Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis), จัดทำโดย นางสาว สุชาดา นิ่มน้อย รหัส…
โรคถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis)
คือโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดอาการอักเสบที่บริเวณถุงน้ำดี (gallbladder) อวัยวะทรงลูกแพร์บริเวณข้างใต้ตับ ซึ่งทำหน้าที่กักเก็บน้ำดี ซึ่งเป็นของเหลวที่ตับผลิตขึ้น โดยน้ำดีจะถูกส่งผ่านทางท่อน้ำดีไปยังลำไส้เล็ก และไหลเข้าสู่ลำไส้ใหญ่เพื่อช่วยในการย่อยอาหารจำพวกไขมัน ผู้ป่วยโรคถุงน้ำดีอักเสบมักมีอาการปวดบริเวณใต้กระดูกซี่โครงข้างขวาซึ่งเป็นตำแหน่งของถุงน้ำดี อาการอักเสบนี้มักเกิดขึ้นจากการปรากฎขึ้นของนิ่ว เนื้องอก หรือสิ่งกีดขวางอื่นที่เข้าไปกีดขวางในท่อน้ำดีใหญ่ (bile duct) หรือ ท่อถุงน้ำดี (cystic duct)
อาการ
ปวดรุนแรงที่ใต้ชายโครงขวาร้าวไปที่ไหล่ขวาและบริเวณหลังใต้สะบักขวา
ปวดมากเมื่อไอหรือหายใจลึกๆ
มีคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ อุจจาระเป็นสีเทา ปัสสาวะมีสีเข้ม
สาเหตุ
ติดเชื้อในกระแสเลือด
เกิดเนื้องอกที่ตับหรือตับอ่อน
ถุงน้ำดีอักเสบที่เกิดจากนิ่ว
เบาหวาน
เลือดไหลไปเลี้ยงถุงน้ำดีได้น้อย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC:พบเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น
Ultrasound abdomen
Liver function test
การรักษา
การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง
การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่1 วิตกกังวลเกี่ยงกับการผ่าตัดและการปฏิบัติตัว
เป้าหมายการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลและเข้าใจแผนการรักษา
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยอธิบายและบอกการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัดได้ถูกต้อง
สังเกตสีหน้าของผู้ป่วย ยิ้มแย้ม ผ่อนคลาย
ให้ความร่วมมือในการรับการรักษา
กิจกรรมการพยาบาล
1.อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความจำเป็นในการผ่าตัด และขั้นตอนต่างๆในการผ่าตัด รวมทั้งการให้ความมั่นใจกับผู้ป่วย
2.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกต่างๆและซักถามข้อสงสัยโดยพยาบาลเป็นผู้รับฟังที่ดี
3.ให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลและให้กำลังใจผู้ป่วย
4.เมื่อผู้ป่วยพร้อมสอนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัด
ก่อนผ่าตัด
งดอาหารและน้ำดื่มทุกชนิดทางปากหลังเที่ยงคืนก่อนทำการผ่าตัดถึงวันที่ทำการผ่าตัด
ต้องรับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC,BUN Cr,LFT,electrolyte CA Mg
อาบน้ำสระผมให้สะอาดตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น
รักษาความสะอาดช่องปาก งดสูบบุหรี่และเคี้ยวหมาก
ไม่ใส่เครื่องประดับทุกชนิดอุปกรณ์อื่นๆเช่น ฟันปลอมชนิดถอดได้ สร้อย แหวน
ให้สวนปัสสาวะคืนก่อนวันผ่าตัด
เซ็นใบอนุญาตยินยอมรับการรักษาโดยการผ่าตัด
หลังผ่าตัด
ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ได้รับยา
ได้รับออกซิเจน
การฝึกการหายใจลึกๆหรือการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อซี่โครง
การเคลื่อนไหวร่างกายหลังผ่าตัด การพลิกตัว สามารถทำได้เลยเมื่อรู้สึกตัวควรพลิกตะแคงตัวเองอย่างน้อยทุกๆ2ชั่วโมง
ภาวะหลังการผ่าตัดอาจมีไข้หรือท้องอืด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่2เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด24ชั่วโมงแรก
เป้าหมายการพยาบาล
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด24ชั่วโมงแรก
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่มีอาการหรืออาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจน เช่น หายใจเหนื่อยหอบ ชีพจรเร็ว ปลายมือปลายเท้าเยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ T=36.5-37.4 c P=60-100ครั้ง/นาที R=16-24ครั้ง/นาที BP=90/140-60/90mmHg O2sat=95-100%
ไม่มีอาการท้องอืด
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยเมื่อแรกรับ
2.ตรวจวัดสัญญาณชีพโดยวัดทุก15นาทีx4ครั้ง 30นาทีx2ครั้ง และทุก1ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่
3.ประเมินระดับความเจ็บปวด
4.สังเกตแผลการซึมของแผล
5.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
การป้องกัน
ลดน้ำหนัก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปเสี่ยงเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้สูง เนื่องจากปริมาณคอเลสเตอรอลในน้ำดีมีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดก้อนนิ่ว
รักษาน้ำหนักตัว ควรรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป โดยเลือกรับประทานอาหารให้สมดุลและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
รับประทานอาหารที่ดี ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ เนื่องจากอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและมีกากใยต่ำจะทำให้เสี่ยงเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มให้น้อยลง อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
จัดทำโดย
นางสาว สุชาดา นิ่มน้อย รหัส 6203400014