Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์, สุภาวดี วันสอน MN 6405020 - Coggle Diagram
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
สาเหตุและปัจจัย
- โรคเบาหวานขณะตั้งครภ์เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์
- อินซูลินคือฮอร์โมนที่สร้างตับอ่อนมีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นแหล่งพลังงานและควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
- ระหว่างการตั้งครรภ์ รกจะมีการผลิตฮอร์โมนบางชนิดขึ้น เช่น HPL ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทำให้ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะดื้อินซูลิน เพื่อให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงพอที่จะไปเลี้ยงทารกในครรภ์
- หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนมาก่อน จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพราะมีภาวะดื้ออินซูลินก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์อยู่แล้ว การตั้งครรภ์จะทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้นกว่าเดิมจึงยิ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมในการเกิดโรค
- ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มโอกาสในการเป็นเบาหวานของหญิงตั้งครรภ์ได้มากขึ้น
อาการและอาการแสดง
- ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปากแห้ง คอแห้ง
- น้ำหนักเพิ่มขึ้นเกินเกณฑ์ รูปร่างอ้วน ขนาดหน้าท้องใหญ่กว่าขนาดอายุครรภ์
ความหมาย
- ภาวะที่มีความผิดปกติของการทนต่อกลุโคส (Glucose intolerance) โดยได้รับการวินิจฉัยเป็นครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ จะตรวจพบว่ามีความผิดปกติของ carbohydrate metabolism
กาประเมินและวินิจฉัย
ซักประวัติ
- ประวัติอาการโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลด
- ประวัติเคยเป็นเบาหวาน
- ประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว
- ประวัติโรคทางสูติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน
- ประวัติการตั้งครภ์
กลุ่มความเสี่ยงสูง
- อายุมากว่า 35ปี นับถึงวันครบกำหนดคลอด
- มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
- มีภาวะอ้วนก่อนตั้งครรภ์ BMI>25
- เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- มีประวัติเป็น PIH หรื CHT
- มีประวัติเคยแท้งุตร 3ครั้ง ทารกตายคลอด ทารกพิการ ครรภ์แฝดน้ำ เคยคลอบุตรมากกว่า 4000กรัม
กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง
- อายุมากว่า 30ปี
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน
กลุ่มความเสียงต่ำ
- อายุน้อยกว่า 25ปี - ไม่มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน - น้ำหนักตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ - ไม่มีประวัติเป็นเบาหวาน - ประวัติน้ำหนักบุตรคนก่อนๆอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ตรวจร่างกาย
- รูปร่างอ้วน น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ BMI>25
- ระหว่างตั้งครรภ์ น้ำหนักขึ้นมากกว่าเกณฑ์
- ตรวจครรภ์พบว่าใหญ่กว่าอายุครรภ์(size>date)
- อาจตรวจพบครรภ์แฝดน้ำ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะ มีผล sugar2+ หรือ 1+ ติดต่อกัน 2ครั้ง
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่
- Glucose challenge test 50gms. (GCT) คือการกินน้ำตาล 50กรัม ในกลุ่มเสี่ยงสูงตรวจคัดกรองทันทีโดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์ ในกลุ่มเสี่ยงปานกลางตรวจที่ GA 24-28wks. ในกลุ่มเสี่ยงต่ำไม่จำเป็นต้องคัดกรองทุกราย ถ้าค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 140 ถือว่าผิดปกติ ต้องนัดมาตรวจ OGTT อีก 1wks.
- oral glucose tolerence test 100gms. (OGTT)
คือการกินน้ำตาล 100กรัม และเจาะดูค่าน้ำตาลหลังกินและในชั่วโมงที่ 1,2,3 ถ้ามีค่าที่ผิดปกติ 2ครั้งขึ้นไปแสดงว่าเป็นเบาหวาน ค่าปกติคือ 95 195 155 140
การรักษา
การควคุมระดับน้ำตาล
- การควบคุมอาหาร แคลลอรี่ที่ได้รับต่อวันจะขึ้นอยู่กับขนาดน้ำหนักตัว ส่วนใหญ่จะจำกัดปริมาณพลังงานจากอาหาร วันละ 30-35 กิโลแคลลอรี่ต่อ ideal body weight แบ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55 โปรตีน ร้อยละ 20 ไขมัน ร้อยละ 25 ควรเพิ่มมื้อาหารจาก 3 มื้อใหญ่ โดยเพิ่อมอาหารว่างระหว่างมื้อและก่อนนอน
- การใช้ยาอินซูลิน
ใน Overt DM นิยมให้อินซูลินผสม ระหว่าง intermidiate acting insulin(NPH) และ short acting insulin (RI) ขนาดโดยทั่วไป 20-30unit ต่อวัน แบ่งเป็นสองครั้งโดยให้ก่อนมื้อเช้าเป็นปริมาณ 2/3 ของทั้งวัน (สัดส่วน NPH :RI =2:1) และก่อนมื้อเย็นเป็นปริมาณ 1/3 (NPH:RI=1:1)
- ไม่ควรใช้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องยาสามารถผ่านรกไปสู่ทารกได้ ทำให้ทารกเกิดความพิการได้
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แนะนำการออกแบบ upper body muscle
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
- ดูแลประเมินภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อค้นหาความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ดูแลคัดกรองภาวะเบาหวาน
- แนะนำให้มาฝากครรภ์ตามนัด
- แนะนำการรับประทานอาหารและควบคุมอาหาร
- แนะนำสังเกตุอาการผิดปกติที่ต้องรีบมพบแพทย์
ระยะคลอด
- ดูแลควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาของแพทย์
- ดูแลตรวระดับน้ำตาลในเลือด
- ดูแลให้อินซูลินตามแผนการรักษา - กรณีแพทย์ให้คลอดทางช่องคลอดได้ ดูแลทำคลอดปกติ และตรวจดูการฉีกขาดของช่องทางคลอดเพื่อป้องกันภาวะตกเลือด
- แนะนำมารดาดูแลความสะอาดของร่างกายและแผลฝีเย็บเพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อ
- ประเมินทารกแรกเกิดเกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- แนะนำมารดาสังเกตอาการผิดปกติของทารก ถ้ามีอาการซึมลงให้รีบแจ้งพยาบาล
ระยะหลังคลอด
- ดูแลควคุมระดับน้ำตาลในเลือดตามแผนการรักษา
- ดูแลตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดตามแผนรักษา
- แนะนำเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา
- แนะนำการคุมกำเนิดด้วยยาเม็ดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว ยาฉีด ยาฝัง ยกเว้นการใส่ห่วงเพราะอาจติดเชื้อ
- ในรายที่ต้องฉีดยาแนะนำปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์และมาตรวจตามนัด
- แนะนำสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อหญิงตั้งครรภ์
- แท้งบุตร(spongtaneous abortion)
- ความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์(pre-eclamsia)
- การติดเชื้อ (infection)
- เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (preterm labour)
- มีภาวะคลอดยาก (dystocia) และช่องทางคลอดได้รับบาดเจ็บ
- ภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตนในเลือดสูง (diabetic ketoacidosis)
- ภาวะตกเลือดหลังคลอด (postpartum hemarrhage)
- ครรภ์แฝดน้ำ (poly hydramios)
ผลต่อทารก
- ทารกพิการแต่กำเนิด (congenital malformation)
- ทารกตัวโต่ (macrosomia)
- น้ำตาลในเลือดต่ำเมื่อแรกเกิด (hypoglycemia)
- แคลเซียมในเลือดต่ำ
- ปอดเจริญเติบโตช้า
- ตายคลอด
- ภาวะบิลลิรูบินในเลือดสูง
-