Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย SE64 4/9, แนวทางการพัฒนา - Coggle Diagram
ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย SE64 4/9
1.พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2562 ฉบับที่ 2
ความหมายของการบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยว
การจัดสร้างพัฒนาและปรับปรุง แหล่งท่องเที่ยว การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว การรักษาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว การพัฒนาบริการท่องเที่ยว การพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยว การสร้างและเผยแพร่ องค์ความรู้ทางการท่องเที่ยว การสร้างสินค้าทางการท่องเที่ยว การรักษาความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว หรือการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงหลักการการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ตลอดจนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอันเป็นการสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
มาตรา 5
ให้มีคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า“ท.ท.ช.”ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นรองประธานกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินเจ็ดคน เป็นกรรมการ
มาตรา 10 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1) กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเสนอคณะรัฐมนตร
2) จัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
3) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการจัดทำความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการท่องเที่ยว
4) กำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมการบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยว
5) ดำเนินการหรือจัดให้มีการกำหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยว
6) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว รวมทั้งกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามแผนดังกล่าว
7) ประกาศกำหนดและจัดให้มีการรับรองมาตรฐานเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวหรือ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
8) กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและเร่งรัดการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติการให้เป็นไปตา แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว และมาตรการเพื่อส่งเสริมการบริหาร และพัฒนาการท่องเที่ยว
9) รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีมติยับยั้งการด าเนินการของหน่วยงานใดที่ไม่เป็นไปตาม แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว และมาตรการเพื่อส่งเสริม การบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยว
11) กำกับดูแลการบริหารจัดการกองทุน
มาตรา 17
เพื่อประโยชน์ในการรักษาฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวหรือการบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ คณะกรรมการอาจกำหนดให้เขตพื้นที่ใดเป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยวได้ โดยพิจารณาร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและผู้ว่าราชการจังหวัด ในเขตพื้นที่ ทั้งนี้ ให้มีการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของชุมชนในพื้นที่เพื่อประกอบ การพิจารณาด้วย เขตพัฒนาการท่องเที่ยวตามวรรคหนึ่งจะกำหนดเป็นกลุ่มจังหวัด จังหวัดหรือพื้นที่เฉพาะก็ได้ โดยให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและระบุชื่อของเขตพัฒนาการท่องเที่ยวและในกรณีจำเป็นให้มีแผนที่สังเขปแสดงแนวเขตแนบท้ายประกาศด้วย การเปลี่ยนแปลงแนวเขตหรือการเพิกถอนเขตพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 22
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในสำนักงานเรียกว่า“กองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย”มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการพัฒนาการท่องเที่ยว การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยว การพัฒนาทักษะด้านการบริหาร การตลาด หรือการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยวในชุมชน การดูแลรักษาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว การส่งเสริมสินค้าทางการท่องเที่ยวใหม่ ๆในท้องถิ่น รวมทั้งการจัดให้มีการประกันภัยแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในระหว่างท่องเที่ยวภายในประเทศ
มาตรา 18
เมื่อมีการประกาศกำหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยวใด ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการประจำเขตดังกล่าวขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่า“คณะกรรมการ พัฒนาการท่องเที่ยว” ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิ รวมกันจำนวนไม่เกินสามสิบคน โดยมีสัดส่วนของผู้แทนภาครัฐและผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ใกล้เคียงกันเป็นกรรมการ
และผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นกรรมการและเลขานุการ
รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวได้ การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวและที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยว และการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ประกาศกำหนด ”
2.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาภาคบริการและการท่องเที่ยว
พัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ โดยมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้
ส่งเสริมการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวให้มีความทันสมัย จัดทำและบังคับใช้
มาตรฐานด้านการท่องเที่ยว
ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว
แผนงานพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวหลักและแหล่งท่องเที่ยวรองของประเทศ
ระบบนิเวศและการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวที่ยังขาดประสิทธิภาพส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวหลักที่ได้รับความนิยมและแหล่งท่องเที่ยวรองที่เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างเกิดความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วจากการเติบโตที่ขาดความตระหนักถึงความสมดุลระหว่างแหล่งท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่
แผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยวรายสาขา
อาทิ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวทางน้ำและทางรถไฟ
แผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงกลุ่มพื้นที่และเมืองรองที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว จึงได้ออกกฎกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการกำหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยว ๕ เขต ได้แก่ เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา และเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้
แผนงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มนุษย์สร้างขึ้น
เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว จึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาแหล่ง
ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มนุษย์สร้างขึ้น
โครงการศึกษาแนวทางการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้เป็นไปตาม
ขีดความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศ
แหล่งท่องเที่ยวจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่เชิงอนุรักษ์กำลังประสบปัญหาจากความแออัดของนักท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิปัญหา คราบน้ำมันจากเรือโดยสาร ปัญหาการจัดการขยะจำนวนมาก
แผนงานพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและยกระดับผู้ประกอบการ
เพื่อให้บุคลากรด้านการท่องเที่ยวภาครัฐมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการการท่องเที่ยว
กรอบระยะเวลาด าเนินการ ๕ ปี(พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
๓.แนวทางการพัฒนาที่มีความสำคัญสูงและสามารถผลัดดันสู่การปฏิบัติ
๓.๔ ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
๓.๔.๓ ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงขีดความสามารถในการรองรับระบบนิเวศ
พัฒนาและยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติของไทยสู่สากล โดยควบคุมการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างเหมาะสม พัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะระบบการจัดการขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสีย ปรับใช้มาตรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่มีระบบนิเวศที่เปราะบาง พัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้จากการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเล หมู่เกาะ รวมทั้งอุทยานแห่งชาติ ให้เหมาะสมสำหรับใช้ในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอย่างยั่งยืน ส่งเสริมแนวคิดการสร้างรายได้จากการอนุรักษ์ โดยพัฒนาขีดความสามารถและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนและการท่องเที่ยวธรรมชาติกับการอนุรักษ์ทรัพยากร การสืบทอดอัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ชีวภาพของท้องถิ่นด้วย
กรอบระยะเวลาดำเนินการ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)
หน่วยงานดำเนินงานหลัก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ รวมทั้งการติดตามประเมินผลโดยคณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด
หน่วยงานที่ดูแล
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ ๙ การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
การพัฒนาภาคเพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กระจายตัวอย่างทั่วถึง
๒. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ :
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประเพณีวัฒนธรรมในทุกพื้นที่ ท่องเที่ยวอารยธรรมขอมในพื้นที่
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
พัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
สาระสำคัญ ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงประเพณีวัฒนธรรม อารยธรรมขอม ยุคก่อนประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
และกีฬาสู่นานาชาต
๔. ภาคใต้:
สนับสนุนให้จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นแหล่ง
สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่คำนึงถึงขีดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่
ส่งเสริมและพัฒนาการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติในพื้นที่
ภาคใต้ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย และแหล่งท่องเที่ยวบนบกบริเวณพื้นที่ตอนในที่มีศักยภาพสูงแห่งใหม่
ในจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
สาระสำคัญ ยกระดับรายได้จากการท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว
สู่พื้นที่เชื่อมโยงรวมทั้งชุมชนและท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
๑. ภาคเหนือ :
โครงการพัฒนากลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค
๑)สาระสำคัญ : ยกระดับกิจกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาให้มีอัตลักษณ์และ
ความยั่งยืน
๒) หน่วยงานด าเนินการหลัก กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และส านักงาน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ภาคเหนือ) และส านักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด
๓) กรอบระยะเวลาด าเนินการ ๕ ปี(พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)
สาระสำคัญ พัฒนาการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและความยั่งยืน มีธุรกิจบริการต่อเนื่องกับการท่องเที่ยวบริการ
สุขภาพและการศึกษาที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม
๓. ภาคกลาง :
พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลนานาชาติในจังหวัดชลบุรีเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์
ให้เป็นฐานการกระจายรายได้และการสร้างงาน
ฟื้นฟูและปรับปรุงการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรีจันทบุรี
และตราด ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชิงเกษตรเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวโดยชุมชน
สนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี
ชัยนาท และกาญจนบุรี ให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และเกษตร
ฟื้นฟูและอนุรักษ์การท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้วให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
อารยธรรมขอม
สาระสำคัญ ปรับปรุงมาตรฐานสินค้าและธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและภาพลักษณ์ที่ได้
มาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มศักยภาพของภาคกลางให้เป็นศูนย์รวมการท่องเที่ยวของเอเชียที่มีชื่อเสียงและเป็นที่
รู้จักในระดับนานาชาติ
พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดน พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดนเป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้เจริญเติบโต
อย่างยั่งยืนและเกิดผลที่เป็นรูปธรรม
แนวทางการ พัฒนาสนับสนุนและยกระดับการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยพัฒนากิจกรรมด้านการผลิต การค้า โลจิสติกส์การบริการ และการท่องเที่ยวให้สอดรับกับความได้เปรียบของแต่ละพื้นที
ยุทธศาสตร์ที่ ๑๐ ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา
แนวทางการพัฒนา
ขยายความร่วมมือทางการค้า และการลงทุนกับมิตรประเทศ และแสวงหาตลาดใหม่สำหรับสินค้า
และบริการของไทย
พัฒนาความเชื่อมโยมด้านดารคมนาคมขนส่ง โลจิสติกส์ และโทรคมนาคมในกรอบความร่วมมือ อนุภูมิภาคภายใต้แผนงาน GMS , ACMECS , IMT-GT , BIMSTEC และ JDS และภูมิภาคอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนด้านโลจิสติก
แผนงานและโครงการสำคัญ
แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS)
มุ่งเน้นการอำนวยความ
สะดวกการขนส่งสินค้าข้ามแดนเพื่อเพิ่มศักยภาพขของภาคเอกชนไทยในการจัดการด้านโลจิสติกส์และสนับสนุนการ
เชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตอุตสาหกรรมเกษตรของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน มุ่งพัฒนาศักยภาพและฝีมือแรงงาน
ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลาง
ด้านท่องเที่ยวในภูมิภาค
หน่วยงานดำเนินการหลัก
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร
และอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
และกระทรวงพาณิชย์
กรอบระยะเวลาดำเนินการ
พ.ศ. 2560 - 2564
แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย (IMT-GT)
การค้าและการลงทุน
ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีแผนงานพัฒนาสำคัญๆในพื้นที่ ให้กลายเป็นฐานการผลิตเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายห่วงโซ่การผลิตระหว่างกัน การเป็นคลัสเตอร์การผลิตร่วมกันเพื่อให้เป็นประโยชน์ร่วมกันในการ
กระจายโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมไปสู่พื้นที่ชายแดน
หน่วยงานดำเนินการหลัก
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสานักงานสถิติแห่งชาติ
กรอบระยะเวลาดำเนินการ
พ.ศ.2559- 2564
การท่องเที่ยว
มุ่งเน้นการดึงศักยภาพและพัฒนาการแหล่งท่องเที่ยวในลักษณะที่มีการเชื่อมโยงกับ
ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวร่วมกัน
พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิด
ความภาคภูมิใจในความเป็นมาในอดีตและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติร่วมกัน
หน่วยงานดำเนินการหลัก
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กรอบระยะเวลาดำเนินการ
พ.ศ.2559 - 2564
3.แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2561-2580 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ให้ไทยไปไทยบรรลุไปถึงวิสัยทัศน์ "ประเทศไทย มีความมั่นคง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง" กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้รับนโยบายและรับคำสั่งจากคสช.
สร้างความหลายด้านการท่องเที่ยว รักษาจุดหมายสำคัญของการท่องเที่ยวคือ ดึงดูุดและเพิ่มสัดส่วนนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง พัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวด้วยอัตลักษณ์การเป็นไทย ให้สอดคล้องกับทิศทางตลาดยุคใหม่ สนับสนุนการท่องเที่ยวระยะยาว เพื่อกระจายโอกาสสร้างรายได้ไปสู่ชุมชนและสังคมเมือง
ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม
สร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและบริการการท่องเที่ยว มุ่งเน้นการใช้องค์กรความรู้และนวัตกรรม ผนวกกับจุดแข็งในด้านความหลากหลายทางทรัพยาธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต เพื่อสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่ตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว และสร้างทางเลือกของประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ
สร้างแรงดึงดูดและสิ่งจูงใจให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ โดยส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของโลก เนื่องจากไทยมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ที่เหมาะแก่การเดินทางเพื่อประกอบธุรกิจและการท่องเที่ยว ทั้งยังมีความพร้อมด้านการบริการที่เป็นเอกลักษณ์ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการระบบขนส่ง ระบบดิจิทัลเพื่อการติดต่อสื่อสาร เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งในการเดินทางเข้ามาเพื่อการประชุมและการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างกัน พร้อมทั้งส่งเสริมการขยายพื้นที่จุดหมายปลายทางของการจัดประชุมและนิทรรศการ และการพักผ่อนระหว่างประชุมจากเมืองหลักสู่เมืองอื่นที่มีศักยภาพของไทย รวมถึงสร้างพื้นที่หรือช่องทางการจัดแสดงผลงานรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการจัดแสดงผลงานจริงและในรูปแบบเสมือนจริงรวมถึงการส่งเสริมให้การพักผ่อนระหว่างการประชุมเป็นการจูงใจและต่อยอดการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมที่เน้นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนการสนับสนุนการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นที่ไทยมีศักยภาพและเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในพื้นที่อื่น เพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งรวมถึงการสร้างรูปแบบและจูงใจการเดินทางเข้ามาประกอบธุรกิจและการท่องเที่ยวด้วยการอำนวยความสะดวกและมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ พร้อมทั้งการสร้างความพร้อมของธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องในห่วงโซ่ธุรกิจ
ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์แผนไทย
ผสาน “ศาสตร์” และความชำนาญของการดูแลรักษาด้วยภูมิปัญญาไทย กับ “ศิลป์” และความละเอียดอ่อนในการให้บริการแบบไทย เพื่อดึงดูดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ โดยยกระดับมาตรฐานธุรกิจบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและการเสริมความงามสู่ตลาดระดับสูง โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเป็นเอกลักษณ์การให้บริการตามแบบความเป็นไทยที่โดดเด่นในระดับสากล พร้อมทั้งการสร้างความหลากหลายของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อมโยงกับกิจกรรมการท่องเที่ยวอื่น ๆ รวมถึงการยกระดับมาตรฐานธุรกิจบริการด้านการแพทย์ทางเลือก
ท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค
ยกระดับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงเส้นทาง การท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ประโยชน์จากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แผนการลงทุนพัฒนาโครงข่าย คมนาคมทั้งทางถนน ราง น้ำ และอากาศ และกรอบความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวภายในประเทศ อนุภูมิภาค และอาเซียน บนฐานอัตลักษณ์เดียวกัน เพื่อส่งเสริมให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวร่วมกัน อำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างประเทศ ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้สอดรับกับทิศทางและแนวโน้มของตลาดยุคใหม่
ท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ
ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสำราญทางทะเลและชายฝั่ง และเป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมลุ่มน้ำที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เนื่องจากไทยมีจุดเด่นด้านแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำที่สวยงามที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวผ่านการชื่นชมธรรมชาติส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสำราญทางทะเลและชายฝั่ง และเป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมลุ่มน้ำที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยการปรับบทบาทของท่าเรือในประเทศที่มีศักยภาพให้เป็นท่าเรือหลัก การมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของท่าเรือ มารีน่า และท่าเทียบเรือให้ได้มาตรฐาน และการบริหารจัดการท่าเรือทั้งในเรื่องความสะอาด และการจัดการความปลอดภัยของท่าเรือและมารีน่าที่ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการ
ท่องเที่ยวตามแม่น้ำลำคลองที่สำคัญ
4.Thailand 4.0
วิสัยทัศน์ของรัฐบาล นโยบาย Thailand 4.0
เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคการท่องเที่ยวไทย
การพัฒนาระบบ Tourism Intelligence Center (TIC)
บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวไทยจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
การบริหารจัดการข้อมูล การวางแผน และการจัดทำนโยบายพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของประเทศให้มีประสิทธิภาพ
ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เน้นการสร้างสรรค์ต่อยอดสิ่งที่ท้องถิ่นมีอยู่ เพื่อให้น่าสนใจเพิ่มขึ้น เช่น ติดไฟส่องสว่างโบราณสถาน, อาคารที่มีความสวยงามทางสถาปัตยกรรม เป็นต้น รวมถึงขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษามาร่วมคิดร่วมสร้าง ภายใต้หลักการต้องกระจายประโยชน์จากท่องเที่ยวคืนสู่ท้องถิ่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
เรื่องเดิมสู่มิติใหม่
คือ จากการมองท่องเที่ยวเป็นสินค้า (Product) ต้องปรับสู่การให้ คุณค่าแหล่งท่องเที่ยว (Place) จากการสร้างสัญลักษณ์ (Brand) เปลี่ยนสู่การสร้างอัตลักษณ์ (Identity) แทน เช่นเดียวกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจเดิมที่มุ่งแต่ กำไร (Profit) ก็จะเคลื่อนสู่การนำสิ่งที่ดีกลับคืนสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม (Purpose) ซึ่งหมายความว่าจะต้องเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญแต่ ราคา (Price) ไปมองที่ คุณค่า (Value) รวมถึงการเปลี่ยนจากเป้าหมายเชิงปริมาณนักท่องเที่ยว (Volume) ไปสู่การสร้างผลประโยชน์องค์รวม (Net Benefit) แทน
“ท่องเที่ยว 4.0” จะเน้นให้นักท่องเที่ยวมีประสบการณ์เข้าถึงวิถีไทยอย่างลึกซึ้ง “ท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้ง”บูรณาการทำงาน การใช้งบประมาณระหว่างฝ่ายสินค้ากับทุกฝ่ายทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของตลาดต่างประเทศ จะเน้นธีม Amazing Thailand โดยจะเน้นการสร้างคุณค่าจากประสบการณ์เข้าถึงเอกลักษณ์ชุมชนท้องถิ่นทั้งด้านแหล่งท่องเที่ยวและสินค้า อีกทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการเดินทางของตลาดทั้งในช่วงฤดูท่องเที่ยว ส่วนนอกฤดูการเดินทางท่องเที่ยวจะใช้ช่องทางสื่อโซเชียล กลุ่มบล็อกเกอร์ ในการสร้างจุดแข็ง
ททท.จะมุ่งไปสู่ยุค 4.0 จากนี้จะมุ่งสู่ 5 เรื่องหลัก คือ
1.การบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
3.การตลาดสมัยใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
4.การสร้างวิสาหกิจและสตาร์ทอัพด้านท่องเที่ยว บนพื้นฐานของนวัตกรรม
สร้างปัจจัยแวดล้อมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว
5.การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ กับหน่วยงานรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ในทุกส่วนของห่วงโซ่คุณค่าด้านท่องเที่ยว
แนวโน้ม
ลักษณะนักท่องเที่ยว ปีพ.ศ. 2573
กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการความเรียบง่าย (Simplicity searchers) พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
กลุ่มนี้จะต้องการอะไรที่เรียบง่าย มีการใช้บริการบริษัททัวร์นำเที่ยวเพื่อต้องการซื้อความสะดวกสบาย
กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีข้อผูกมัด (Obligation Meters) เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีจุดมุ่งหมายหลักในการทำกิจกรรม เช่นมาทำกิจกรรมหลักทางธุรกิจ หรือมาประชุม สัมมนากลุ่มนี้อาจจะรวมนักท่องเที่ยวและยังมีการเดินทางเพื่อมาทำกิจกรรมอื่นอีก เช่นมาทำงาน เทศงาน หรือมางานแต่งงานและจะมาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว หรืออยู่ใกล้เคียงสถานที่ที่ทำกิจกรรม
2.. กลุ่มนักท่องเที่ยวผู้ค้นหาความโดดเด่นในสังคม
กลุ่มนักท่องเที่ยวผู้ค้นหาความแตกต่างทางวัฒนธรรม
กลุ่มนักท่องเที่ยวผู้ตามหารางวัลแก่ชีวิต (Reward Hunters) เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ให้รางวัลกับตนเอง หลังจากทำงาน อาจจะมีการท่องเที่ยวแล้วหรูหรา (Luxury Products) หรือสันทนาการพักผ่อนคลาย เป็นต้น
ไทยแลนด์4.0” เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจหรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ที่เน้นเทคโนโลยี การสร้างสรรค์ และภาคบริการ ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
โดยรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในปี พ.ศ.2558
ภายหลังได้ถูกบรรจุไว้ในแผนสำคัญๆของประเทศ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
ในปีพ.ศ.2560-2564
แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในปี พ.ศ.2561-2580
5.แผนวิสาหกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฉบับทบทวน 2563-2564
ค่านิยมองค์กร
TAT'SPIRITS
Strategic Thinking:
คิดเชิงกลยุทธ์
Teamwork &Networking:การทํางานเป็นทีมและเครือข่าย
Innovation&Creativity:ปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์
Relation as Family:ความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง
Integrity & Honesty:จรรยาบรรณและความซื่อสัตย์
Personal Mastery:
เป็นมืออาชีพ
Service Minded:
จิตมุ่งบริการ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดทำแผนวิสาหกิจ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ฉบับทบทวน 2563-2564
ยุทธศาสตร์
1.1 สร้างสมดุลระหว่างกลุ่มเดินทางครั้งแรก (First Visit) และกลุ่มเดินทางซ้ำ (Revisit) )
1.2 สร้างสมดุลระหว่างนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ 1.3 กระจายการเดินทางในเชิงพื้นที่และเวลา
2.1 ขยายเวลาพำนักด้วยเรื่องราวที่ให้ประสบการณ์ที่มีคุณค่า
2.2 พัฒนาสินค้าและบริการการท่องเที่ยวให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
3.1 เน้นจุดยืนของคุณค่าแบบประเทศไทยที่แตกต่างและประทับใจ. * 3.2 สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Responsible Tourism)
3.3 สร้างส่งเสริมการดำเนินงานภายในองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
4.1 บูรณาการการทำงานเชิงยุทธศาสตร์.
4.2เสริมสร้างสมรรถนะธรมาภิบาลและความผูกพันของบุคคลากร ททท.
4.3 ผลักดันให้องค์กรเป็น Data Driven Organization
พันธกิจ
1.ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อเน้นคุณค่าการท่องเที่ยวของประเทศไทย
2.ขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและกระจายรายได้อย่างยั่งยืน
3.พัฒนาและให้บริการข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและผู็มีส่วนได้ส่วนเสีย
4.พัฒนา ททท. เป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization) ด้านตลาดการท่องเที่ยวของประเทศไทย
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
( Strate gic O bjestives : SO)
ขยายฐานตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพอย่างสมดุล
2.เพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจาก
ประสบการณ์การท่องเที่ยว
สร้างความเชื่อมั่น ในคุณค่าแบรนด์ประเทศไทย ให้แตกต่างและประทับใจ
พัฒนาองค์กรให้เป็น องค์กรสมรรถนะสูง
จุดเน้นการดำเนินงานที่ต้องขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพ.ศ.2563-2564
Big Data
ปรับปรุงคลังข้อมูลให้สามารถตอบสนองการวางแผนเชิงรุก
พัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กรให้ตรงความต้องการ และสร้างความเชื่อมโยงการทำงานของแต่ระบบให้มีประสิทธิภาพ
ปลูกฝังวัฒนกรรมการทำงานบนฐานข้อมูลและก้าวทันเทคโนโลยี
บริหารเครือข่าย
สื่อสารให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน เป็นองค์ความรู้ขององค์กร
ปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับเครือข่ายเพือ นํามาใช้ ประโยชน์ในการวิเคราะห์และตัดสินใจการดําเนินงาน
นวัตกรรม
กระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างสม่ำเสมอ
ปลูกฝังให้มีการจัดเก็บและนำองค์ความรู้
ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมระยะยาวที่ชัดเจนและสามารถปฏิบัติจริงได้
CSR (CSP:Corporate= องค์กร
Social= ในวงสังคม
Responsibility=ความรับผิดชอบ)
สื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนักท่องเที่ยว เครือข่าย และคน ททท.
จัดกิจกรรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร
ให้ความสำคัญเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม
ผลการดําเนินงานด้านการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางเข้าไทยเป็นกลุ่ม Mass หรือนักท่องเที่ยวระดับล่าง-กลาง
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยพึ่งพารายได้จากตลาดต่างประเทศเป็นหลัก
การกระจุกตัวของนักท่องเที่ยวในพื้นที่หลัก และการกระจุกตัวของการเดินทางท่องเที่ยวจะอยู่ในช่วง
High Season สําหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และช่วงวันหยุดสําหรับนักท่องเที่ยวในประเทศ
ตลาดต่างประเทศมาจากตลาดหลักเพียงไม่กี่ตลาด
รายได้จากการท่องเที่ยวเติบโตจากการเพิ่มขึ้นของจํานวนนักท่องเที่ยวเป็นหลัก มากกว่า
การเติบโตจากค่าใช้จ่าย
วิสัยทัศน์
ททท. เป็นผู้นำในการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ประเทศไทย
เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม (Preferred Destination) อย่างยั่งยืน
6.แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ.2561-2564
มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการวางรากฐานและแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยว รวมถึงสร้างความสมดุลของการพัฒนาในมิติต่างๆ และให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างบูรณาการกับภาคส่วนต่างๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 2
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยว
โดยการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งในการเดินทางเข้าสู่ประเทศทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศได้แก่ พัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวยกระดับระบบขนส่งสาธารณะเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างสถานที่ท่องเที่ยว พัฒนาเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สามารถ
2. พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ย
วโดยการปรับปรุงระบบการตรวจคนเข้าเมือง ปรับปรุงและอำนวยความสะดวกในการเดินทางผ่านแดน ปรับปรุงป้ายบอกทางและป้ายสัญลักษณ์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทุกแหล่ง เพิ่มจุดบริการ Free - WiFi ในแหล่งท่องเที่ยว จัดทำระบบบัตรโดยสารเดียวที่ใช้ได้กับทุกช่องทางการเดินทาง พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่ปราศจากอุปสรรคสำหรับคนทั้งมวล (Tourism for All) ได้แก่ ห้องน้ำคนพิการ ทางลาด ราวจับ เป็นต้น และพัฒนาแอปพลิเคชันที่อำนวย
4. พัฒนาระบบความปลอดภัยและสุขอนามัยในแหล่งท่องเที่ยว
โดยการสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อป้องกันและช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ได้แก่ กล้องวงจรปิด เครื่องแปลภาษา การติดตั้งไฟในสถานที่ท่องเที่ยวอุปกรณ์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวเบื้องต้น จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ท่องเที่ยวส่งเสริมสุขอนามัยในแหล่งท่องเที่ยว เช่น ปรับปรุงสุขาสาธารณะ การจัดการขยะและระบบบำบัดน้ำเสียในแหล่งท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่3
การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวทั้งระบบ ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สอดคล้อง กับมาตรฐานสากลและเพียงพอต่อความต้องการของตลาด
โดยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
2.ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและได้รับประโยชน์ จากการท่องเที่ยว
โดยการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าและบริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 4
การสร้างความสมดุลการท่องเที่ยวไทยผ่านการตลาดเฉพาะกลุ่ม การส่งเสริมวิถีไทย และการสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนา
1.เสริมสร้างภาพลักษณ์คุณภาพเเละความปลอดภัยให้กับประเทศไทย
โดยการพัฒนาภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มุ่งเน้นการสื่อสารคุณค่าและภาพลักษณ์ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมต่อนักท่องเที่ยว การส่งเสริมการตลาดเป้าหมาย และการสร้างการรับรู้แก่นักท่องเที่ยวผ่านช่องทางต่างๆ
2. ส่งเสริมการตลาดเฉพาะกลุ่มเพื่อดึงดูดการเดินทางท่องเที่ยว และกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกลุ่มต่างๆ
โดยการส่งเสริมการตลาดแบบเฉพาะกลุ่มสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปกลุ่มตลาดระดับกลาง - บน ในพื้นที่ตลาดที่มีศักยภาพ และการส่งเสริมการตลาดแบบเฉพาะกลุ่มสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ
3. ส่งเสริมเอกลักษณ์ของประเทศไทยและของแต่ละท้องถิ่น
ด้วยการสื่อสารเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้เป็นที่เข้าใจในเวทีโลก
4. ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศเเละการท่องเที่ยวที่สมดุลเชิงพื้นที่เเละเวลา
โดยการสร้างการรับรู้สินค้า บริการ และแหล่งท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวนอกฤดูกาล อาทิการจัดกิจกรรม เทศกาล งานประเพณีเฉพาะถิ่นในแต่ละเดือน การสร้างความนิยมของจังหวัดท่องเที่ยวรอง
5. การส่งเสริมความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เเละการใช้เทคโนโลยีในการส่งเสริมการตลาด
ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนในการทำการตลาด ได้แก่ การร่วมมือกับชุมชนในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวให้สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนและสอดคล้องแบรนด์จังหวัด การส่งเสริมการตลาดร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการตลาด
ยุทธศาสตร์ที่ 5
การบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยว และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมการกำกับดูแลการพัฒนาเเละบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยการเสริมสร้างการทำงานอย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานระดับนโยบาย โดยมีคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยว แห่งชาติและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบาย ประสานงาน กำกับติดตามและ
2 ปรับปรุงกฎหมายข้อบังคับเเละมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และการบังคับใช้กฎหมาย อย่างจริงจัง
โดยการทบทวนแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้อง กับสถานการณ์ในปัจจุบัน
3 สนับสนุนการลงทุนจากภาคเอกชนเเละการจัดทำศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว
โดยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการลงทุนต่างๆ การจัดตั้งหน่วยบริหารและวิเคราะห์ข้อมูล ด้านการท่องเที่ยวสำหรับหน ่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว
โดยการประสานความร่วมมือ กับนานาประเทศในการส่งเสริมการพัฒนาท่องเที่ยวและการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงภายใต้กรอบความร่วมมือ ระหว่างประเทศระดับต่างๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 1
การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการทุกรูปเเบบอย่างมีมาตรฐาน
โดยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวทั้งระบบ เสริมสร้าง พัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานด้านการท่องเที่ยวและบริการให้ครอบคลุมทุกรูปแบบ ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงกีฬา
2. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการอย่างยั่งยืน
โดยการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทั้งในเชิงอัตลักษณ์ท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณีและสิ่งแวดล้อม รวมถึง การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การกำหนดขีดความสามารถในการรองรับ ของแหล่งท่องเที่ยว
3. สร้างสมดุลในแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการ ทั้งในเชิงพื้นที่ เชิงเวลา ฤดูกาล และรูปแบบการท่องเที่ยว
โดยการส่งเสริมความสมดุลเชิงพื้นที่ในการท่องเที่ยว ทั้งในแง่การกระจายรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยว ได้แก่ การจัดตั้งเขตพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดและพื้นที่ที่มีศักยภาพที่ยังไม่ได้รับความนิยม การพัฒนาการท่องเที่ยวในเมืองรอง การพัฒนาการท่องเที่ยวในชนบท
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมการท่องเที่ยว
การพัฒนาการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น5ด้าน
2. การเติบโตอย่างมีดุลยภาพ
โดยส่งเสริมดุลยภาพการเติบโตของพื้นที่ท่องเที่ยว โดยเน้นการกระจายการพัฒนาการท่องเที่ยวในเมืองรองและพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น
3. การเติบโตบนพื้นฐานความเป็นไทย
โดยเน้นการพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์และวิถีไทย
4. การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และกระจายรายได้สู่ประชาชนทุกภาคส่วน
โดยมุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งเพิ่มรายได้และกระจายรายได้แก่ประเทศ พัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคและเขตพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเฉพาะพื้นที่เมืองรองและชนบท และสนับสนุนภาคเอกชนลงทุนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
5. การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ด้วยการส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่เสี่ยงต่อการเสื่อมโทรม การปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความยั่งยืนของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
1. ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพชั้นนำของโลก
ด้วยการยกระดับคุณภาพและเพิ่มความหลากหลายของสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวมุ่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศ
7.แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560-2564
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับ
การขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนา
พัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยว
พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งในการเดินทางเข้าสู่ประเทศ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ พัฒนาเส้นทางคมนาคมทางน้้ำที่สามารถเชื่อมโยงกับรูปแบบการเดินทางอื่นๆ
2.พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก
ปรับปรุงระบบการตรวจคนเข้าเมือง- จัดทำแผนที่ท่องเที่ยวให้ครอบคลุม- เพิ่มจุดบริการ Free-WiFi ในแหล่งท่องเที่ยว- จัดทำระบบบัตรโดยสารเดียวที่ใช้ได้กับทุกช่องทางการเดินทาง- พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับคนทั้งมวล
พัฒนาระบบความปลอดภัยและสุขอนามัยในแหล่งท่องเที่ยว
สนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อป้องกันและช่วยเหลือนักท่องเที่ยว- จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ท่องเที่ยว
แผนงานและโครงการสำคัญ
ขยายเส้นทางการบินจากต่างประเทศสู่จังหวัดรองของประเทศ
ปรับปรุงประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในขั้นตอนในการคมนาคมระหว่างประเทศทางบกและทางน้ำ
ยกระดับคุณภาพของบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ รวมถึงเพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้มาตรการและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและปัจจัยสนับสนุนในการเข้าถึงและเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อรองรับการท่องเที่ยวสำหรับคนทั้งมวล5. พัฒนา และปรับปรุงแอปพลิเคชั่นที่อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว
ปรับปรุงความพร้อม ความเพียงพอ มาตรฐาน และบุคลากร เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัย และให้ความช่วยเหลือ นักท่องเที่ยว รวมถึงจัดทำแผนและระบบบริหารความเสี่ยง และภัยพิบัติ ส าหรับแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ7. ส่งเสริมสุขอนามัยในแหล่งท่องเที่ยวและพัฒนามาตรฐานและระบบจัดการขยะและบำบัดน้้ำเสีย
ยุทธศาสตร์ที่ 1
การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว สินค้า และบริการด้านการท่องเที่ยวให้
เกิดความสมดุลและยั่งยืน
แนวทางการพัฒนา
2. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการอย่างยั่งยืน
ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
3. สร้างสมดุลในแหล่งท่องเที่ยวสินค้าและบริการ ทั้งในเชิงพื้นทีเชิงเวลา ฤดูกาล และรูปแบบการท่องเที่ยว
จัดตั้งเขตพัฒนาการท่องเที่ยว
พัฒนาการท่องเที่ยวในชนบท
พัฒนาสินค้าและบริการที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น
พัฒนาการท่องเที่ยวในเมืองรอง
1. พัฒนาคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการทุกรูปแบบอย่างมีมาตรฐาน
ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวทั้งระบบ
เสริมสร้าง พัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานด้านการท่องเที่ยวและบริการให้ครอบคลุมทุกรูปแบบ
พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวอย่างมีมาตรฐานสอดรับกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
แผนงานและ
โครงการสำคัญ
พัฒนาคุณภาพสินค้าและการให้บริการแบบครบวงจรในกิจกรรมที่มีศักยภาพ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและสนับสนุนภาคเอกชนลงทุนพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตสูง
กำหนดขีดความสามารถในการรองรับแหล่งท่องเที่ยวหลัก พร้อมกำหนด มาตรการควบคุมดุแลกำกับให้ชัดเจน
อนุรักษ์ ฟื้นฟู แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม ที่มีความเปราะบางและเสี่ยงต่อความเสื่อมโทรม
สร้างการรับรู้ ความตระหนัก จิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยว วัฒนธรรมไทย อัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความสมดุลให้กับการท่องเที่ยวไทย ผ่านการตลาดเฉพาะกลุ่ม
การส่งเสริมวิถีไทย และการสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนา
เสริมสร้างภาพลักษณ์คุณภาพ และความปลอดภัยให้กับประเทศไทย
พัฒนาภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ
มุ่งเน้นการสื่อสารคุณค่าและภาพลักษณ์ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม
ส่งเสริมการตลาดเป้าหมาย
ส่งเสริมการบังคับใช้และให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่นักท่องเที่ยวและสาธารณชน
ส่งเสริมการตลาดเฉพาะกลุ่ม เพื่อดึงดูดการเดินทางท่องเที่ยว และกระตุ้นการใช้จ่ายของ นักท่องเที่ยวกลุ่มต่างๆ
ส่งเสริมการตลาดแบบเฉพาะกลุ่มสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไป กลุ่มตลาดระดับกลาง-บน และ นักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ
ส่งเสริมเอกลักษณ์ของประเทศไทย และของแต่ละท้องถิ่น
สื่อสารเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้เป็นที่เข้าใจในเวทีโลก
ส่งเสริมเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาคและจังหวัด
สื่อสารเอกลักษณ์ความเป็นไทยผ่านสื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางสื่อ
สื่อสารเรื่องราวอย่างสร้างสรรค์ผ่านช่องทางการตลาดที่เป็นที่นิยมในกลุ่มเป้าหมาย
ส่งเสริมความร่วมมือกับผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องและการใช้เทคโนโลยี ในการส่งเสริมการตลาด
ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนในการทำการตลาด
ส่งเสริมการตลาดร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการตลาด
ส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายในประเทศและการท่องเที่ยว ที่สมดุลเชิงพื้นที่และเวลา
กระตุ้นการท่องเที่ยวนอกฤดูกาล
ส่งเสริม 'ไทยเที่ยวไทย'
ส่งเสริมการตลาดแบบมีเป้าหมายเฉพาะ
สร้างความนิยมของจังหวัดท่องเที่ยวรอง
แผนงานและ
โครงการสำคัญ
ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพและมีมาตรฐานด้านความปลอดภัย
สร้างการรับรู้ แนวทางปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัย ส่งเสริมการบังคับใช้และให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
สร้างการรับรู้สินค้า บริการเฉพาะต่างๆ ในประเทศไทย กลุ่มที่มีความสนใจพิเศษผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์ประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว คุณภาพ
ส่งเสริมชุมชนสร้างสรรค์สินค้าและบริการ สะท้อนอัตลักษณ์ชุมชนและแบรนด์จังหวัด
สื่อสารเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้เป็นที่เข้าใจในเวทีโลก และพัฒนาสัญลักษณ์
สร้างการรับรู้สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวสำหรับการท่องเที่ยวนอกฤดูกาล
การสร้างค่านิยมการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศให้แก่คนไทยทุกคนในทุกเพศทุกวัย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยว
:
แผนงานและโครงการสำคัญ (Quick Win)
ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาชาติเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสร้างจิตสานึกประชาชนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
ปรับปรุงมาตรฐานทักษะอาชีพของบุคลการในธุรกิจการท่องเที่ยวให้ครอบคลุมความต้องการของอุตสาหกรรมและ
สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ส่งเสริมความร่วมมือกับผู้ประกอบการในการปรับปรุงคุณภาพตาแหน่งงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าและเข้าใจในอตั ลักษณ์ท้องถิ่น
พัฒนาหลักสูตรอบรมทักษะการประกอบธุรกิจสาหรับชุมชน เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้ในท้องถิ่น
ส่งเสริมการให้ความรู้และจัดตั้งที่ปรึกษาเพื่อธุรกิจเกิดใหม่และธุรกิจรายย่อยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
พัฒนาหลักสูตรอบรมทักษะพื้นฐาน ทักษะเฉพาะกลุ่มการท่องเที่ยว ทักษะด้านการบริหารจัดการ
5.แก้ไขปัญหาการขาดแคลนในแรงงานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยกระตุ้นให้คนในท้องถิ่นเขา้สู่ตลาดแรงงานภาคการ ท่องเที่ยวมากขึ้น
การพัฒนา
พัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการท่องเที่ยวทั้งระบบ ให้มีขีดความสามารถในการ แข่งขัน สอดคล้องกับ มาตรฐานสากลและเพียงพอ ต่อความต้องการของตลาด
ส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา บุคลากรด้านการท่องเที่ยว
สร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการ
สนับสนุนบุคลากรให้มีสมรรถนะขนั้ พื้นฐานตามตาแหน่งงาน
ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วน ร่วมในการบริหารจัดการด้าน การท่องเที่ยวและได้รับ ประโยชน์จากการท่องเที่ยว
ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการการท่องเที่ยว
จัดทาหลักสูตรการฝึกอบรมทักษะธุรกิจพื้นฐาน
เพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจใหม่
ใน อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
เพิ่มช่องทางการลงทุนและพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวให้แก่เอกชน ภายใต้หลักการสนับสนุน
ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม Thailand 4.0
เปิดโอกาสให้ประชาชนและชมุชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าและบริการบนพื้นฐานของมรดก และวัฒนธรรมท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยว และการส่งเสริมความร่วมมือ
ระหว่างประเทศ
แผนงานและ
โครงการสำคัญ
ส่งเสริมกระบวนการทำงานอย่างบูรณการภายใต้คณะกรรมการททช.
ส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่หน่วยงานระดับท้องถิ่น ทั้งในการขับเคลื่อนแผนและการปฎิบัติการ การท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT)
ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมาย
จัดตั้งศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว
จัดตั้งหน่วยงานมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
ปรับปรุงบทบาทของกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยให้มีมิติที่หลากหลายมากขึ้น
ส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ เพื่อการท่องเที่ยวผ่านกรอบความร่วมมือและข้อตกลงระหว่างประเทศ
อำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวในระดับภูมิภาค
ส่งเสริมความสัมพันธ์ในรูปแบบเมืองพี่เมืองน้อง เมืองแฝดด้านการท่องเที่ยวกับต่างประเทศ
แนวทาง
การพัฒนา
1. ส่งเสริมการกำกับดูแลการพัฒนาเเละบริหารจัดการการท่องเที่ยว
อย่างมีประสิทธิภาพ
เสริมสร้างการทำงานอย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานระดับนโยบาย
-ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้
-จัดสรรงบประมาณและบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
-ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน
3.4 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง
ประเทศเพื่อการพัฒนาการ
ประสานความร่วมมือกับนานาประเทศ
พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงในแต่ละรูปแบบ
สนับสนุนให้ตัวแทนประเทศไทยในองค์กรและหน่วยงานต่างๆ มีบทบาทในเวทีนานาชาติ
อำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวในระดับภูมิภาค
ส่งเสริมความสัมพันธ์ในรูปแบบเมืองพี่เมืองน้องด้านการท่องเที่ยว
2. ปรับปรุงกฎหมายข้อบังคับเเละมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การท่องเที่ยว และการบังคับใช้
กฎหมายอย่างจริงจัง
ทบทวนแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
กำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมการปฎิบัติตามกฎหมายและข้อระเบียบด้านการท่องเที่ยวต่างๆ
ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความเข้าใจในระเบียบและกฎหมายด้านการท่องเที่ยว
3.3 สนับสนุนการลงทุนจากภาคเอกชนเเละการจัดทำศูนย์ข้อมูล
สารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว
ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการลงทุนต่างๆ
จัดตั้งหน่วยบริหารและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวสำหรับหน่วยงาน
แนวทางการพัฒนา