Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวัดประเมินผลการเรียนรู้, นาย มูหัมหมัด หะมะ รหัสประจำตัว 736496023 -…
การวัดประเมินผลการเรียนรู้
แนวคิดพื้นฐาน
ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes): ข้อความระบุความรู้-K ทักษะ-S ความสามารถ-A และคุณลักษณะอื่นๆ-O ที่สำคัญจำเป็นของรายวิชา (Course outcomes) ในหลักสูตร/โปรแกรมวิชา (Program outcomes) ที่ผู้เรียนจะต้องมีเมื่อเรียนรู้จบรายวิชาหรือหลักสูตร
ผลลัพธ์ (Outcomes): ข้อความที่กล่าวค่อนข้างเจาะจงถึงเป้าหมายปลายทางของรายวิชาและหลักสูตรที่คาดหวังให้ผู้เรียนมีและแสดงผลออกมา
การศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ Outcome Based Education (OBE) เป็นระบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นผลลัพธ์ ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่าบุคคลทุกคนสามารถทำได้
วัตถุประสงค์ (Objectives): ข้อความเจาะจงมากที่บรรยายไว้อย่างชัดแจ้งว่าผู้เรียนจะรู้และสามารถทำอะไรบ้างเมื่อเรียนจบรายวิชา
สมรรถนะ (Competency): ข้อความทั่วไปที่ระบุ
ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ/พฤติกรรมของผู้เรียนที่เรียนจบจากรายวิชา หรือโปรแกรมวิชา (หลักสูตร)
ด้านคุณธรรม จริยธรรม
ด้านความรู้
ด้านทักษะทางปัญญา
ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวทางการวัดประเมินผลการเรียนรู้
ด้านพุทธิพิสัย
(Cognitive Outcomes)
เครื่องมือ/วิธีการ
การวัดประเมินภาคปฏิบัติ (Performance assessments)
การใช้แฟ้มแสดงหลักฐานการเรียนรู้ (Portfolio assessment)
แบบทดสอบ
มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย
สามารถสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลขและใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ
สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ และใช้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการแก้ปัญหา
มีความรู้ความเข้าใจ วิเคราะห์และจำแนก ข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ
ด้านจิตพิสัย
(Affective Outcomes)
เครื่องมือ/วิธีการ
การสังเกตของอาจารย์
การประเมินโดยกลุ่มเพื่อน
การรายงานตนเอง
การใช้แฟ้มสะสมงาน
มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย
มีการพัฒนานิสัยและปฏิบัติตนตามศีลธรรม
มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม/สังคม
อ
มีความประพฤติอย่างมีคุณธรรม/จริยธรรม
มีความสามารถปรับตนท่ามกลางความขัดแย้งทางค่านิยม
ด้านทักษะการปฏิบัติ
(Skill-Based Outcomes)
มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
ความสามารถในการใช้ตัวเลข (คณิตศาสตร์)ในชีวิตประจำวัน
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการดาเนินชีวิต
ความสามารถในการสื่อสาร: การใช้ภาษาไทยและการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
เครื่องมือ/วิธีการ
แบบทดสอบมาตรฐาน
การวัดภาคปฏิบัติ
. แบบทดสอบมาตรฐาน (การฟัง พูด อ่านและเขียน) เช่น
วิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้
กระบวนการวัดประเมิน เป็นกระบวนการซึ่งประกอบด้วยกระบวนการย่อย ได้แก่ การวัดผล (measurement) และการประเมินผล (assessment) ทั้งการวัดผลและประเมินผลมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก
การวัดประเมินการเรียนรู้ 3 ประเภทหลัก
Assessment for learning การประเมินเพื่อการเรียนรู้
Assessment as learning การประเมินเขณะเรียน
Assessment of learning การประเมินย่อย
นิยามคำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้อง
การวัด (Measurement) คือ การกำหนดตัวเลขเพื่อบ่งชี้ปริมาณคุณสมบัติหรือลักษณะของวัตถุหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่สนใจตามกฎเกณฑ์บางประการ
การทดสอบ (Testing) คือ กระบวนการหรือระบบของการวัดค่าเพื่อค้นหาสารสนเทศเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งที่สนใจ
การประเมินค่า (Evaluation) คือ การตัดสินคุณค่าและมูลค่าของบุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรือสิ่งใดๆ ที่สนใจตามการตีความข้อมูลสารสนเทศ (โดยเฉพาะข้อมูลสารสนเทศจากการวัดในรูปตัวเลข) ที่รวบรวมได้
การวัดประเมิน (Assessment) คือ กระบวนการรวบรวมและใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อประเมินค่าบุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรือสิ่งใดๆ ที่สนใจ
การวัดประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) คือ กระบวนการรวบรวมและประเมินค่าบุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรือสิ่งใดๆ ที่สนใจบนฐานข้อมูลสารสนเทศในสภาพการณ์จริง
การวัดประเมินการปฏิบัติ (Performance assessment) คือ การวัดประเมินกระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) ของการปฏิบัติที่สะท้อนความรู้ ทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะหรือพฤติกรรมของผู้เรียนที่สาธิตหรือแสดงออกมาให้เห็น
การวัดประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน (Portfolio assessment) คือ การวัดประเมินความรู้ ทักษะ ความสามารถ หรือคุณลักษณะของผู้เรียนจากข้อมูลหลักฐานที่บ่งชี้ความเพียรพยายาม ความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ที่เก็บรวบรวมและจัดเรียงอย่างเป็นระบบภายในระยะเวลาหนึ่งๆ
การวัดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (นิสิต/นักศึกษา) ตามกรอบมาตรฐาน TQF คือ การวัดประเมิน “ผลผลิตสุดท้าย” ของการเรียนรู้ที่อยู่ในรูปผลลัพธ์ (Outcomes) หรือสมรรถนะ (Competence) เปรียบเทียบกับเกณฑ์ตามกรอบมาตรฐานคุณภาพในการสัมฤทธิ์ผลที่คาดหวังว่าผู้เรียน (นิสิต/นักศึกษา) จะสามารถบรรลุได้
วิธีการเรียนการสอน
การเรียนรู้อิงประสบการณ์
การสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์
การสอนทางอ้อม
การสอนแบบอิสระ
(อิงฐานสมรรถนะ)
การสอนโดยตรง
การเลือกเครื่องมือ/วิธีการวัดประเมิน
การวัดประเมินผลแบบออนไลน์
โดยมีผู้คุมสอบ
โดยใช้แอป
Google
Zoom
นาย มูหัมหมัด หะมะ รหัสประจำตัว 736496023