Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด (premature rupture of membranes : PROM),…
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด (premature rupture of membranes : PROM)
ความหมาย
ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำ (chorioamniotic membranes) แตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอดพบได้ทั้งในอายุครรภ์ครบกำหนดคือถุงน้ำคร่ำแตกเมื่ออายุครรภ์ 237 สัปดาห์ (term PROM) หรือในครรภ์ก่อนกำหนดคืออายุครรภ์ <37 สัปดาห์ (preterm PROM: PPROM) สำหรับ prolonged ROM เดิมหมายถึงภาวะถุงน้ำคร่ำแตกที่มี latency period คือระยะเวลาตั้งแต่ถุงน้ำคร่ำแตกจนถึงเริ่มเจ็บครรภ์คลอดนานเกิน 24 ชั่วโมง แต่ปัจจุบันพิจารณาจากระยะเลาที่ถุงน้ำคร่ำแตกนานกว่า 18-24 ชั่วโมงโดยมีหรือไม่มีอาการเจ็บครรภ์ก็ได้
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ประวัติเคยเกิดภาวะ PPROM มีความเสี่ยงสูงถึง 3 เท่าที่จะเกิดซ้ำอีก
การอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (chorigamnionitis)
การติดเชื้อในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนล่าง
การติดเชื้อเรื้อรังของระบบทางเดินปัสสาวะ
การตั้งครรภ์แฝด (multietal gestation)
ความผิดปกติของปากมดลูก
การทำหัตถการบางอย่าง
การเจาะถุงน้ำคร่ำ (amniocentesis)
การเย็บผูกปากมดลูก (cervical cerclage)
การเจาะตรวจเนื้อรก (chorionic villus Sampling [CWS])
ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa)
ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ
ปัจจัยส่วนบุคคลของหญิงมีครรภ์ เช่น การสูบบุหรี่
เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อน
การรักษา
2.ทดลอบหรือยืนยันว่ามีถุงน้ำคร่ำแตกจิรง
1.ประเมินอายุครรภ์ที่แน่นอน
4.การทดสอบความเจริญของปอดทารก โดยการเจาะถุงน้ำคร่ำ
3.การตรวจติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ (fatal monitoring)
5.การรักษาในขั้นต่อไปให้พิจารณาการติดเชื้อและอายุครรภ์
รายที่มีการติดเชื้อแล้ว ควรเพาะเชื้อในโพรงมดลูกและเลือดก่อนให้ยาปฎิชีวนะ
รายที่ยังไม่มีการติดเชื้อ
อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์
การให้ยายับยั้งการคลอด
การให้ยาปฎิชีวนะ
การให้ยาสตีรอยด์
การรักษาอื่นๆ
amnioinfusion
การให้วิตามินซีและวิตามินอี
อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ขึ้นไป
ภายหลังถุงน้ำคร่ำแตก12 ชั่วโมง ถ้ายังไม่มีการเจ็บครรภ์ ควรตรวจภายในเพื่อดูสภาพปากมดลูกและส่วนนำของทารก ต่อจากนั้นชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์และการคลอดโดยใช้ออกซิโทซิน หรือผ่าคลอดทางหน้าท้อง
6.การดูแลในช่วงคลอด
เฝ้าระวังเรื่องการติดเชื้อ
ป้องกันการติดเชื้อจาก group B streptococcus
เฝ้าระวังตรวจดูการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
ผ่าตัดคลอดเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางสูติศาสตร์
ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อเตรียมรับเด็กทารก
ติดตามมารดาและทารกหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
สตรีมีครรภ์รู้สึกมีน้ำใส ๆ หรือน้ำสีเหลืองจาง ๆ ไหลออกทางช่องคลอดทันทีจนเปียกผ้านุ่งโดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์หรือก่อนที่จะมีอาการเจ็บครรภ์ แต่บางรายอาจไหลซึมเล็กน้อยตลอดเวลาหรือไหลแล้วหยุดไป
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฎิบัติการ
การทดสอบด้วยกระดาษไนทราซีน(nitrazine paper test)
การตรวจผลึกรูปใบเฟิร์น (fern test หรือ aborization)
การทดสอบโดยการย้อมเซลล์ที่ได้จากการแตกของถุงน้ำคร่ำ (nile blue test)
การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound)
การตรวจหาสารไฟโบรเนกทิน (fibronectin)
ภาวะแทรกซ้อน
มารดา
เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ถุงน้ำคร่ำอักเสบ (chorioamnionitis) มดลูกอักเสบ (metritis) การติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการมีถุงน้ำคร่ำแตก
ทารก
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์เพิ่มอัตราการเกิดภาวะต่อไปนี้ ได้แก้ การติดเชื้อในกระแสเลือด กลุ่มอาการผิดปกติต่าง ๆ ของทารก (fetal deformation syndromes) ภาวะขาดออกซิเจน (asphyxia) จากการที่สายสะดือถูกกดเนื่องจากน้ำคร่ำน้อย สายสะดือย้อย (prolapsed cord) พบได้มากในรายที่ศีรษะทารกมีขนาดเล็ก การคลอดก่อนกำหนด ทารกมีปัญหาเรื่องปอดเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ภาวะเลือดออกในสมอง (intracranial hemorrhage) ลำไส้เกิดเนื้อตาย (necrotizing enterocolitis) สมองพิการ (cerebral palsy) ภาวะปอดของทารกแฟบ (pulmonary hypoplasia) มีผลทำให้ทารกเสียชีวิตภายหลังคลอดได้ สำหรับภาวะปอดของทารกแฟบนั้นมีโอกาสเกิดได้ถ้าหากถุงน้ำคร่ำแตกก่อนอายุครรภ์ครบ 24 สัปดาห์ หลัง 24 สัปดาห์ ทารกมีโอกาสเกิดภาวะดังกล่าวน้อย
นางสาววิไลพร คงราศรี นักศึกษาพยาบาลศาสตรชั้นปีที่ 3 เลขที่ 73 รหัสนักศึกษา 62115301078