.แล้วถ่ายกล้าเชื้อรา Aspergillus Oryzae แล้วคลุกเคล้าให้ผสมกันดี หรือจนสปอร์เชื้อกระจายจนทั่วเมล็ดถั่วเหลือง
3.แล้วนําไปบ่มที่อุณหภูมิ 30-35องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน 40-45ชั่วโมง
4.แล้วนําโคจิที่ได้ไปหมักกับน้ำเกลือเข้มข้นร้อยละ 35-40ทําการหมักบ่มไว้ที่อุณหภูมิ 25-30องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิห้องนาน 21วัน จนถึงหลายเดือน
ถั่วเน่า
2 ชนิด
ถั่วเน่าแบบเปียก
ถั่วเน่าแบบแห้ง
คุณค่าทางโภชนาการ
โปรตีน กรดไขมันไม่อิ่มตัว วิตามิน สารอาหารที่มีประโยชน์จากถั่วเหลือง ถั่วเน่านํามาใช้ประกอบอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องปรุงรส เช่นเดียวกับกะปิ น้ำปลาของภาคกลาง น้ำบูดูของภาคใต้ หรือปลาร้าของภาคอีสาน
น้ำซอสปรุงรส (Flavor Sauce)
กรรมวิธีการผลิต
นําองค์ประกอบทุกชนิดมาต้มรวมกันในภาชนะขนาดพอเหมาะ โดยปรับปริมาณของแข็งทั้งหมดให้เท่ากับ 50 บริกซ์ แล้วจึงปรับความเข้มข้นของเกลือให้ได้ปริมาณเกลือร้อยละ 20 ต้มให้เดือด นําไปเก็บในถังขนาดใหญ่เพื่อบ่มให้สีเข้มขึ้นและกลิ่นหอมยิ่งขึ้นและตะกอนนอนก้นมากขึ้น เมื่อเก็บไว้นานจะได้ไม่มีตะกอนที่ก้นขวด เมื่อได้ที่แล้วนํามากรองเอากากที่ไม่ละลายออก นําส่วนน้ำบรรจุภาชนะจําหน่าย
ซอสปรุงรสมีสีน้ำตาลหรือค่อนข้างดํา กลิ่นหอม ชวนรับประทาน ไม่ควรมีตะกอน รสไม่เค็มจัด
ปลาร้า
ส่วนผสมในการทำปลาร้า
ปลาน้ำจืด ชนิดต่าง ทั้งปลามีเกล็ด และไม่มีเกล็ด
เกลือทะเล
ข้าวคั่วรํา
กรรมวิธีการผลิต
นําปลาที่จะทําปลาร้ามาล้างให้สะอาด ถ้าเป็นปลาที่มีเกล็ดขนาดใหญ่ต้องขอดเกล็ดก่อน
ให้นําเอาไส้ปลาและขี้ปลาออกจากตัวปลา
ล้างปลาที่จะใช้ทําปลาร้าให้สะอาดแล้ว ใส่ตะแกรงผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วใส่เกลือ หรือรําให้ได้สัดส่วน 6 : 2 : 1
นําปลาที่คลุกลงบรรจุใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
เมื่อปิดปากไหด้วยผ้าหรือพลาสติกแล้ว ให้ใช้ผ้าห่อขี้เถ้าให้เป็นก้อน โตกว่าปากไหแล้วนํามาปิดทับ เพื่อป้องกันแมลงวัน มาไข่ใส่
หมักปลาทิ้งไว้จนมีน้ำเกลือไหลท่วมปลาในไห และตัวปลาออกเป็นสีแดงกว่าเดิม แสดงว่าเป็นปลาร้าแล้ว
น้ำบูดู
เป็นอาหารพื้นเมืองภาคใต้ของประเทศไทยและเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ดั้งเดิม
กะปิ (Shrimp Gaste)
ประเภทของตัวเคย
เคยดํา เคยชนิดนี้มีเปลือกแข็งและเนื้อน้อย ตําไม่ค่อยแหลก เมื่อทําเป็นกะปิจะได้กะปิที่เนื้อหยาบสีค่อนข้างดํา กลิ่นไม่หอม
เคยขาว ตัวเคยจะมีสีแดงนิดหน่อย มีทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่
เคยแดง มีสีแดงจัดเมื่อเอามาทํากะปิ จะได้กะปิที่สีแดงโดยธรรมชาติ
เกลือ(Salt)
2 แหล่ง
เกลือสมุทร (Solar Salt)
เกลือสินเธาว์ (Rock Salt)
2.เครื่องปรุงรสหวาน
ซีอิ้วดำหวาน
2ชนิด
ซีอิ้วดําหวาน เป็นของเหลวที่ข้นเล็กน้อยสีน้ําตาลเข้มเกือบดํา มีกลิ่นหอมของซีอิ้วเล็กน้อยส่วนใหญ่เป็นกลิ่นน้ําตาลไหม้และมีรสหวานนํา
ซีอิ้วดําหวานเหนียว เป็นของเหลวที่ข้นมากแต่ยังเทจากขวดได้ มีสีเกือบดํา กลิ่นน้ําตาลไหม้และรสหวานจัด
น้ำตาล (Sugar)
2 ชนิด
น้ำตาลพื้นเมือง หรือ น้ำตาลไม่มีเกล็ด (Non -Contrifugal Sugar)
เป็นน้ำตาลที่ไม่ได้ทําการแยกกาก และผลึกน้ำตาล ลักษณะน้ำตาลพื้นเมืองจึงเป็นครีมข้น เหนียว
น้ำตาลจากโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยผลิตจากอ้อยเป็นหลัก
ผลิตจากเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม น้ำตาลที่ได้เป็นน้ำตาลเกล็ดมีความชื้นต่ำ
น้ำเชื่อม
น้ำเชื่อมคือสารต่างๆ ที่ให้รสหวานแต่ยังอยู่ในสภาพของเหลว
น้ำหวานต่าง ๆ ทําจากน้ำตาลละลายน้ำบางทีมีการเติมกลิ่นผลไม้ต่าง ๆ
น้ำเชื่อมจากข้าวโพด ได้จากกระบวนการย่อยแป้งข้าวโพดด้วยกรดหรือเอ็นไซม์
โมลาส เป็นของเหลือจากโรงงานน้ำตาลมีสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นน้ำตาลไหม้ รสหวานปนขม ในต่างประเทศนิยมใช้ทําขนมหลายชนิด
น้ำผึ่ง
ได้จากรังผึ้งสะสมน้ำหวานจากเกสรดอกไม้นานาชนิดไว้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยกลูโคส และฟรุกโทส มีซูโครสปนอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
คุณค่าทางโภชนาการ
คาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานสูง ทั้งนี้เนื่องจาก น้ำผึ้ง ประกอบด้วยน้ำตาลย่อยง่ายถึง 70% เช่น น้ำตาลฟรักโตส กลูโคส มอลโทส
3. เครื่องปรุงรสเปรี้ยว
น้ำส้มสายชู (Vinegar)
ลักษณะเป็นของเหลวใสไม่มีสี หรือมีสีตามวัตถุดิบที่นํามาผลิต
3 ชนิด
1.น้ำส้มสายชูหมัก เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนําธัญพืช ผลไม้ หรือน้ำตาลมาหมักกับส่าเหล้า แล้วหมักกับเชื้อน้ำส้มสายชูตามกรรมวิธีธรรมชาติ
2.น้ำส้มสายชูกลั่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนําแอลกอฮอล์กลั่นเจือจาง
3.น้ำส้มสายชูเทียม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนําเอากรดน้ำส้ม (Acetic Acid) มาเจือจางการจําหน่ายน้ําส้มสายชูหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรดน้ำส้ม
ซอสวูสเตอร์ (Worcester Sauce
)
ลักษณะเป็นน้ำใสสีน้ำตาลแก่เกือบดํา มีกลิ่นหอมฉุนของเครื่องเทศ รสค่อนข้างเปรี้ยวและมีตะกอนของเครื่องปรุงที่ไม่ละลายน้ำตกอยู่ก้นขวดเป็นจํานวนมาก
เครื่องปรุงที่ละลายน้ำได้ เช่น น้ำส้มสายชูซีอิ้วขาว น้ำส้มคั้น เกลือ น้ำตาล กากน้ำตาล โปรตีน จากปลาหรือเนื้อ และไวน์
เครื่องปรุงที่ไม่ละลายน้ำ เช่น เครื่องเทศต่าง ๆในการทําซอสวูสเตอร์มีการทําทั่วไป
คุณค่าทางอาหาร
คุณค่าทางอาหารของซอสชนิดนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่นํามาปรุง
ซอสมะเขือเทศ (Tomato Ketchup, Catsup, Tomato Sauce)
ลักษณะข้นเป็นเนื้อเดียวกันและมีสีแดงของมะเขือเทศเป็นส่วนใหญ่
คุณค่าทางอาหาร
วิตามินเอ แคลเซียม และฟอสฟอรัส
4.เครื่องปรุงรสเผ็ด
ซอสพริก
เนื้อซอสค่อนข้างเหลวมีรสเผ็ดเนื่องจากพริกและรสเปรี้ยวของน้ําส้มสายชู
2 ชนิด
ซอสพริกล้วน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ซอสพริกที่ไม่มีมะเขือเทศผสม มีส่วนผสมเฉพาะพริกกับส่วนประกอบอื่น ๆ
ซอสพริกผสมมะเขือเทศ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ซอสพริกที่มีมะเขือเทศผสมหรือผสมกับ ผัก ผลไม้
มัสตาร์ด
เป็นพืชในวงศ์และสกุลเดียวกับกะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และผักกาดขาว
3 ชนิด
มัสตาร์ดสีน้ำตาล (Brown Mustard)
มัสตาร์ดสีดํา (Black Mustard)
มัสตาร์ดสีขาว (White Mustard)