Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพ การตรวจหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต, การตรวจทรวงอกและปอ…
การประเมินภาวะสุขภาพ
การตรวจหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ตำแหน่งของลิ้นหัวใจ
A.V.A (Aortic valvular area)
Rt. ICS 2 ชิดกับ sternum
P.V.A. (Pulmonic valvular area)
Lt. ICS 2 ชิดกับ sternum
T.V.A. (Tricuspid valvular area)
Lt. ICS 5 ชิดกับ sternum
M.V.A. (Mitral valvular area หรือ Apex) Lt. ICS 5 ตัดกับ MCL.
การดู
1.ดูลักษณะผนังทรวงอกว่าทั้ง 2 ข้างเหมือนกันไหม
ถ้ามี Bulging ที่ข้างซ้ายของ sternum แสดงว่ามี Right ventricular hypertrophy
2.ดู Apical impulse หรือ Apical beat
คือตำแหน่งที่หัวใจเต้นแรงสุด เรียกว่า
Point of maximum impulse : PMI
บางรายมองไม่เห็นเพราะผนังทรวงอกหนา ต้องใช้วิธีคลำ
3.Abnormal pulsation อื่น ๆ
ในบริเวณ Precordial area และ บริเวณคอทั้ง 2 ข้างเช่น Impulse จาก Aneurysm
การคลำ
1.คลำตำแหน่ง PMI โดยใช้ปลายนิ้วทั้ง 4 นิ้ว คลำตรงตำแหน่งที่หัวใจเต้นเเรงสุด จะมีแรงกระเเทก คนปกติจะอยู่ที่ rib คู่5 เป็นตำแหน่งของ Apex
2.คลำเพื่อตรวจอาการหัวใจโต เรียกว่า Ventricular heave
แรงขึ้น เพราะ Left ventricular hypertrophy , contractility
เปลี่ยนไปทางซ้ายเนื่องจาก
Rt. Pneumothorax , Lt. Atelectasis Cardiac dilatation
เปลี่ยนไปทางขวาเนื่องจาก
Lt.Pneumothorax , Rt. Atelectasis
3.การคลำ thrill
Murmurs ที่ดังมาก จนเกิดการสั่นสะเทือน ของ Chest wall
จะรู้สึกเหมือนมีคลื่นมากระทบ (Vibration sensation) ถูกที่ฝ่ามือ
ต้องคลำให้ทั่วทั้ง Precordial area ได้แก่
บริเวณลิ้นหัวใจทั้ง 4 โดยวางฝ่ามือบริเวณที่จะตรวจ
Systolic thrills
Diastolic thrills
การฟัง
ฟังบริเวณ Precordial area ทั้งหมด โดยฟังตำแหน่งลิ้นหัวใจทั้ง 4 แห่ง
ใช้ Stethoscope
ด้าน Bell – ฟังเสียงต่ำ (low pitch) โดยไม่ควรกดแน่น
ด้าน Diaphragm – ฟังเสียงสูง (high pitch) โดยกดให้แน่น
ขณะฟังต้องสังเกตสิ่งต่อไปนี้
ลักษณะของเสียง : เบา แรง พอดี
ความสม่ำเสมอ : จังหวะการเต้น
ความถี่ของเสียง : ช้าหรือเร็ว อัตราการเต้น นับเต็มนาที
การฟังเสียงหัวใจปกติ Normal heart sound
S เป็นเสียงที่เกิดจากการปิดของ mitral & tricuspid valveเกิดใน ช่วงหัวใจบีบตัว ฟังชัดที่สุดบริเวณ Apex
S เป็นเสียงที่เกิดจากการปิดของ pulmonic & aortic valve เกิดใน ช่วงหัวใจคลายตัว ฟังชัดบริเวณ pulmonic & aortic valve
การฟังเสียงฟู่ (Cardiac murmur) เป็นเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนขณะมีการไหลของเลือด ผ่านรูเปิดของลิ้นหัวใจ หรือเส้นเลือดที่มีความผิดปกติ
Systolic murmur : เกิดระหว่างเสียง S และเสียง S
โดยเกิดพร้อมกับการเต้นของชีพจรที่คอ
Diastolic murmur : เกิดระหว่างเสียง S และเสียง S
โดยเกิดหลังการเต้นของชีพจรที่คอ
ความดังของ murmur และตำแหน่งที่ได้ยินเสียงชัดที่สุด
จะบอกได้ว่าพยาธิสภาพอยู่ที่บริเวณใด แต่ไม่ได้บอกความรุนแรง มี 6 ระดับ
Grade 2 : เสียงเบา แต่ฟังได้ยินทันทีที่แตะหูฟังบนผนังทรวงอก
Grade 3 : เสียงดังปานกลาง แต่ยังคลำไม่ได้ thrill
Grade 4 : เสียงดังมากขึ้น และเริ่มคลำ thrill ได้
Grade 5 : เสียงดังมาก แตะหูฟังไม่สนิทก็ได้ยินและคลำได้ thrill และ heaving
Grade 1 : เสียงเบามาก ฟังยาก ต้องตั้งใจฟัง อาจพลาดได้
Grade 6 : เสียงดังมากที่สุด อาจฟังได้ โดยไม่ต้องใช้ Stethoscope
ในการตรวจหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
มีความสัมพันธ์ กับการตรวจร่างกายส่วนอื่นๆที่สำคัญดังนี้
การตรวจทั่วไป ได้แก่ การหายใจ สีผิว และอาการบวม ตามส่วนต่างๆ
การตรวจชีพจรในตำแหน่งต่างๆ การเต้นของเส้นเลือดดำ ว่ามีการโป่งพองหรือไม่
การวัดความดันโลหิต
การตรวจหัวใจ
การตรวจทรวงอกและปอด (Thorax / Chest & Lung
ตรวจเพื่อประเมินการทำหน้าที่ของอวัยวะและส่วนประกอบของทรวงอก ได้แก่
ผิวหนัง เต้านม กล้ามเนื้อ กระดูกหน้าอกและกระดูกซี่โครง
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจได้แก่ หลอดลม ปอด
หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ตำแหน่งที่สำคัญบริเวณทรวงอก
Angle of Louis หรือ Sternal angle หรือ Manubriosternal junction
เป็นมุมที่คลำได้ชัดเจนมาก
เป็นประโยชน์ในการนับกระดูกซี่โครง (Rib)
และช่องว่างระหว่างกระดูกซี่โครง (Intercostal space: ICS)
Spinous process of T
ใช้ในการนับ rib และกระดุกสันหลัง
ก้มคอเต็มที่ จะคลำเจอกระดูกที่โปนที่สุด 2 ปุ่มคือ
ปุ่มบน คือ Spinous process ของ C
ปุ่มล่าง คือ spinous process ของ T
Inferior angle of scapula
เป็นตำแหน่งที่ตรงกับกระดูกซี่โครงที่ 7
เส้นสมมติ (Imagination line)
ใช้เปรียบเทียบ บอกตำแหน่งของ สิ่งที่ตรวจพบ บนทรวงอก ได้แก่
Midsternal line
Midclavicular line
Anterior axillary line
การดู
1.ผิวหนังทรวงอก มีผื่น แผล
2.ขนาดและรูปร่างทรวงอก
Pigeon chest อกไก่
Funnel chest อกบุ๋ม
3.ลักษณะเต้านม หัวนม
4.การเคลื่อนไหวของทรวงอกตอนหายใจ
การคลำ
1.ตำแหน่งของหลอดลมทำได้ 2 วิธีดังนี้
1.1 ผู้ป่วยนั่งก้มคอมาข้างหน้าเล็กน้อย ผู้ตรวจใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางกดไปบน suprasternal notch
โดยให้นิ้วอยู่แต่ละข้างของหลอดลม เปรียบเทียบความรู้สึกว่าช่องว่าง ระหว่างหลอดลมกับ Sternocleidomastoid ทั้ง 2 ข้างเท่ากันหรือไม่
1.2 ผู้ป่วยนั่งหน้าตรง ผู้ตรวจใช้นิ้วคลำหาจุดกึ่งกลางของ Suprasternal notch และเคลื่อนนิ้วเข้าหา Trachea สังเกตว่า สัมผัสได้ที่จุดกึ่งกลางหรือไม่
การขยายตัวของปอด (Lung expansion)
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึก ๆ สังเกตความแตกต่างของ การเคลื่อนที่ของนิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง
3.การคลำเสียงสะท้อน
(Tactile fremitus or Vocal fremitus)
วิธีตรวจ : ใช้ฝ่ามือหรือสันมือวางบนผนังอกด้านหลัง ตำแหน่งที่ตรงกันทั้ง 2 ข้าง จากบนลงล่างหรือล่างขึ้นบนก็ได้ แล้วให้ ผู้ป่วยนับ 1-2-3 จะสัมผัสถึงความรู้สึกสั่นสะเทือนที่เกิดจากเสียง เปรียบเทียบกันทั้ง 2 ข้าง
ถ้าคลำเสียงสะท้อนได้เบากว่าอีกข้างหนึ่ง แสดงว่าปอดข้างนั้น แฟบหรือมีสิ่งอุดกั้นในหลอดลมข้างนั้น เช่น น้า หนอง หรือลมในโพรง เยื่อหุ้มปอดข้างนั้น
การคลำตาแหน่งที่กดเจ็บ
เช่น Costochondral junction และตำแหน่งอื่นๆ
การเคาะ
เคาะปอด โดยเริ่มจากกระดูกไหปลาร้าแต่ละข้าง ไล่ลงมาทีละช่อง ของกระดูกซี่โครงทั้ง 2 ข้าง ปกติเสียงก้อง (Resonance)
ลำดับการเคาะ เริ่มดังนี้
เคาะปอด โดยเริ่มจากกระดูกไหปลาร้าแต่ละข้าง ไล่ลงมาทีละช่อง ของกระดูกซี่โครงท้ัง 2 ข้าง ปกติจะได้ยินเสียงก้อง (Resonance)
เคาะบริเวณยอดปอด โดยให้ผู้ป่วยนั่ง ผู้ตรวจหันหน้าเข้าหาผู้ป่วย เคาะลงบน Supraclavicular fossa ทั้งข้างซ้ายและขวา
เคาะปอดด้านหลัง เริ่มเคาะจาก ด้านบน ลงมาด้านล่างทีละช่อง ซี่โครง
ปกติเสียง Resonance จะเริ่มสิ้นสุด ราวระดับ Left rib 9th และ Right rib 8th
การแปลผล
Flatness
พบใน Hydrothorax, Pleural effusion ลักษณะเหมือนเสียงที่เกิดจากเคาะบริเวณต้นขา
Dullness
พบใน Pneumonia, Pul. TB, Atelectasis ลักษณะเหมือนเสียงที่เกิดจากการเคาะตับ หรือเสียงทึบ
Tympany
พบใน Pneumothorax เป็นเสียงโปร่ง เหมือนเสียงที่เกิดจากการเคาะหน้าท้องที่มีแก๊สมาก
Resonance
เป็นเสียงที่เกิดจากการเคาะปอดที่ปกติหรือเสียงก้อง Hyper – resonanceเสียงก้องมาก พบในภาวะ Emphysema
การฟัง
หลักการตรวจ
อ้าปากเล้กน้อย และหายใจเข้าออกลึกๆ
ฟังทรวงอกด้วยด้าน diaphragm
การหายใจเข้า – ออก โดยเปรียบเทียบกับอีกด้านหนึ่งในตาแหน่งเดียวกัน
เสียงที่ฟังประกอบด้วย
การฟังเสียงหายใจปกติ ( Normal breath sound ) ประกอบด้วย
Tracheal / Bronchial breath sound บริเวณคอ ตาแหน่งของ Trachea และ bronchus (หายใจเข้าสั้น – ออกยาว)
Bronchovesicular breath sound บริเวณรอบ manubrium 1st., 2nd. Intercostal space ด้านหน้า และ interscapula area ด้านหลัง (หายใจเข้า – ออก เท่า ๆ กัน)
Vesicular breath sound บริเวณชายปอดทั้ง 2 ข้าง (หายใจเข้ายาว – ออกสั้น)
การฟังเสียงพูด ให้ผู้ป่วยนับ 1-2-3 สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเสียง กรณีที่มีสิ่งมากั้นระหว่างเนื้อปอดกับผนังทรวงอก เช่น Pleural effusion, pneumothorax, pleural mass, atelectasis เสียงพูดจะเบาลง
การฟังเสียงผิดปกติ ( Adventitious sound ) แบ่งเป็น
Rhonchi and Wheezing
ป็นเสียงที่เกิดจากการสั่นของ หลอดลม ในขณะที่มีลมวิ่งผ่านหลอดลมที่ตีบแคบ พบใน Asthma, COPD, CHF
Crepitation or crackle
เป็นเสียงที่ไม่ต่อเนื่อง เกิดจากลม
หายใจ ผ่าน secretion ที่ Terminal bronchiole และ alveoli ได้ยินชัดช่วง หายใจเข้า มี 3 ระดับคือ Fine, medium, coarse