Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก, กลุ่มหวานใจนายตาเดียว - Coggle…
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
1.ระดับก่อนกฎเกณฑ์อายุ 2 – 10 ปี หมายถึง การตัดสินใจเลือกกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตนเอง โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้อื่น
ขั้นที่ 1. การเชื่อฟังและการลงโทษ (obedience and punishment orientation) พฤติกรรม “ดี” คือ พฤติกรรมที่ทำแล้วได้รางวัล พฤติกรรม “ไม่ดี” คือพฤติกรรมที่ทำแล้งได้รับการลงโทษ
เช่น ยอมทำตามข้อตกลงกับที่บ้าน หรือที่โรงเรียน เนื่องจากกลัวครูดุหรือถูกตี
ขั้นที่ 2. กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตนเอง (instrumental relativist orientation) เด็กจะเชื่อฟังหรือทำตามผู้ใหญ่ ถ้าคิดว่าตนเองจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับความพึงพอใจ
เช่น การช่วยที่บ้านทำงานบ้านจะได้รับคำชมเชยหรือค่าขนม
ระดับตามกฎเกณฑ์อายุ 10 – 16 ปี หมายถึง การทำตามกฎเกณฑ์ของกลุ่มย่อย ๆ ของตน ซึ่งจะมีผลต่อเหตุผลเชิงจริยธรรมของเด็ก
ขั้นที่ 3. หลักการทำตามผู้อื่นเห็นชอบ (good boy nice girl orientation ) อายุ 9-13 ปี เป็นการทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อจะได้รับการยอมรับว่าเป็นเด็กดี
เช่น การโดดเรียนตามเพื่อน
ขั้นที่ 4. หลักการทำตามกฎระเบียบสังคม (Law and order orientation) อายุ 14-20 ปี เป็นขั้นที่ยอมรับในอำนาจและกฎเกณฑ์ของสังคม พร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
เช่น การปฏิบัติตามกฎของโรงเรียน
3.ระดับเหนือกฎเกณฑ์อายุ 16 ปีขึ้นไป บุคคลจะตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดตามความคิดและเหตุผลของตน ที่เห็นว่าเหมาะสมแล้ว
ขั้นที่ 5. หลักการทำตามสัญญาสังคม (social contract orientation) เป็นขั้นที่เน้นความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมควรปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิซึ่งกันและกัน ในขั้นนี้สิ่ง ถูก-ผิด จะขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
เช่น การยอมรับฟังเสียงของคนอื่น การทำตามสัญญา
ขั้นที่ 6. หลักการทางจริยธรรมที่เป็นสากล (universal ethical principle orientation) ขั้นนี้เป็นขั้นที่แต่ละบุคคลเลือกที่จะปฏิบัติตามหลักการทางจริยธรรมด้วยตัวของมันเอง และเมื่อเลือกแล้วก็ปฏิบัติอย่างคงเส้นคงวา เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชน และเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน
เช่น มีหิริโอตตัปปะ คือ มีความละอายใจและเกรงกลัวการทำบาป
ความเป็นมาของทฤษฎี
ได้ศึกษาพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวเพียร์เจท์
พบว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์นั้นไม่ได้บรรลุจุดสมบูรณ์เมื่ออายุ 10 ปี แต่จะพัฒนาไปอีกหลายขั้นตอนจาก 11-25 ปี
โคลเบิร์กเชื่อว่า ในการวัดขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมนั้นจะต้องใช้การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมอย่างเดียวเท่านั้น
โคลเบิร์กเชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของคนจะเกิดเป็นลำดับขั้น โดยเริ่มจากขั้นแรกเสมอระยะเวลาในแต่ละลำดับขึ้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
เป็นผู้สนใจความประพฤติ ถูก-ผิด-ดี-ชั่วของมนุษย์
สิ่งที่ต่างจากเพียเจท์ คือ โคลเบิร์กได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไป
การประยุกต์ใช้
ทำให้ครูทราบว่าในแต่ละช่วงวัยเด็กจะสามารถเรียนด้านจริยธรรมได้จากด้านใด
เช่น ในช่วงก่อน 10 ขวบ เด็กจะเรียนด้านจริยธรรมจากผลของการกระทำของตน ครูควรชี้แจงสิ่งที่ถูก และชมเด็กเมื่อทำดี ตักเตือนเมื่อทำผิด
กลุ่มหวานใจนายตาเดียว