Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก, 98E6B12B-271D-4872-A7AD-5190476B8802,…
การพยาบาลผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก
ประเภทของแผลไฟไหม้ (type of burn)
แผลไหม้จากความร้อน Thermal injury แบ่งได้ 2 กลุ่ม
ความร้อนแห้ง ได้แก่ แผลจากเปลวไฟ
ความร้อนเปียก ได้แก่ แผลที่เกิดจากการลวกของน้ำร้อน น้ำมัน
แผลไฟไหม้จากกระแสไฟฟ้า Electrical injury
แผลไหม้จากสารเคมี chemical injury
แผลไหม้จากรังสี radiation injury
ผลกระทบจากการบาดเจ็บจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพเฉพาะที่
การเปลี่ยนแปลงเฉพาะที่ localize effect ผิวหนังได้รับการบาดเจ็บโดยตรง มีผลต่อการควบคุมการระเหยของสารน้ำอิเล็โตรลัยด์ การควบคุมอุณหภูมิ
การเปลี่ยนแปลงทั่วร่างกาย systematic effect เช่น หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ความสมดุลของสารน้ำ กรดด่างในร่างกาย และระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
การประเมินระดับความรุนแรงของแผลไหม้
โดยประเมินจากความลึก และความกว้างของบาดแผล
First degree burn มีการทำลายเฉพาะชั้นหนังกำพร้า ผิวหนังบริเวณนั้นจะมีสีชมพู หรือสีแดง มีความนุ่ม ไม่มีตุ่มพอง มีอาการปวดแสบ แผลหายได้เองภายใน 3-5 วัน
Second degree burn แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
Superficial partial thickness (SPT) มีการทำลายชั้นหนังกำพร้าทั้งหมดและบางส่วนของหนังแท้ skin appendage ได้แก่ ต่อมเหงื่อต่อมไขมัน รากขน ยังคงอยู่ ผิวจะมีสีแดง มีตุ่มพอง ปวดแสบมาก เพราะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่ในชั้นหนังแท้ ระยะเวลาในการหายของแผลประมาณ 7-14 วัน มีแผลเป็น
Deep partial thickness (DPT) มีการทำลายของชั้นหนังกำพร้า
ทั้งหมด ส่วนมากของหนังแท้ skin appendage ถูกทำลาย แต่ยังคงมีเหลืออยู่บ้างที่งอกขึ้นมาทดแทนกลับคืนเป็นผิวหนังได้ สีผิวจะเป็นสีขาว ซีด ตุ่มพองมีน้อย หรือแฟบ ความรู้สึกปวดแสบลดลง ระยะเวลาในการหายของแผลประมาณ 14-28 วัน จะเป็นแผลเป็นมาก
Third degree burn หรือ Full thickness
ผิวหนังถูกทำลายทุกชั้น อาจกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก แผลไหม้จะมีลักษณะขาว ซีด เหลือง น้ำตาลไหม้ หรือดำ หนาแข็งเหมือนแผ่นหนัง ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นการเจ็บปวดจากการกด การหายของแผลต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ และต้องทำ skin graft ร่วมด้วย เมื่อหายแล้วจะเป็นแผลเป็น บางรายจะพบแผลเป็นที่มีลักษณะนูนมาก Hypertrophic scar or keloid
หลักการดูแลผู้ป่วยแผลไหม้
ระยะฉุกเฉิน
ปัญหาที่พบในระยะ 24-72 ชั่วโมงแรก โดยเฉพาะใน 48 ชั่วโมง แรกซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อชีวิต คือ มีการสูญเสียสารน้ำจำนวนมาก อาจเกิดภาวการณ์ไหลเวียนล้มเหลวจากปริมาณของเหลวในร่างกายต่ำ (hypovolemicshock)
ประเมินสภาพผู้ป่วย เรื่อง airway breathing circulation
หยุดขบวนการเผาไหม้ที่ยังคงเหลือ
ประเมินบาดแผล
เปิดเส้นเลือดเพื่อเตรียมให้สารน้ำ
ให้การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะ respiratory distress
ระยะวิกฤติ
ปัญหาที่พบได้ในระยะนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากระยะแรก ภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อของแผล และการติดเชื้อในระบบต่างๆของร่างกาย ความเจ็บปวด ปัญหาทางด้านจิตใจ
ระยะฟื้นฟู
ปัญหาที่พบในช่วงนี้ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆของร่างกายที่ไม่เหมือนเดิม อาจเกิดจากการหดรั้งของแผล เช่น บริเวณข้อต่อต่างๆ จากแผลเป็น keloid หรือ hypertrophic scare หรือจากความพิการ การสูญเสียอวัยวะจากการบาดเจ็บก่อให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจ จนบางครั้งอาจต้องปรึกษาแพทย์
การควบคุมป้องกันการติดเชื้อ
การดูแลผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก
การจัดการความปวด
การป้องกันภาวะแทรกซ้อน แผลกดทับ แผลเป็นดึงรั้ง ข้อยึดติด และแผลเป็นนูน
การดูแลด้านจิตใจผู้ป่วยและญาติ
ปัญหาสุขภาพและการดูแลในผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนเนื่องจากมีการบวมของทางเดินหายใจ
เสี่ยงต่อการไหลเวียนเลือดล้มเหลวและเสียสมดุลของอิเลคโตรลัยด์ จากท่ีมีการเคลื่อนของสารน้ำออกนอกหลอดเลือด
เสี่ยงต่อการทหวานของไตบกพร่อง
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
-เจ็บปวดเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ
สูญเสียภาพลักษณ์
เครียด วิตกกังวล
สรุป
การดูแลผู้ป่วยไฟไหม้น้ําร้อนลวก บทบาทพยาบาล ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละระยะ เพื่อให้การดูแลได้อย่างครอบคลุมองค์รวม ความต้องการการดูแลที่สําคัญคือ การควบคุมป้องกันการติดเชื้อ การส่งเสริมการหายของแผล การดูแลบาดแผล การดูแลให้ผู้ป่วยมีความสุขสบาย ลดความเจ็บปวดทุกข์ ทรมาน การดูแลด้านจิตใจผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัว มีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาล เพื่อให้บาดแผลหายเร็ว ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ รวมทั้ง อวัยวะต่างๆไม่ผิดรูป ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุข