Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลด้านมารดา - Coggle Diagram
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลด้านมารดา
มีภาวะไม่สุขสบายเนื่องจากหัวนมข้างขวาถลอก
ข้อมูลสนับสนุน
S : หัวนมข้างขวาถลอกเล็กน้อย
O : รู้สึกเจ็บเวลาทารกดูดนม
pain score ๕ คะแนน ทารกดูดนม
ลิ้นอยู่บริเวณหัวนม
วัตถุประสงค์การพยาบาล
มีภาวะหัวนมถลอกลดลงหรือหายไปหลังจากได้รับการพยาบาล
เกณฑ์การประเมิน
pain score ลดลงต่ำกว่า 5 คะแนน
หัวนมไม่ถลอกเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
ทารกดูดนมอยากถูกวิธี
กิจกรรมทางการพยาบาล
อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้หัวนมถลอก คือ การอุ้มลูกดูดนมไม่ถูกวิธีลูกอมหัวนมไม่ลึกถึงลานนม
แนะนำให้บีบน้ำนมทาบริเวณหัวนมที่แตกแล้วปล่อยให้แห้งเองแล้วค่อยใส่ยกทรงโดยใช้แผ่นซับน้ำนมหรือกระดาษนุ่มรองใน
ช่วยให้อุ้มลูกได้ถนัดก่อนให้ลูกดูดนมแม่เพราะการดูดนมแต่ละครั้งในระยะที่มีหัวนมแตกแม่จะเจ็บมากถ้าแม่อุ้มได้ถนัดและสบายจะทำให้สร้างความมั่นใจในเบื้องต้น
สอนและช่วยจัดท่าอุ้มให้ลูกดูดนมแม่โดยการสอนท่าฟุตบอลเพราะจะทำให้ลูกอมหัวนมได้ลึกขึ้น
ให้ลูกดูดนมข้างที่เป็นแผลน้อยก่อนซึ่งจะมีข้อดีเพราะโดยธรรมชาติเวลาเมื่อลูกเริ่มดูดนมลูกจะดูดแรงถ้าให้ลูกดูดข้างที่เป็นแผลมากแผลจะยิ่งเป็นมากขึ้นทำให้มารดาหลังคลอดยิ่งเจ็บมากขึ้น
6.ช่วยให้ลูกอ้าปากกว้างที่สุดเคลื่อนศีรษะลูกเข้าหาเต้านมโดยเร็วเพื่อจะได้งับลานหัวนมลึกพอเคลื่อนไหวมือทั้ง 2 ข้างที่จับเต้านมและมือที่ประคองบริเวณท้ายทอยลูกจนกว่าลูกจะดูดติดจึงปล่อยมือได้
แนะนำให้บีบน้ำนมออกก่อนให้ลานนมนิ่มเพื่อให้ลูกอมหัวนมได้ลึกถึงลานหัวนมหลีกเลี่ยงการดูดถูกหัวนมที่แตกไม่ควรใช้ครีมทาแผลที่หัวนมเพราะอาจทำให้แผลเป็นมากขึ้น
แนะนำวิธีการถอนหัวนมจากปากอย่างถูกวิธีคือให้สอดนิ้วก้อยลงไปที่มุมปากลูกเพื่อให้อากาศเข้าไปช่วยคลายผนึกที่ลูกดูดติดอยู่กับหัวนมทำให้มารดาหลังคลอดไม่เจ็บหัวนมและหัวนมไม่แตกเพิ่มขึ้น
ติดตามและฝึกมารดาหลังคลอดให้นมบุตรด้วยตนเองอย่างถูกวิธีโดยการส่งเวรต่อให้พยาบาลเวรต่อ ๆ ไปช่วยดูแลจนมารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ให้ญาติและสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมบุตรเช่นการบีบน้ำนมทาบริเวณที่หัวนมถลอก
การประเมินผลมารดาหลังคลอดหัวนมไม่ถลอกเพิ่มขึ้นในวันกลับบ้าน
มารดามีภาวะวิตกกังวลเกี่ยวกับการให้นมบุตรเนื่องจากน้ำนมมาน้อย
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาบอกว่า “วิตกกังวลเกี่ยวกับการให้นมบุตร เนื่องจากน้ำนมมาน้อย กลัวบุตรได้รับน้ำนมไม่พอ”
O : มารดามีสีหน้าวิตกกังวล
วัตถุประสงค์การพยาบาล
ลดความวตกกังวลและเข้าใจการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
เกณฑ์การประเมิน
. มารดามีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสมากขึ้น คลายความวิตกกังวลลดลง
มารดาหลังคลอดสามารถ สาธิตย้อนกลับการการให้นมทารกและการกระตุ้นน้ำนมที่ถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความวิตกกังวลของมารดา
อธิบายการสร้างและการหลั่งน้ำนมหลังคลอดอย่างพอสังเขปให้ผู้ป่วย
สอนแนะนำวิธีการให้ทารกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี โดยพยาบาลเน้นในเรื่องที่มารดาปฏิบัติไม่ได้หรือส่งเสริมความมั่นใจให้กับมารดา
ให้คำแนะนำร่วมกับการให้มารคาลองปฏิบัติจริงโดยเน้นเทคนิคการจัดท่ามารดาและทารกอย่างถูกต้องเหมาะสม เทคนิคการเอานมเข้าปาก (latch on)
และแนะนำวิธีประเมินว่าทารกอมหัวนมและดูดนมได้ถูกต้องหรือไม่ คือ ทารกต้องอมได้ลึกจนแนวเหงือกของทารกอยู่บนลานหัวนมของมารดา
ลิ้นวางใต้ลานนม ขณะที่ริมฝีปากทั้ง 2 ด้านคือด้านบนและด้านล่างบานออกอยู่รอบเต้านม
การเคลื่อนไหวของขากรรไกรชัดเจนบริเวณกกหู แก้มไม่บุ๋มขณะดูดนม
เพื่อช่วยมารดาให้มีทักษะและมั่นใจในการให้นมแม่ได้อย่างถูกต้องในบรรยากาศที่สงบและไม่รีบร้อนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและมีน้ำนมเพิ่มขึ้นกระตุ้นให้นมบุตรทุก 2 ชั่วโมงและแนะนำการให้นมบุตรอย่างถูกวิธี
แนะนำให้รับประทานอาหารที่ส่งเสริมให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น คือ รับประทานอาหารจำพวก เนื้อ นม ไข่ ผักใบเขียว และผลไม้ นอกจากนี้ยังควรดื่มน้ำอุ่นวันละ 8-10 แก้ว พักผ่อนอย่างเพียงพอ และทำจิตใจให้สบาย
เปิดโอกาสซักถามและตอบข้อซักถาม
อ่อนเพลียเนื่องจากนอนหลับพักผ่อนไม่สนิท
ข้อมูลสนับสนุน
S : นอนหลับพักผ่อนไม่สนิทเพราะทารกร้องกวน
วัตถุประสงค์การพยาบาล
มารดาหลังคลอดอ่อนเพลียลดลง
มารดานอนหลับพักผ่อนได้
เกณฑ์การประเมิน 1.สีหน้าสดชื่นขึ้น2. นอนหลับพักผ่อนได้
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้นอนพักโดยจัดกิจกรรมพยาบาลให้พร้อมในเวลาเดียวกันเพื่อรบกวนมารดาหลังคลอดให้น้อยที่สุด
จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออ านวยต่อการพักผ่อนโดยลดแสงและเสียงที่รบกวนผู้ป่วย
ดูแลให้ดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ดูแลและแนะนำการรักษาความสะอาดร่างกายเพื่อให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
ดูแลช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับญาติ
เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมีแผลฉีกขาดของช่องคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
S : -มารดาบอกว่ารู้สึกเหนื่อยอ่อนเพลียเล็กน้อย
O :- แผลฝีเย็บฉีกขาดระดับ 2 pain score เท่ากับ 3 คะแนน
-Total blood loss 200 cc
มารดายังไม่ถ่ายอุจจาระ
-bleeding per vagina ชุ่มผ้าอนามัย ๑ ผืน ประมาณ ๕๐ cc มี blood clot เล็กน้อย
เกณฑ์การประเมินผล
1 มีเลือดออกทางช่องคลอดชุ่มผ้าอนามัยไม่เกิน 1 ผืน/ชั่วโมง (50 cc./ชั่วโมง) ใน 2ชั่วโมงแรกหลังคลอด 2.แผลฝี
เย็บไม่มีเลือดออกไม่มีHematoma
๓.ไม่มีอาการกระสับ กระส่ายใจสั่นตัวเย็น หน้ามืดและเหงื่อออกมาก๔.มารดามีสีหน้าสดชื่นขึ้น บอกเหนื่อยลดลง ผิวหนัง ริมฝีปากมีความชุ่มชื้น
๕.มารดาขับถ่ายอุจาระภายใน๖-๘ ชั่วโมงหลังคลอด
๖.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
๑. ประเมินสภาพแผลฝีเย็บและแผลที่ผนังช่องคลอดอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ อาการบวม รอบฝีเย็บ
มีสีคล้ำขึ้นและค่อย ๆ ซีดลง คลำพบก้อนใต้ผิวหนัง ถ้าอาการเลือดออกใต้ผิวหนังมากกว่า 200 ซี.ซี.
จะมีอาการปวดแผลฝีเย็บเพิ่มขึ้น เมื่อกดแผลฝีเย็บหรือเนื้อเยื่อโดยรอบจะยิ่งเจ็บปวดแผลเพิ่มขึ้น
๒. ดูแลชำระฝีเย็บด้วยความนุ่มนวล เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อที่ฝีเย็บและผนังช่องคลอดบอบช้ำหรืออาการเลือดออกเพิ่มขึ้น
๔. แนะนำให้รับประทานอาหารประเภทโปรตีน ผัก และผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงเพื่อส่งเสริมการหายของแผลฝีเย็บ
๖. แนะนำและดูแลให้ปัสสาวะ ทุก 3 – 4 ชั่วโมง เพื่อป้องกันกระเพาะปัสสาวะเต็มเป็น การลดสิ่งขัดขวางการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
๗. จัดท่านอนศีรษะสูง หรือนอนคว่ำใช้หมอนรองใต้ท้องน้อย เพื่อช่วยให้น้ำคาวปลาไหล ออกสะดวก
ลดการคั่งค้างของน้ำคาวปลาและเลือด เป็นการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดก้อนใหญ่ในโพรง
มดลูกและเป็นการลดสิ่งขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
๘. สังเกตและตรวจลักษณะปริมาณ สี กลิ่นของน้าคาวปลา ซึ่งสามารถบอกประสิทธิภาพ การทำงานของมดลูก ใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ปริมาณเลือดที่ออกจากช่องคลอดไม่ควรชุ่ม ผ้าอนามัยเกิน 2 ผืน
ถ้าหากเลือดชุ่มผ้าอนามัยเกิน 1 ผืนใน 1 ชั่วโมง ต้องพิจารณาว่าเกิดจากสาเหตุใด อาจจะเกิดจกมดลูกหดรัดตัวไม่ดี เศษรกค้าง หรือกระเพาะปัสสาวะเต็ม
๙.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพเป็นข้อบ่งชี้ของภาวะแทรกซ้อน เช่น การตกเลือด หรือ การติดเชื้อโดยในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดควรวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นถ้าอาการและสัญญาณชีพของมารดาหลังคลอดปกติคงที่อาจวัดทุก 12 ชั่วโมงก็ได้ โดยหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมง อุณหภูมิอาจเพิ่มขึ้นถึง 38 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกินนี้และควรจะกลับมาอยู่ในระดับปกติ ภายใน 24 ชั่วโมง
๓. แนะนำให้มารดาขมิบกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดวันละ 50-100 ครั้ง เพื่อให้การไหลเวียนดี ช่วยให้แผลฝีเย็บหายเร็วขึ้น