Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Medications Affecting the Hematologic System - Coggle Diagram
Medications Affecting the Hematologic System
Medications Affecting Coagulation
Tranexamic acid
กลไกการออกฤทธิ์ ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายตัวของไฟบรินโดยยาจะเข้าจับที่ fibrin biding siteบน plasminogen แบบผันกลับได้ ทำให้โครงสร้างของไฟบรินคงตัว
ข้อบ่งใช้ ป้องกันภาวะที่มีเลือดออกผิดปกติขณะผ่าตัด
ผลข้างเคียง มีลิ่มเลือดอุดตัน โดยสามารถเกิดได้ทั้งหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน
Vitamin K1
กลไกการออกฤทธิ์ เป็น cofactor ที่จำเป็นในการสร้าง coagulation factor ได้แก่ factor II, VII, IX และ X ที่ตับ
ข้อบ่งใช้ ได้รับยาห้ามการแข็งตัวของเลือดประเภท warfarin เกินขนาด
ผลข้างเคียง Anaphylactoid reaction หลังจากฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ การฉีดเข้าเส้นเลือด จึงควรจำกัดอยู่เฉพาะในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น
Growth Factors
เป็นกลุ่มของสารโปรตีนโพลีเปปไทด์ ที่มีคุณสมบัติใน
การกระตุ้นหรือเหนี่ยวนำให้เกิดการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนเซลล์ โดยกลุ่มของสารกระตุ้นการเจริญอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้นการเจริญของเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ เรียกว่า hemopoietic growth factors
ยา epoetin (EPO)
ทำหน้าที่กระตุ้นการแบ่งตัวและการพัฒนาของเซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกไปเป็นเม็ดเลือดแดงและทำหน้าที่กระตุ้นการสังเคราะห์เฮโมโกลบินและส่งเรติคูโลไซต์จากไขกระดูกออกไปสู่กระแสเลือด
ข้อบ่งใช้ สำหรับภาวะเลือดจางจากโรคไตเรื้อรังที่ไม่พบสาเหตุอื่นที่รักษาได้
ผลข้างเคียง ความดันเลือดสูง ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ คัน เจ็บตาม ผิวหนัง ผื่นขึ้น คลื่นไส้ ท้องร่วง อาหารไม่ย่อย ปวดข้อ ชา ไอ แน่นจมูก หอบเหนื่อย
Blood and Blood Products
เลือดรวม (Whole blood)
คือเลือดที่เจาะเก็บจากผู้บริจาคโดยตรง บรรจุในถุงปลอดเชื้อ โดย 1 unit มีประมาณ 350-450 cc มีค่า hematocrit อย่างน้อย 33%
มีส่วนประกอบของเลือดทุกชนิด สามารถให้เพื่อเพิ่มได้ทั้ง blood volume และ RBCโดยต้องให้เลือดหมู่เดียวกับผู้ป่วย
เม็ดเลือดแดงเข้มข้น Packed red cell (PRC)
คือเลือดที่ปั่นแยกเอา plasma ออก โดย 1 unit มีประมาณ 250 cc มีค่า hematocrit เท่ากับหรือน้อยกว่า 80% มีความหนืดสูงกว่าเลือดรวม
ลดความหนืดได้โดยการเจือจางด้วย 5%DN/2, 5%DNSS หรือ NSS 100 cc/เลือด 1 unit
ไม่ควรผสม PRC กับสารน้ำที่มี Ca2+ เพราะทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ สามารถให้ในภาวะซีดจากสาเหตุต่างๆ
เกล็ดเลือดเข้มข้น Platelet concentrate
มีจำนวนเกล็ดเลือดมาก เม็ดเลือดขาวน้อย มีพลาสม่าบ้างไม่มาก 1 unit มีประมาณ 50 cc มีอายุประมาณ 5 วัน เก็บที่อุณหภูมิ 20-24°c และต้องเขย่าตลอดเวลาเพื่อป้องกันการจับกลุ่มกัน
ควรให้กลุ่มเดียวกับเลือดของผู้ป่วยมิฉะนั้นจะทำให้ platelet มีอายุสั้นและนับจำนวนได้น้อย
เกล็ดเลือดเข้มข้น Platelet concentrate
พลาสม่ารวมชนิดแช่แข็ง Fresh frozen plasma (FFP)
1 unit มีประมาณ 200-300 cc มีโปรตีน เช่น albumin immunoglobulin และปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดแทบทุกชนิดใน plasma โดยเฉพาะ factor V และ VIII ซึ่งจะหมดอายุเมื่อเก็บ
FFP ไว้นานเกิน 1 ปี โดยจะเก็บเป็น plasma แข็งที่อุณหภูมิ -20°c หรือต่ำกว่า
สามารถใช้ในภาวะ bleeding ที่มี PT, PTT prolong ได้รับ anticoagulant เมื่อให้ PRC จำนวนมากแล้วตรวจพบ PT, PTT prolong หรือในผู้ป่วยโรคตับที่มีปัญหาในการแข็งตัวของเลือดขนาดที่ใช้ 10-20 cc/kg จะเพิ่ม coagulation factors ร้อยละ 20-40ควรให้ FFP กลุ่มเดียวกับเลือดผู้ป่วย
พลาสม่าแยกส่วน Cryoprecipitate
เป็นพลาสม่าที่ได้จากการนำ FFP มาละลายแล้วปั่นแยกส่วนได้พลาสม่าส่วนตะกอนซึ่งมี factor ในการแข็งตัวของเลือด
เป็นตะกอนโปรตีนที่ทำการแยกมาจาก FFP โดย 1 unit มีประมาณ 10-20 cc ประกอบด้วย factor VIII, von Willebrand factor, fibrinogen และ fibronectin
ใช้เพื่อรักษา hemophilia A, von Willebrand’s disease, factor XIII deficiency หรือภาวะ Disseminated intravascular coagulation (DIC) สามารถให้ได้กับผู้ป่วยทุกกลุ่มเลือด และเก็บ
ไว้ได้นาน 1 ปี ที่อุณหภูมิ -20°c
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเลือด
การเตรียมผู้ป่วยก่อนให้เลือด
เจาะเลือดประมาณ 5-10 mL เพื่อตรวจสอบหมู่เลือดและการเข้ากันของเลือด ดูความถูกต้องแล้วส่งไปที่ธนาคารเลือด
รับเลือดจากธนาคารเลือด ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง และตรวจสอบลักษณะของเลือดว่าไม่มีสีผิดปกติหรือฟองกาศที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
ให้เลือดภายใน 4 ชั่วโมงหลังได้รับเลือดจากธนาคารเลือด
ขณะได้รับเลือด
ดูแลให้เลือดไหลสะดวก แขวนถุงเลือดให้ถูกต้องทั้งปริมาณ และอัตราการให้ต่อนาที และไม่ควรให้นานเกิน unit ละ 4 ชั่วโมง
บันทึกสัญญาณชีพทุกชั่วโมง และสังเกตอาการ โดยเฉพาะ 10-30 นาทีแรกหลังจากให้เลือด
หากมีอาการแทรกซ้อน ให้หยุดการให้เลือดทันที → ตรวจสัญญาณชีพและรายงานแพทย์
หลังได้รับเลือด
แนะนำผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายตามความเหมาะสม
สังเกตอาการผิดปกติของตนเอง เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น มีผื่นขึ้นตามตัว ตัวเหลืองหรือซีด ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย ท้องเสีย เป็นต้น ให้รีบรายงานให้แพทย์ทราบทันที