Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจ…
บทที่ 12
บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
การบำบัดรักษาด้านร่างกาย (Somatic therapy)
1.จิตเภสัชบำบัดและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยทางจิตเวชวิธีหนึ่งโดยใช้การควบคุมร่างกายให้ได้มาซึ่งอาการทางจิตที่ดีกว่าเดิมมีหลายวิธี
ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic drugs or Major transquilizer drugs)เป็นยาที่นำมาใช้รักษาโรคจิต เนื่องจากสาเหตุต่างๆ ได้ผลดี โดยเฉพาะโรคจิตเภท แมเนียและโรคจิตจากสมองพิการ
1) Phenothiazine derivatives ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาทั่วๆ ไป มีดังนี้ ง่วง (Sedation)ระงับอาการอาเจียน (Antiemetic) ปากแห้งคอแห้ง (Anticholinergic)ความคิดเชื่องช้า(Antiadrenaline) และ antihistamine มีผลต่อการรักษาผู้ป่วยจิตเภทเป็นส่วนใหญ่และยังใช้รักษาผู้ป่วยคลั่งเศร้า (Mania) ลุกลี้ลุกลน (Agitated depression) และพฤติกรรมหลงผิด
2) Butyrophenone derivatives ที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ Haloperidol (Haldol)มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายฟีโนไทอะซีน แต่เมื่อเทียบกับ Chlopromazine แล้ว Haloperidolแรงกว่าประมาณ 50 เท่า ใช้ได้ผลดีในการควบคุมอาการตื่นเต้น ก้าวร้าว ประสาทหลอน หลงผิดหวาดระแวง
ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressant drugs) ที่พบบ่อยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
Conventional antidepressant
Monoamine Oxidase inhibitors (MAOI) มีฤทธิ์ไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ MAO ที่ทำให้ระดับของ Serotonin และ Catecholamine ในสมองสูงขึ้น ทำให้มีอารมณ์เป็นสุขสมองตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า สดชื่น อยากอาหาร ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น
Tricyclic antidepressants ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากมีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ กลไกการออกฤทธิ์เชื่อว่าลดอาการซึมเศร้า โดยไม่เพิ่มระดับของ Nor-epinephrine และ serotonin ในสมอง ทำให้มีอาการปากแห้ง ตาพร่า ง่วงนอน ปัสสาวะคั่ง ท้องผูกได้ผลต่อระบบไหลเวียนทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
Secondary generation antidepressants
Bicyclic antidepressants เช่น Zimelidine (Zelmid), Viloxazine (Vivalan)การออกฤทธิ์ยับยั้ง Nor-epinephrine reuptake และ Serotonin reuptakeใช้ในผู้ป่วยซึมเศร้าได้ผลพอๆ กับ amitriptyline และ Imipramine อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย คือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปากแห้ง ใจสั่น ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก
Tetracyclic antidepressants เช่น Maprotiline (Ludiomil), Mianserin(Talvon) ข้อบ่งใช้คล้ายๆ กับ amitriptyline และได้ผลพอๆ กันห้ามใช้กับผู้ที่เป็นโรคตับ ต่อมลูกหมากโตต้อหิน ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ น้ำหนักลด โรคเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกและหญิงให้นมบุตร
Serotonin Reuptake Inhibitors นำมาใช้รักษาอาการซึมเศร้า(Antidepressant) ออกฤทธิ์ยับยั้งเฉพาะ Reuptake ของ Serotonin เรียกชื่อย่อว่า SSRIs (Selectiveserotonin reuptake inhibitors) ยาในกลุ่มนี้ที่นำมาใช้ในปัจจุบันมี 4 ชนิด คือ Fluoxetine,Paroxetine, Sertraline และFluvoxamine ยาทั้ง 4 ชนิด มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากันแต่ผลข้างเคียงต่างกัน
ยาควบคุมอารมณ์ (Mood-stabilizing drug)
ลิเทียมคาร์บอเนต (Lithium Carbonate) เป็นยาหลักที่ใช้รักษา เชื่อว่าจะไปยับยั้งการปลดปล่อย NE และ Dopamine ที่จุด Synapse และทำให้ Pre-synaptic re-uptake ของ Neurotransmitter เพิ่มขึ้น เป็นการปรับสมดุลของ Neurotransmitter
ยาคลายกังวล (Anxiolytic, Antianxiety drug or minor transquilizer drugs)
มีประโยชน์ในการรักษาโรคประสาท (Neurosis)ทุกชนิดเพราะ มีคุณสมบัติลดความวิตกกังวลและความกดดัน โดยไม่ทำให้เกิดการง่วงมากเหมือนยานอนหลับ มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ป้องกันอาการชัก นอนหลับได้ ยาที่สำคัญในกลุ่มนี้ คือ Benzodiazepines มีฤทธิ์ Anti anxiety, Antiaggression, Muscle relaxant, Anti convulsant และ Sedative
2.การรักษาด้วยไฟฟ้า
การรักษาทางจิตเวชโดยใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนจำกัดผ่านเข้าสมองในระยะเวลาจำกัด ทำให้เกิดอาการชักเกร็งทั้งตัว (Grandmal Seizaue) ทำให้ความผิดปกติทางจิตบางชนิดลดลง
ข้อบ่งใช้ในการรักษา
ผู้ป่วยที่อาการเศร้าทุกชนิด และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
ผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดที่คลั่งหรือซึมเฉย
โรคจิตในวัยเสื่อมในระยะเศร้า
โรคความผิดปกติของอารมณ์ทั้งในระยะคลั่งและระยะเศร้า
อาการทางจิตเวชอื่นๆ ที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
ข้อห้ามใช้
Brain tumor (เพราะการทำให้ช็อคจะทำให้ความดันในสมองเพิ่มขึ้นทำให้เกิดTentorial herniation และเสียชีวิตได้), โรคของระบบประสาท
ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูงที่ไม่ใช่สาเหตุจากอารมณ์ หอบ กล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือดที่ยังมีอาการ เพราะขณะชักอาจเกิด Arrhythmias ได้
วัณโรคระยะรุนแรง
ผู้ป่วยที่เป็นกระดูก
การติดเชื้อที่มีไข้สูง
ผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่แข็งแรง
3.การผูกยึดและการจำกัดพฤติกรรม
ปัจจุบันการผูกมัดและจำกัดขอบเขตผู้ป่วยยังคงมีความจำเป็นในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยและผู้อื่นพฤติกรรมที่ต้องผูกมัด หรือ จำกัดบริเวณ
การผูกมัด (Physical restrain) โดยใช้เจ้าหน้าที่ประมาณ 3-5 คน เจ้าหน้าที่ 1 คน ต้องพยายามพูดให้ผู้ป่วยสนใจ เพลิดเพลิน เมื่อผู้ป่วยเผลอ เจ้าหน้าที่2 คน จะจับแขนผู้ป่วยไว้คนละข้าง แล้วนำผู้ป่วยไปไว้ในห้องพักที่เตรียมไว้ กรณีที่ผู้ป่วยไม่ยอม ต้องให้เจ้าหน้าที่อีก 2 คนยกตัวผู้ป่วยขึ้นให้เท้าลอยจากพื้นแล้วผูกยึดตัวผู้ป่วย
การใช้ยาและการจำกัดขอบเขต (Medical restrain and room seclusion) สำหรับรายฉุกเฉิน แพทย์อาจให้ฉีดยา เพื่อให้ผู้ป่วยสงบก่อนนำผู้ป่วยเข้าห้องหรือให้ยา หลังจากนำผู้ป่วยเข้าห้องเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันการใช้ห้องแยก (Room seclusion)ยังมีประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรง
กิจกรรมบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยจิตเวช (Activity Therapy)
กิจกรรมบำบัด เป็นการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีความพิการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจโดยการประยุกต์ดัดแปลงกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมาเป็นสื่อสำหรับการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและให้พึ่งตนเองมากที่สุด
ความสำคัญของกลุ่มกิจกรรมบำบัด
ในปัจจุบันเป็นบทบาทอิสระที่พยาบาลสามารถกระทำได้เองและมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยจิตเวชเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยซึ่งเข้ารับการบำบัดรักษาในกลุ่มกิจกรรมบำบัดสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนเองจากการพูดคุยกับสมาชิกในกลุ่ม ทำให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวล สามารถเรียนรู้ เลียนแบบพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม
หลักการรักษาด้วยกลุ่มกิจกรรมบำบัด
1.สนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (Meeting basic need) เป็นการสนองความต้องการด้วยอารมณ์พึงพอใจกับความต้องการขั้นพื้นฐานก่อน
2.ป้องกันความเสื่อมถอย (Prevention) เป็นการรักษาที่มุ่งกระตุ้นส่วนที่ขาดหายไปและส่งเสริมทักษะที่เหลืออยู่เอาไว้
3.พัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น (Development) เป็นการรักษาที่มุ่งให้ผู้ป่วยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นทั้งในแง่ของสมรรถภาพของด้านจิตใจ สมรรถภาพทางสังคม และสมรรถภาพในการดำรงชีวิต
4.การคงสภาพที่เหลืออยู่เอาไว้ (Maintenance)บ่อยครั้งเป้าหมายการรักษามุ่งเน้นที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยเพียงเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยมีสภาพทรุดลงไปกว่าเดิมหรือให้มีชีวิตอยู่โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่นมากเกินไป
ประโยชน์ของกระบวนการกลุ่ม
ช่วยให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มได้นำเอาความสามารถต่างๆ ของตนเองออกมาใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ช่วยเสริมสร้างทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิกและประสบการณ์ที่ได้รับจากกลุ่มจะส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มได้พัฒนาความสามารถพิเศษขึ้นมาแล้วนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและกลุ่มได้พัฒนาทางด้านสังคมไปในทางที่ดี
ประเภทของกลุ่ม
แบ่งตามลักษณะการรับสมาชิก แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
กลุ่มเปิด (Open Group) หมายถึง การรับสมาชิกเข้ากลุ่มแต่ละครั้งไม่ยึดติดว่าจะเป็นสมาชิกกลุ่มเดิม สมาชิกสมัครเข้ากลุ่มได้อย่างอิสระ
กลุ่มปิด (Closed Group) หมายถึง กลุ่มที่มีการรับสมาชิกคงที่ และจำกัดไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะเสร็จสิ้นการดำเนินกลุ่ม
แบ่งตามเทคนิคการดำเนินการกลุ่มเป็น 2 ลักษณะ
กำหนดโครงสร้าง คือ กลุ่มที่มีการจัดโครงสร้างที่แน่นอนว่าใครเป็นประธาน เลขา ผู้สังเกตการณ์ สถานที่ ระยะเวลา รูปแบบการดำเนินกลุ่ม และวิธีการประเมิน
ไม่กำหนดโครงสร้าง คือ กลุ่มที่ไม่มีการกำหนดโครงสร้างว่าจะเป็นอย่างไร ไม่มีการนำทาง แล้วแต่กระแสของกลุ่ม สมาชิกทุกคนมีอิสระในการดำเนินกลุ่ม
แบ่งตามวัตถุประสงค์หรือผสมผสานระหว่างการแบ่งวัตถุประสงค์และการกำหนดโครงสร้าง
จะเน้นปัญหาส่วนตัวหรือปัญหาส่วนรวม มีการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบของ ผู้นำกลุ่ม ผู้ช่วยเหลือ ผู้สังเกตการณ์ไว้ล่วงหน้า
ชนิดของกิจกรรมบำบัด
กลุ่มอาชีวบำบัด (Occupational Therapy Group)
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณค่าของตนเอง และสอนทักษะใหม่ ๆ ในด้านอาชีวะใช้ได้กับ ผู้ป่วยทุกวัย ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต เพราะนอกจากมีประโยชน์ในการฟื้นฟูแล้ว ยังเป็นการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพกายและจิตด้วยกิจกรรมที่ทำมีหลายประเภท เช่น การเย็บปักถักร้อย การประดิษฐ์ของใช้ต่าง ๆ ทำสวนครัว ปลูกต้นไม้
นันทนาการบำบัด (Recreation Therapy Group)
เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อรื่นเริงบันเทิงใจ และให้ทุกคนในกลุ่มได้สนุกสนาน เพลิดเพลิน อยากเข้าร่วมกลุ่มที่นิยมทำกันมาก คือ การเล่นเกมส์ การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ รำวง เต้นรำ การร้องเพลง การแสดงต่างๆ และการดูโทรทัศน์
กลุ่มการศึกษาบำบัด (Re-Education Therapy Groups)
เป็นกลุ่มกิจกรรมที่สัมพันธ์โดยตรงกับปัญหาในการปรับตัวบางอย่างของผู้ป่วย เป็นการฟื้นฟูความสามารถที่จะเรียนรู้การปฏิบัติตัวในครอบครัวและชุมชน กลุ่มกิจกรรมที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ กลุ่มวรรณกรรมบำบัด กลุ่มกระตุ้นผู้ฟัง กลุ่มสอนหนังสือ
กลุ่มฝึกหัดการเข้าสังคม (Resocialization Therapy Groups)
เป็นกลุ่มที่จัดให้ผู้ป่วยได้พบปะสังสรรค์กัน เพื่อฝึกการเข้าสังคม รู้จักวางตัวให้ถูกต้องเหมาะสม มีสัมพันธภาพกับคนอื่น เป็นการเตรียมผู้ป่วยก่อนที่จะไปเผชิญกับสถานการณ์จริงเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
หลักในการเลือกผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรม
ผู้ป่วยซึมเศร้า (Depression) ควรจัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความอบอุ่นใจ หายว้าเหว่ กระตุ้นให้เกิดกำลังใจ เช่น กลุ่มเสริมแรงจูงใจ
ผู้ป่วยวิตกกังวล (Anxiety) ควรจัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมที่ให้พลังงาน กลุ่มกีฬา กลุ่มอ่านหนังสือและวิจารณ์ข่าว เพื่อจะได้ระบายความคับข้องใจ
ผู้ป่วยก้าวร้าว (Aggressive) ควรจัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมที่ได้ออกแรง เช่น กลุ่มกีฬา
เป็นผู้ป่วยที่มีอาการทุเลาและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม
สมาชิกในกลุ่มควรมีทั้งเพศชายและหญิงเป็นการฝึกให้ผู้ป่วยได้ปรับตัวอยู่ในสังคมที่เป็นจริง
การจัดผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดด้วยกิจกรรม
ระยะที่ผู้ป่วยยังมีอาการทางจิต แต่ไม่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นแล้ว และยังคงอยู่ในตึกผู้ป่วยการรักษาในระยะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอาการ กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีปฏิกิริยา ตอบสนอง สนใจ และรับรู้สิ่งแวดล้อม
ระยะที่สอง เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีพฤติกรรมสนใจสิ่งแวดล้อม มีปฏิกิริยาที่เหมาะสมและสามารถเข้ากลุ่มได้ ผู้ป่วยจะถูกนำเข้ากลุ่มและเริ่มฝึกการทำกิจกรรมกับผู้อื่น เรียนรู้การปฏิบัติตัวในกลุ่มและฝึกการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ อย่างง่ายๆ
ระยะที่ผู้ป่วยกลับไปอยู่ชุมชน ระยะนี้จะเป็นการติดตามดูแลผู้ป่วยว่าสามารถดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนนั้นได้อย่างปกติสุขหรือไม่ อย่างไร ตลอดจนการกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ระยะสุดท้ายนี้เรียกว่ากิจกรรมบำบัดชุมชน (Occupational Therapy in Community)
ระยะก่อนกลับบ้าน ระยะนี้ผู้ป่วยจะถูกส่งไปอยู่ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพหรือกลับไปทดลองอยู่ที่บ้าน แต่ยังคงมารับบริการโรงพยาบาลกลางวันจุดมุ่งหมายของกิจกรรมบำบัดในช่วงนี้จะมุ่งเน้นด้านสัมพันธภาพในสังคม การพัฒนาทักษะพื้นฐานในการทำงาน
บทบาทของพยาบาลในการจัดกิจกรรมบำบัด
มีความรู้และทักษะในการจัดกิจกรรมนั้นๆ
เป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมบำบัดตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดกิจกรรม
โดยเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกผู้ป่วย เตรียมผู้ป่วยให้พร้อมก่อนเข้ากลุ่ม
ในระหว่างที่กำลังทำกลุ่มผู้นำกลุ่ม ผู้ช่วยผู้นำกลุ่มและผู้สังเกตการณ์จะต้องคอยดูแลกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างทั่วถึงและคอยควบคุมหรือยับยั้งในกรณีที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่จะทำให้กลุ่มออกนอกลู่นอกทาง
ให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีความสามารถในการทำกิจกรรมนั้นๆ
สร้างบรรยากาศในกลุ่มให้มีลักษณะของความเป็นมิตร
ยอมรับและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคน คือต้องรับฟังข้อคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม ปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม แต่ก็ควรจะมีความยืดหยุ่นได้บ้างตามความจำเป็นของสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเอง ไม่ตึงเครียดเกินไป
ปัญหาในการทำกิจกรรมและแนวทางแก้ไข
สมาชิกไม่พูด เหม่อลอย ไม่ฟัง ไม่สนใจผู้อื่น ผู้นำกลุ่มต้องพิจารณาว่าความเงียบเกิดจากอะไร และสร้างแรงจูงใจ โดยแสดงถึงความสนใจผู้ป่วย เช่น เรียกชื่อ
สมาชิกโกรธ ผู้นำกลุ่มต้องระมัดระวังในการโต้ตอบกับสมาชิกที่มีความโกรธ เพราะคนอื่นๆ จะสังเกตอย่างใกล้ชิด จะต้องปรับบรรยากาศของกลุ่ม โดยยอมให้สมาชิกได้แสดงความรู้สึกอย่างเต็มที่ ไม่ตัดสินพฤติกรรมของเขา แต่รับฟังอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการโต้ตอบ การให้คำแนะนำ
สมาชิกสร้างฉากกำบัง ผู้ป่วยบางคนหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงประสบการณ์หรือความรู้สึกของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา แต่มักจะพูดถึงหลักการทางวิชาการ หรือพูดถึงคนอื่นแทน ผู้นำกลุ่มจะกระตุ้นให้สมาชิกคนอื่นๆ ตะล่อมเพื่อให้เขาพูดถึงความรู้สึกในที่สุด
สมาชิกพูดอยู่คนเดียว ปกติการผูกขาดการพูดมักจะแสดงถึงความวิตกกังวลและปกป้องตนเอง ผู้นำกลุ่มจะใช้วิธีถามสมาชิกคนอื่นๆ ให้พูดถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในกลุ่ม
สมาชิกที่น่ารำคาญใจ มักจะเปลี่ยนหัวข้อหรือทำให้การสนทนาหยุดชะงักหรืออาจจะเอาเรื่องตลกมาเล่า ผู้นำกลุ่มจะพยายามให้สมาชิกตระหนักในพฤติกรรมของเขาซึ่งไปขัดขวางความก้าวหน้าของกลุ่ม และกระตุ้นให้สมาชิกคนอื่นทำหน้าที่รักษาหัวข้อเรื่องหรือทิศทางของกลุ่ม
สมาชิกไม่สนใจเข้ากลุ่ม ผู้นำกลุ่มค้นหาและแก้ไขตามสาเหตุกระตุ้นและชักชวนหลายครั้ง
การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด (Milieu therapy)
ลักษณะของ Milieu therapy
มีโปรแกรมสำหรับการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน
มีรูปแบบการปกครองตนเอง เพื่อฝึกให้ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบ และรู้จักพึ่งพาตนเอง ลดการถดถอย และให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการกระทำต่าง ๆ
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบมากขึ้น
มีความหลากหลายของกิจกรรมบำบัด
ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับครอบครัว
ต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชุมชน ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ออกไปสู่ชุมชน
ทีมสุขภาพจิตต้องร่วมกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ทีมสุขภาพจิตต้องมีความเป็นมนุษย์ในตนเอง คือ มีความรัก มีทัศนคติที่ดี มีการให้เกียรติกัน
และกัน
วัตถุประสงค์ของ Milieu therapy
ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดทัศนคติที่ดีต่อทีมสุขภาพจิต
เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และได้รับการยอมรับจากบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นการฝึกทักษะการอยู่ในสังคม
เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของจิตใจ
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมที่เป็นจริง
เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างคุณค่าในตัวเอง
หลักการในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
1.ในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด ยึดหลักการอำนวยความสะดวกสบายตามสภาพของสถานที่ ซึ่งสามารถจัดให้ได้อย่างดีที่สุดที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้บำบัดและผู้ป่วยกับผู้ป่วยสามารถจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม และการอยู่ร่วมกัน
2.สมาชิกทุกคนในทีมผู้บำบัด ต้องแสดงตนเป็นแบบอย่างหรือตัวอย่างที่ดีและเหมาะสมแก่ผู้ป่วยนับตั้งแต่การแต่งกาย พฤติกรรมการแสดงออกต่อสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนแบบอย่างต่อผู้ป่วยโดยไม่ต้องพูดหรือบอกให้ทำ แต่จะเกิดการเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว
3.การแต่งกายของพยาบาลไม่ยึดหลักการแสดงสัญลักษณ์ของความเจ็บป่วย คือ การสวมยูนิฟอร์มสีขาว เพราะเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงบทบาทของพยาบาล ที่ต้องให้ความช่วยเหลือและเป็นที่พึ่งของบุคคลที่เจ็บหนัก หมดหวัง
4.โปรแกรมนิเวศบำบัด ต้องวางแผนอย่างดี โดยความร่วมมือระหว่างผู้ป่วยกับผู้บำบัด กลุ่มบำบัดและกิจกรรมบำบัดที่ยึดเอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางที่สมบูรณ์แบบจะต้องมีการวางแผนและนำไปปฏิบัติโดยตัวของผู้ป่วยเอง
5.กลุ่มบำบัดแต่ละชนิดควรมีจำนวนที่เหมาะสม
6.การตัดสินใจทุกอย่างของผู้ป่วยและผู้บำบัดจะต้องเห็นชอบด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย อยู่ในรูปของการผ่อนปรนเป็นกลางๆ ซึ่งทุกคนสามารถปฏิบัติได้
7.หลักการช่วยเหลือผู้ป่วย ต้องการกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกอยากทำงานหรืออยากแสดงออก ตามความต้องการของผู้ป่วยและคงไว้ซึ่งคุณลักษณะทางวัฒนธรรมและประเพณีนิยมในสังคม
8.การจัดกิจกรรมในนิเวศบำบัด ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม เช่น วัยวุฒิ คุณวุฒิ และฐานะของผู้ป่วย
9.ในการทำงาน หากมีสิ่งบกพร่องเกิดขึ้น ผู้บำบัดจะปักความรับผิดชอบหรือยกเลิกกิจกรรมนั้น ๆ เลยไม่ได้ มิฉะนั้นจะเป็นตัวอย่างในเรื่องการไม่เผชิญความเป็นจริงและใช้วิธีการหลีกหนีแก่ผู้ป่วย
10.การชี้ปัญหาหรือข้อบกพร่องของสมาชิกในกลุ่ม ควรกระทำกันต่อหน้าผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกคนและควรทำในขณะปัญหานั้นๆ เกิดขึ้นทันที เพื่อทุกคนจะได้มองเห็นปัญหา และสามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้ทันที
บทบาทของพยาบาลในการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
1.เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการตอบสนองทางอารมณ์ เช่น ในยามโกรธ จะบอกความรู้สึกโกรธแทนการแสดงออกให้เห็นทางพฤติกรรมว่ากำลังโกรธหรือแสดงพฤติกรรมรุนแรง
2.เป็นตัวแทนของบุคคลในสังคมปกติ การตอบสนองต่อผู้ป่วยควรอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสังคมทั่วไป ไม่ใช่ตอบสนองเพราะผู้ป่วยเป็นผู้ป่วย
3.เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านพฤติกรรมทางสังคม เช่น พฤติกรรมการตอบรับในกรณีที่พยาบาลควรตอบรับ และพฤติกรรมการตอบปฏิเสธในกรณีที่ควรปฏิเสธ