Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะสูดสำลักขี้เทา (meconium aspiration syndrome: MAS), นางสาววิไลพร…
ภาวะสูดสำลักขี้เทา (meconium aspiration syndrome: MAS)
ความหมาย
ภาวะที่ทารกในครรภ์สูดสำลักหรือหายใจเอาขี้เทาที่มีอยู่ในน้ำคร่ำเข้าไปในหลอดลมหรือปอด ส่งผลให้ทารกมีปัญหาหายใจลำบาก พบบ่อยในทารกเกิดครบกำหนดและทรกแรกเกิดเกินกำหนดที่มีภาวะขาดออกซิเจนขณะอยู่ในครรภ์มารดา
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่มีการศึกษาถึงปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสูดสำลักขี้เทาในทารกแรกเกิด
ปัจจัยที่สัมพันธ์
ด้านมารดา
มารดาอายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์ ที่ส่งผลให้รกเสื่อมสภาพ
มารดามีภาวะความดันใน โลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
มารดามีภาวะรกเกาะต่ำ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
มารดามีภาวะน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ
ด้านทารก
เมื่อทารกในครรภ์มารคา มีภาวะขาดออกซิเจน ร่างกายของทารกจะมีการปรับตัวเพื่อหาแหล่งของออกซิเจนมาใช้ เมื่อรับออกซิเจนจากสายสะดือไม่ได้ ทารกจะมีภาวะเครียด เป็นผลทำให้มีการคลายตัวของหูรูดลำไส้ของทารก ส่งผลให้ทารกมีการถ่ายขี้เทาปนในน้ำคร่ำมารดา
อาการและอาการแสดง
ทารก
อาการหอบเหนื่อย
ปอดมีเสียงผิดปกติ
หายใจลำบาก
การใช้กล้ามเนื้อช่วยการหายใจ
ในรายที่มีภาวะขาดซิเจนรุนแรงอาจพบผิวหนังเขียวคล้ำ
มีอาการหายใจเฮือก อาจพบลักษณะทรวงอกโป่ง
การวินิจฉัย
ทารกมีอาการหายใจลำบาก มีการใช้กล้ามเนื้อในการหายใจ ทรวงอกโป้ง
ตรวจร่างกายพบน้ำคร่ำมีตะกอนขี้เทาปนในระยะคลอด หรือร่างกายของทารกมีลักษณะของขี้เทาติดอยู่ตามผิวหนัง
ภาพถ่ายรังสีทรวงอกพบความผิดปกติ ได้แก่ alveolar infiltration hyperaeration atelectasis
การส่งตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือดอาจพบภาวะกรดในร่างกาย ค่า pH < 7.25 ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ดั่ง (PCO, > 55mmHg) ภาวะพร่องออกซิเจน (PO, < 80mmHg)
การรักษา
ให้ออกซิเจน ปรับความเข้มข้นให้ตามความเหมาะสม
การให้ยาปฎิชีวนะ
การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกอย่างต่อเนื่อง (CPAP)
การรักษาด้วยสารลดแรงตึงผิว
การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ภาวะหัวใจวาย
ภาวะเลือดออกผิดปกติ
ภาวะไตวาย
นางสาววิไลพร คงราศรี นักศึกษาพยาบาลศาสตรชั้นปีที่ 3 เลขที่ 73 รหัสนักศึกษา 62115301078