Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
SCRUB TYPHUS โรคไข้สาดใหญ่, image, image, image, image, image, image,…
SCRUB TYPHUS
โรคไข้สาดใหญ่
พยาธิสภาพ
สาเหตุของ Scrub Typhus เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม ริกเก็ตเซีย (Rickettsia) ชื่อว่า โอเรียนเทีย ซูซูกามูชิ (Orientia Tsutsugamushi) โดยมีตัวไรอ่อน (Chigger) เป็นพาหะนำเชื้อดังกล่าวมาสู่คน ด้วยการกัดผิวหนังของคน ซึ่งตัวไรอ่อนชนิดนี้มักจะพบบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ โดยเฉพาะบริเวณป่าปิด พุ่มไม้ หรือทุ่งหญ้าใน ป่าละเมาะ และมักพบการติดเชื้อมากในช่วงหน้าฝน
เชื้อ O. tsutsugamushi เข้าสู่ Plasma membreane ของ Mammalian cell โดยขบวนการ
Attachment และ Phagocytosis และจะหลุดจาก Phagosme อยู่อย่างอิสระและแบ่งตัวใน Cytoplasm
ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิด cell injury มีเชื้อบางตวัเข้าสู่ Mestothelial cell ในเส้นเลือดขนาดเล็กและเกิด
Vasculitis ได้ทั่วร่างกายความรุนแรงของเชื้อขึ้นอยู่กับ ตัวเชื้อและภูมิต้านทานของ Host Humoral antibody
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากมีไข้สูง ปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
2.เสี่ยงต่อภาวะปอดอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อ
3.ได้รับสารอาหารและสารน้ําไม่เพียงพอกับความตองการของร่างกาย
เนื่องจากมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
4.ไม่สุขสบายเนื่องจากมีผื่นคันตามร่างกาย
อาการและอาการแสดง
ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenopathy) ใกล้บริเวณ Eschar
มีแผลคล้ายถูกบุหรี่จี้ (Eschar) นานประมาณ 6-18 วัน
มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตาแดง (Conjunctival injection)
Maculopupular rash ผื่นนูนตามร่างกายและแขนขา
ภาวะแทรกซ้อน
ปอดอักเสบ มีอาการไอแห้ง หอบเหนื่อยและอาจพบภาวะ Adult respiratory distress
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
เยื่อหุ้มสมอง/สมอง/เส้นประสาทอักเสบ
การทำงานของตับผิดปกติ
ไตวาย
คลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยากรับประทานอาหาร
การวินิจฉัยของโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจทางน้ำเหลือง (Serological Test) Weil-Felix OX-K ให้ผลบวก titer ≧ 1:320
การตรวจ Indirect Immunofluorescence Antibody : IFA
การตรวจ Complement-Fixation เป็นการตรวจทางภูมิคุ้มกันโดยการเอาน้ำเหลืองหรือตัวเชื้อริคเกทเชีย มาทำการวินิจฉัยโรค โดยอาศัยหลักการ 2 อย่าง คือ Antigent กับ Antibody ทำปฏิกิริยากัน
การวินิจฉัยด้วยเทคนิค Polymerase Chain Reaction:PCR เป็นวิธีที่ใช้ตรวจหาเชื้อโดยการนำตัวอย่างเนื้อเยื่อของผื่นที่ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง หรือเลือดไปตรวจ :
การซักประวัติ
การเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค และสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับตนเอง
เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาผู้ป่วยมีประวัติถูกเห็บหรือไรกัดหรือไม่ และมีไข้ ปวดศีรษะมาก ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโตหรือมีผื่น รวมทั้งไข้สูงเกินหนึ่งสัปดาห์
การรักษา
Doxycyclin 100 mg iv drip q 12 hrs. กรณีรุนแรง
Doxycyclin 100 mg oral bid q 7 day. กรณีไม่รุนแรง
Tetracyclin 500 mg วันละ 2 คร้ัง
กิจกรรมการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 4
แนะนำผู้ป่วยและญาติทำความสะอาดร่างกายเพื่อให้ผิวหนังสะอาด เช็ดให้แห้งและใส่เสื้อผ้าที่อ่อนนุ่ม เพื่อลดการระคายเคือง
แนะนำให้ผู้ป่วยตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการเกิดแผลจากการเกาบริเวณที่คัน
ดูแลให้ได้รับยา Doxycyclin 100 mg ivdrip q 12 hrs. ตามแผนการรักษา และติดตามผลข้างเคียงของยา ได้แก่ ง่วงนอน ปากแห้ง คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ
ประเมิณลักษณะจำนวนผื่น อาการคัน ถ้าเพิ่มมากขึ้นรายงานแพทย์รับทราบเพื่อพิจารณารักษาต่อไป
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1
ตรวจวัดสัญญาณชีพผู้ป่วยทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมิณอาการของไข้
เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาอย่างนุ่มนวลเนื่องจากน้ำจะช่วยพาความร้อนออกจากร่างกายทางผิวหนังทำให้อุณหภูมิลดลงและทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำชดเชยอย่างเพียงพอ คือให้ดื่มน้ำ 2,500-3,000 ml/day เพื่อเป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนในสิ่งแวดล้อมที่สงบเงียบ เนื่องจากเป็นการลดอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ ลดการทำงานของ
กล้ามเนื้อ เป็นการลดการผลิตความร้อน ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์และติดตามอาการผลข้างเคียงของยา
ดูแลผู้ป่วยไม่ให้ห่มผ้าหนาเกินไปเพราะจะทำให้การระบายอากาศไม่ดี
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ WBC Neutrophil Lymphocyte
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2
ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีของการติดเชื้อแบคทีเรียตามแผนการรักษา
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
แนะนำผู้ป่วยให้ดูแลตนเองให้แข็งแรงด้วยการรับ
ประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
ให้ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ
ให้ยาแก้ไอและขับเสมหะตามแผนการรักษา
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3
ประเมินความสามารถในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยได้แก่ ความรู้สึกอยากอาหาร อาการคลื่นไส้อาเจียน การเคลื่อนไหวของลําไส้ เพื่อวางแผนให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วย
ดูแลให้ได้รับอาหารครบทุกหมู่โดยจัดอาหารอย่างง่ายรสไม่จัด เพื่อลดการระคาย
เคืองกระเพาะอาหารและจดหาอาหารที่ผู้ป่วยชอบรับประทาน
ดูแลสุขภาพปากและฟันโดยให้ผู้ป่วยบ้วนปากด้วยน้ำหรือน้ำเกลือเพื่อลดการระ
คายเคืองในปากและลดอาการคลื่นไส้ ส่งเสริมให้รับประทานอาหารได้ดีขึ้น
กระตุ้นให้ดื่มน้ําผลไม้หรือเกลือแร่แทนน้ำเปล่าเพื่อลดภาวะเสียสมดุลของเกลือ
แร่ในร่างกาย
เตรียมภาชนะรองรับและน้ำอุ่นไว้สําหรับบ้วนปาก เพื่อความสะดวกหากผู้ป่วยอาเจียน
สามารถหยิบใช้ได้ทันที
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาแก้อาเจียน Motilium 1 เม็ดวันละ 3 เวลา ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงเพื่อลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ดูแลให้ผู้ปวยได้รับสารละลาย 5 % D/NSS 1000 มิลลิลิตร หยดเข้าทางหลอดเลือดดําตามแผนการรกษา เพื่อป้องกันภาวะขาดนาและเกลือแร่