Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพระบบประสาท …
บทที่ 7
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพระบบประสาท กล้ามเนื้อและกระดูก
7.3 การพยาบาลเด็กที่มีการติดเชื้อในระบบสมอง
(Intracranial infection)
การพยาบาล
- ดูในการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มี ICP และการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มี- ดูในการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มี ICP และการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีอาการชัก - ให้ยาปฏิชีวนะ ยาลดอาการบวมในสมอง ยาป้องกันและยาต้านการชักตามแผนการรักษาและสังเกตอาการขางเคียงจากการใช้ยา - ดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดเกี่ยวกับทางสมอง - ประเมินและบันทึก I/O - ติดตามผลการตรวจทางหองปฏิบัติการที่เกี่ยวของ - ดูแลการได้รับน้ำและสารอาหาร เช่น IV, gavage feeding, กระตุ้นให้ดูดนม
การวินิจฉัย
2.2 การตรวจน้ำไขสันหลัง เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคและหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค
1)ลักษณะน้ำไขสันหลังปกติใสไม่มีสี แต่น้ำไขสันหลังของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีลักษณะ ขุ่นคล้ายน้ำซาวข้าว หรือใสแต่มีลักษณะข้น แสดงว่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
2) ความดันน้ำไขสันหลังปกติในเด็กโตมีค่าประมาณ 110-150 มม/น้ำ ส่วนทารกแรกเกิดมี ค่าประมาณ 100 มม./น้ำ ความดันน้ำไขสันหลังผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะมีค่าสูงมากกว่า 180 มม/น้ำ
3) จำนวนเซลล์ในน้ำไขสันหลังเม็ดเลือดขาวในน้ำไขสันหลังในเด็กปกติไม่ควรเกิน 10 เซลล์/ม3 ส่วนผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะตรวจพบเม็ดเลือดขาวในน้ำไขสันหลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นมากกว่า 1000 เซลล์/mm3 ส่วนใหญ่เป็นเซลล์ชนิด โพลีมอร์โฟนิวเคียร์
4) โปรตีนในน้ำไขสันหลัง เด็กปกติจะตรวจพบโปรตีนในน้ำไขสันหลังไม่เกิน 40 mg/dl ถ้าตรวจพบโปรตีนในน้พไขสันหลังสูงขึ้นร่วมกับมีเซลล์จำนวนมากขึ้นให้สงสัยว่าเกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
5) น้ำตาลในน้ำไขสันหลังปกติควรมีค่าเกิน ½ ของน้ำตาลในเลือด ถ้าตรวจพบน้ำตาล ในน้ำไขสันหลังต่ำ แสดงถึงภาวะเยื่อหุ้มสมองติดเชื้อแบคทีเรีย
ไข้สมองอักเสบ(Encephalitis)
เป็นการอักเสบของเนื้อสมอง บางครั้งการอักเสบของเนื้อสมองอาจมีการอักเสบของ เนื้อเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังเกิดร่วมด้วยก็ได้
สาเหตุ
1. Primary viral encephalitis
หมายถึง การที่มีไวรัสเข้าไปสู่สมองแล้ว ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
1.1 ไวรัสที่นำโดยแมลง โดยเฉพาะโรคไข้สมองอักเสบเจอี หรือ Japanease B. Virus เป็นสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสในสมองที่พบบ่อยที่สุด
1.2 ไวรัสเริม ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบได้ในทุกวัย และทารกแรกเกิดที่มารดา ติดเชิ้อไวรัสเริมบริเวณช่องคลอด
1.3 ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า
2. Secondary viral encephalitis
หมายถึง การที่มีสมองอักเสบโดยเป็น ผลมาจากปฏิกิริยาที่มีไวรัสเข้าสู่ร่างกายซึ่งปกติไวรัสนั้นไม่ได้เข้าสู่สมองเป็นสำคัญ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นประเภท allergic หรือ Immune reaction เชื้อที่ สำคัญในประเภทนี้ได้แก่ หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส คางทูม รวมทั้งวัคซีนป้องกันพิษ สุนัขบ้า
อาการและอาการแสดง
ไข้ มักสูงได้มาก ๆ ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ คอแข็ง
ซึมลง จนกระทั่งถึงขั้นโคม่า ภายใน 24 –72 ชั่วโมง
ชัก มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Involuntary movement)
กระสับกระส่าย อารมณ์ผันแปร เพ้อคลั่ง อาละวาด มีอาการทางจิต
การหายใจไม่สม่ำเสมอ อาจหยุดเป็นห้วง ๆ
การวินิจฉัย
ประวัติจากผู้เลี้ยงดู ให้ข้อมูลว่าผู้ป่วยมีไข้สูง ซึม คอแข็ง เป็นต้น
อาการและอาการแสดงดังที่กล่าวข้างต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจนับเม็ดเลือดขาวในเลือด ในช่วง 2-3 วันแรกเม็ดเลือดขาวสูง และนิวโตรฟิลขึ้นสูงต่อมาจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ
3.2 การตรวจน้ำไขสันหลัง ลักษณะน้ำไขสันหลังใส ไม่มีสี มีเม็ดเลือดขาว 10-1,000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร โปรตีนในน้ำไขสันหลังมีปริมาณสูงขึ้น เล็กน้อยมีค่ามากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร น้ำตาลในน้ำไขสันหลังปกติ (50-70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ถ้าตรวจพบเม็ดเลือดแดงในน้ำไขสันหลังให้สงสัยว่าอาจเกิดจากเชื้อไวรัสเริม(herpes simplex) การเพาะเชื้อและย้อม สีน้ำไขสันหลังเพื่อแยกการติดเชื้อออกจากเชื้อแบคทีเรีย 3.3 การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI) เป็นการตรวจที่ได้ผลรวดเร็ว
3.4 การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) อาจพบลักษณะผิดปกติเฉพาะข้างใดข้างหนึ่ง
3.5 การตรวจวินิจฉัยแยกสาเหตุของเชื้อ เช่น
1) การตรวจหา JE specific IgM antibody ในเลือดและน้ำไขสันหลังของผู้ป่วยจะให้ผลบวก เป็นการยืนยันการวินิจฉัยโรคสมองอักเสบจากเชื้อ JE virus
2) การตรวจหาเชื้อโดยวิธี direct immunofluorescence ด้วย isothiocyanate labeled rabies immunoglobulin จาก corneal epitheliumจะได้ผลบวกเป็นการยืนยันการวินิจฉัยโรคสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า
3) ผลการตรวจน้ำไขสันหลังพบแอนติบอดีต่อ herpes simplex virus ซึ่งจะช่วยในการยืนยันการวินิจฉัยโรคสมองอักเสบจากเชื้อ herpes simplex virus
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง มีดังนี้
ดูแลระบบหายใจของผู้ป่วยให้ปกติ และหายใจสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันสมองขาดออกซิเจน
การให้ยา ดังนี้
2.1 ยาระงับชัก ผู้ป่วยที่มีอาการชักบ่อยหรือรุนแรงแพทย์จะพิจารณาให้ยาเพื่อควบคุมให้หยุดชักโดยเร็ว
2.2 ยาป้องกันและรักษาความสมองบวมตั้งแต่ระยะแรกๆ ยาที่ลดอาการบวมของสมอง
2.3 ยานอนหลับ เพื่อลดอาการกระสับส่ายอาการเพ้อคลั่ง
2.4 ยา acyclovir ทางหลอดเลือดดำ ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเริม (herpes simplex virus)
2.5 ยาลดไข้ เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดผลเสียของต่อสมองเนื่องจากร่างกายจะเกิดการเผาผลาญมากขึ้นและต้องการออกซิเจนมากขึ้นด้วย
2.6 ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อน
รักษาสมดุลของปริมาณน้ำเข้า-ออกของร่างกาย โดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การให้สารสารอาหารที่มีแคลอรีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว แพทย์อาจพิจารณาให้อาหารทางสายยางและ/หรือสารอาหารทางหลอดเลือดดำ
ภาวะแทรกซ้อน
ผู้ป่วยที่มีอาการของโรครุนแรงอาจเสียชีวิต
ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการของโรคไม่รุนแรงอาจหายเป็นปกติ หรือมีความพิการของสมอง เช่น การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (spastic) อาการสั่น (tremor) โรคลมชัก อัมพาตครึ่งซีก (paralysis) พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ ความจำเสื่อมและความคิดต่ำกว่าวัย พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีความผิดปกติทางอารมณ์
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ(Meningitis)
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมองเป็นบริเวณส่วนที่เป็นเมมเบรน ปกป้องหุ้มเนื้อสมองและไขสันหลัง ซึ่งมีอาการสำคัญ คือ ไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง ตาไม่สู้แสง คลื่นไส้อาเจียนและมีอาการแสดงของการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง
มีสาเหตุได้ 5 อย่าง คือ
1.Bacterial meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
1.1 Purulent meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดเป็นหนอง
1.2 Tuberculosis meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค
Viral meningitis หรือ Aseptic meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส
Eosinophilic meningitis เกิดจากพยาธิ เช่น ตัวจี๊ด จากการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ
การติดเชื้อรา (fungal meningitis) เช่น Candida
ปฏิกิริยาที่ไม่ใช่การติดเชื้อ(non-infection diseases)
5.1 เนื้องอก (Malignancy) เช่น primary medulloblastoma, metastatic leukemia
5.2 การบาดเจ็บ/กระทบกระเทือนของสมอง (trauma) เช่น subarachnoid bleeding, traumatic lumbar puncture การผ่าตัดทางระบบประสาท
5.3 การได้รับสารพิษ จากตะกั่ว ปรอท เป็นต้น
2.1 เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการและอาการแสดงแบ่งได้ 3 แบบ คือ
อาการที่แสดงว่ามกีารตดิเชือ้ คือ มีไข้สูง หนาวสั่น เบื่ออาหาร ในเด็กเล็ก ๆ จะกระสับกระส่ายหรือหงุดหงิดไม่ยอมดูดนม
อาการที่แสดงว่ามกีารระคายของเยื่อหุ้มสมอง ผู้ป่วยจะปวด ศีรษะมาก และ ปวดที่บริเวณคอด้วย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการจะเลวลงเรื่อย ๆ จนถึงหมดสติภายใน 4-5 วัน โดยมากอาจพบอาการชัก* ยกเว้นในเด็กเล็ก ๆ โดยเฉพาะภายในอายุ 6 เดือนแรกจะไม่พบ คงมีแต่กระหม่อมหน้า (Anterior Fontanelle) ตึงอย่างเดียวอาการแสดงของการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมองที่สำคัญคัญดังนี้ อาการคอแข็ง (Stiftness of Neck), Kernig’s Sign Positive & Brudzinski’s Sign Positive
อาการที่แสดงถึงภาวะแทรกซ้อน เช่น สมองบวม มีน้ำหรือหนองใน ช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง มีฝีในสมอง เป็นต้น
❤️
เยื่อหุ้มสมองอักเสบนั้นมีหลายวิธี ได้แก่
การติดเชื้อผ่านทางกระแสโลหิตโดยที่มีแหล่งติดเชื้ออยู่ที่ ส่วนอื่นของร่างกาย
การติดเชื้อลุกลามโดยตรง การติดเชื้อกระจายสู่ Subarachnoid Space โดยตรงโดยมีแหล่งติดเชื้อบริเวณ ใกล้เคียง เช่น มีการอักเสบของหูชั้นกลางอย่างเรื้อรัง
มีการอักเสบของเส้นโลหิตดำใหญ่ ๆ ในชั้นดูรา ซึ่งเป็นการ ติดเชื้อที่เป็นผลจากการติดเชื้อในบริเวณหน้าจมูก Meningocele แตก
ได้รับเชื้อโดยตรงจากการเปื้อนของเชื้อ เช่น มีการแตกหัก ของกะโหลกศีรษะ หรือมีกระดูกแตกที่บริเวณฐานของกะโหลกศีรษะ ทำให้น้ำไขสันหลังไหลออกมาทางจมูกหรือหู