Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรดไหลย้อน Gastroesophageal Reflux Disease - Coggle Diagram
กรดไหลย้อน
Gastroesophageal Reflux Disease
“โรคกรดไหลย้อน” (Gastroesophageal reflux disease,GERD) ภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ส่งผลให้มีอาการระคายบริเวณลำคอ และแสบอกหรือจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ รวมทั้งมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย คล้าย ๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร
สาเหตุของการเกิดโรค
2.กระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง
อาหารคั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร ไม่ไหลลงลำไส้ เกิดแรงดันในกระเพาะอาหาร หูรูดหลอดอาหารเปิดออก อาหารและน้ำย่อยจึงย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร
3.หลอดอาหารบีบตัวผิดปกติ หรือปลายหลอดอาหารคลายตัว
ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นคอ แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว ขมคอ
1.หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างผิดปกติ
หูรูดหลอดอาหารเสื่อมสภาพ
4.เกิดจากปัจจัยอื่นๆ
โรคอ้วน ตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ชอบทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารรสจัด ทานอาหารเสร็จแล้วนอนทันที
กรดไหลย้อนระยะที่ 1
ระยะที่ 1 : ระยะเริ่มต้น มักเป็นโรคกระเพาะอาหารร่วมด้วย เพราะโรคกรดไหลย้อนเกิดจาก การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ไม่ทานอาหารเช้า ดื่มชา กาแฟมากจนเกินไป
การรักษา : ระยะนี้กรดไหลย้อน ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ครบทั้ง 3 มื้อ งดการทานอาหารรสจัด อาหารแปรรูป งดดื่มชา กาแฟ และ เครื่องดื่มสามารถทานยาสมุนไพรรักษากรดไหลย้อน เพื่อปรับน้ำย่อย เป็นการบำรุงภายในให้ดีขึ้นได้
ลักษณะอาการ: รู้สึกแสบท้อง มีลมในท้อง จุก แน่นหน้าอก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องแข็ง
กรดไหลย้อนระยะที่ 2
ระยะที่ 2 : ลำไส้ผิดปกติ เกิดจาก มีอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้จำนวนมาก เพราะระบบย่อยอาหารไม่ดี ระบบขับถ่ายผิดปกติ จุลินทรีย์ไม่ดี สะสมในร่างกายจำนวนมาก มีแก๊สในร่างกายเยอะ เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก
ลักษณะอาการ : มีกรดไหลย้อนขึ้นคอ อาการจุก เสียด แสบกลางอก เรอเปรี้ยว ขมคอ แสบท้อง มีลม มีแก๊สในท้องมาก ท้องป่อง ท้องผูก มีกลิ่นปาก แน่นหน้าอก รวมไปถึงปวดตึง บ่า ไหล่ หายใจไม่สุด ร่วมด้วย
การรักษา : ระยะนี้ กรดไหลย้อน โดยเน้นปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นหลัก รวมไปถึงทานผัก ผลไม้ ให้มากขึ้น เพื่อให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น นอกจากนี้ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
กรดไหลย้อนระยะที่ 3
ลักษณะอาการ : เป็นกรดไหลย้อนบ่อย มีกรดไหลย้อนขึ้นคอ มีความอ่อนเพลีย หมดแรง ปวดศีรษะ หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มอิ่ม เพราะออกซิเจนลดน้อยลง หิวบ่อย ผิวพรรณไม่ผ่องใส มีอาการนอนหลับไม่สนิทร่วมด้วย
การรักษา : ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และ การใช้ชีวิต ควรรับประทานอาหารเช้าทุกวัน รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่นอนดึก ไม่เครียดจนเกินไป งดทานชา กาแฟ อาหารรสจัด
ระยะที่ 3 : สารอาหารในเลือดน้อยลง สามารถนำไปสู่อาการกรดไหลย้อนเรื้อรังได้ ระบบดูดซึมอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้สารอาหารในเลือดลดน้อยลง
การรักษา
(1) การรักษาที่สำคัญอยู่ที่ผู้ป่วยเอง
พฤติกรรมการบริโภค
พฤติกรรมการดำเนินชีวิต
การรักษาด้วยยา
ยาลดกรดในกลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม (Proton pump inhibitors)
การผ่าตัดซ่อมแซมหูรูด
การป้องกัน
1.ลดน้ำหนัก ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
2.2.หลีกเลี่ยง เครื่องดื่ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์ สุรา
3.ทานอาหารแล้ว ไม่ควรเข้านอนทันที ควรเว้นวรรค 2-3 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน
4.งดการสูบบุหรี่
5.ทานอาหารให้พอดี
6.ผ่อนคลายความเครียด
เอกสารอ้างอิง
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/44
https://www.atlanticcanadahealthcare.com
https://yaforyou.com
http://excellent.med.cmu.ac.th