Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Diseases), โรคหัวใจที่เกิดภายหลัง…
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Diseases)
โรคที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากการเจริญที่ผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์
โรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว (Acyanotic congenital heart diseases)
กลุ่มที่มีการไหลลัดของเลือดจากหัวใจซีกซ้ายไปซีกขวา (Left to Right shunt)
Ventricular septal defect (VSD) :
การมีรูรั่วของผนังกั้นหัวใจห้องล่าง เนื่องจากการสร้างผนังไม่สมบูรณ์ พบบ่อยที่สุด เวนตริเคิลซ้ายมีความดันสูงกว่าเวนตรเคิลขวา เลือดแดงจึงไหลลัดไปผสมกับเลือดดำในเวนตริเคิลขวา ทำให้ปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง แต่ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดปกติ
อาการ :
เด็กมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาดูดนม มักจะตัวเล็กและน้ำหนักตัวน้อย พัฒนาการล่าช้า เลี้ยงไม่โต
Atrial septal defect (ASD) :
การมีรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องบน เนื่องจากการสร้างผนังไม่สมบูรณ์ เอเตรียมซ้ายมีความดันสูงกว่าเอเตรียมขวา เลือดแดงจึงไหลลัดไปผสมกับเลือดดำในเอเตรียมขวา ทำให้หัวใจห้องขวาขยายและส่งผลให้เลือดไหลไปปอดเพิ่มขึ้น ปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง แต่ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดปกติ
อาการ :
เด็กมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาดูดนม มักจะตัวเล็กและน้ำหนักตัวน้อย ตรวจร่างกายพบ right ventricular heave พัฒนาการล่าช้า เลี้ยงไม่โต
กลุ่มที่มีการอุดกั้นการไหลของเลือด (Obstructive lesion)
Coarctation of the Aorta (CoA) :
มีการอุดตันของหลอดเลือดเอออร์ตา ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนส่วนล่างของร่างกายไม่สะดวก จึงพบว่าความดันแขนสูงกว่าความดันขา
Pulmonary stenosis (PS) :
มีการตีบแคบของลิ้นพัลโมนารีหรือมีการอุดตันของทางออกของเวนตริเคิลขวา ทำให้บีบเลือดไปปอดไม่สะดวก ส่งผลให้ลือดคั่งในหัวใจห้องขวา อาจเกิดภาวะหัวใจห้องขวาวายได้
อาการ :
เหนื่อยง่าย อาจมีอาการเขียวเล็กน้อย เจ็บแน่นหน้าอก เจ็บมากเวลาออกแรง
Aortic Stenosis (AS) :
มีการตีบของลิ้นเอออร์ติกหรือมีการอุดของทางออกเวนตริเคิลซ้าย ทำให้แรงดันในเวนตริเคิลซ้ายสูง หัวใจห้องล่างซ้ายทำงานหนัก เกิดภาวะหัวใจซีกซ้ายวาย
อาการ :
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายเวลาวิ่งเล่น หากรุนแรงอาจหมดสติขณะวิ่งเล่นได้
โรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดเขียว (Cyanotic congenital heart diseases)
กลุ่มอาการเลือดไปปอดน้อย
Pulmonary Atresia (PA) :
มีการตีบตันของลิ้นพัลโมนารี ทำให้เวนตริเคิลขวาบีบตัวส่งเลือดไปปอดได้น้อย
อาการ :
มีอาการเขียวซึ่งเห็นได้ตั้งแต่วัยทารก
Tetralogy of Fallot (ToF) :
ประกอบด้วยความผิดปกติภายในหัวใจ 4 อย่าง คือ PS , VSD , Overdering aorta , Right ventricular hypertrophy
อาการ :
เลือดไปฟอกน้อย และถูกส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เป็นเลือดที่มีออกซิเจนต่ำกว่าปกติ เกิดอาการเขียวทั่วร่างกาย มักเขียวเวลาร้อง หรือหลังออกแรงนานๆ เช่น หลังดูดนม
กลุ่มอาการเลือดไปปอดมาก
Transposition of the Great Arteries (TGA) :
มีการสลับที่กันของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจ
อาการ :
หายใจเร็ว เหงื่อออกมาก
โรคหัวใจที่เกิดภายหลัง (Acquired Heart Diseases)
Kawasaki Disease (KD)
มีการอักเสบของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี บ่อยสุดในช่วงอายุ 2-3 ปี จะหายได้เอง
อาการ :
ตาแดง 2 ข้าง แต่ไม่มีขี้ตา ริมฝีปากแห้งแตก มือเท้าบวม ต่อมน้ำเหลืองบวมโตแต่กดไม่เจ็บ
Congestive Heart Failure (CHF)
อาการ :
หัวใจซีกซ้ายวาย จะทำให้หายใจลำบาก เสียงปอดพบ crepitation หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย , หัวใจซีกขวาวาย จะมีอาการบวมรอบหนังตา หัวใจเต้นเร็ว ตับโต ท้องมาน น้ำหนักเพิ่ม ตัวบวม
การพยาบาล :
เน้นการจำกัดน้ำ กำจัดเกลือ เพิ่มแคลอรี่
Rheumatic Fever and Rheumatic Heart Disease
เป็นโรคที่เกิดขึ้นภายหลังภาวะต่อมทอนซิลหรือคออักเสบจากเชื้อโรค B - hymolytic Streptococcus group A
อาการ :
กล้ามเนื้ออักเสบ ลิ้นหัวใจรั่วมากกว่าภาวะหัวใจวาย ทำให้เหนื่อยง่าย หอบ บวมที่เท้าและขา เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบและมีอาการเจ็บหน้าอกมาก
การรักษา :
การพักผ่อนบนเตียง และดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะ
การติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ (Infective endocarditis)
การอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อของเยื่อบุหัวใจชั้นในสุด เชื้อที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แต่มักมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะ streptococcus
อาการ :
มักมีไข้ต่ำๆเป็นช่วงๆ เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตรวจพบ Roth spot แดงเป็นวง
การรักษา :
ให้ยาปฏิชีวนะแบบฉีด 4-6 สัปดาห์ เฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว