Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อน
สาเหตุ
พันธุกรรม
ภาวะแทรกซ้อนในระยะก่อนคลอดและระหว่างคลอด
สาเหตุที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่นการติดเชื้อ เนื้องอกในสมองและผลกระทบจากการรักษา การขาดสารอาหารบางชนิด
อาการและอาการแสดง
2) ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อนระดับปานกลาง ระดับ IQ เท่ากับ 35-49 พัฒนาการสูงสุดเท่ากับเด็กอายุ 6-9 ปี พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวช้าจนสังเกตเห็นได้ชัด พูดช้าสามารถฝึกให้ช่วยเหลือตนเองในด้านต่างๆ และทำงานง่ายๆ เช่น งานล้างจาน ซักรีดเสื้อผ้า กวาดบ้านถูบ้าน
3) ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรง ระดับ IQ เท่ากับ 20-34 พัฒนาการสูงสุดเท่ากับเด็กอายุ 3-5 ปี การเคลื่อนไหวช้ามาก พูดได้น้อยมากสามารถฝึกให้ช่วยเหลือตนเองด้านกิจวัตรประจำวันง่ายๆ เช่น รับประทานอาหาร อาบน้ำ แปรงฟัน โดยต้องมีคนแนะนำ ช่วยเหลือตลอดเวลา
1) ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อนระดับเล็กน้อย ระดับ IQ เท่ากับ 50-70พัฒนาการสูงสุดของเด็กกลุ่มนี้เท่ากับเด็กอายุ 9-12 ปีมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ พูดช้ากว่าปกติ สามารถเรียนได้ถึงระดับประถมศึกษา ฝึกอาชีพและทำงานหาเลี้ยงตัวเองได้
4) ภาวะบกพร่องทางด้านสติปัญญา/ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงมาก ระดับ IQ ต่ำกว่า 20 มีความพิการทางกายซ้ำซ้อน ความสามารถในการเคลื่อนไหวต่ำ ประสาทรับรู้ช้า ช่วยเหลือตนเองได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย ต้องให้การดูแลเช่นเดียวกับเด็กเล็ก
ความหมาย
ภาวะที่บุคคลมีความสามารถด้านสติปัญญาและพฤติกรรมด้านการปรับตัวต่ำกว่าบุคคลปกติ มีค่าระดับสติปัญญาและพฤติกรรมด้านการปรับตัวต่ำกว่าบุคคลปกติ มีค่าระดับสติปัญญา (Intelligent Quotient: IQ) ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 70 ลงมา
โรคออทิสติกหรือออทิสซึม
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors)
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม
2) ปัจจัยโครงสร้างทางสมอง
3) ปัจจัยทางสารสื่อประสาท
ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychological factors) ได้แก่ การเลี้ยงดู
อาการและอาการแสดง
ความบกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ไม่ใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว การเพ่งและการมองจะแปลกกว่าเด็กอื่น สบตาน้อยไม่ค่อยเข้าใจกับกฎเกณฑ์ของสังคม ชอบเล่นคนเดียว
การสื่อสารกับผู้อื่นทั้งการพูดและภาษาท่าทาง- ไม่พูดหรือเริ่มพูดช้า แต่มีรูปแบบของการท่องจำซ้ำๆ และไม่สื่อความหมาย- ไม่เข้าใจความหมายของการพูด - มีปัญหาในการสื่อสารทางภาษากาย เช่น ผงกหัว ส่ายหน้า- บางครั้งเมื่อแสดงความต้องการไม่ได้ก็จะจับมือผู้อื่นไปทำในสิ่งที่ต้องการ
พฤติกรรมและความสนใจแบบจำเพาะซ้ำเดิมเดิม เช่น การสะบัดมือ หมุนข้อเท้า โยกศีรษะ หมุนวัตถุ เปิดปิดไฟ
ความหมาย
การขาดการติดต่อกับผู้อื่นสิ่งแวดล้อมและโลกภายนอกหันเหความสนใจเข้าหาตนเอง ส่งผลกระทบต่อการสื่อสารการสร้างสัมพันธภาพแยกตัว บกพร่องด้านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมไม่สนใจสิ่งแวดล้อมทำกิจกรรมซ้ำๆ เคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
โรคพฤติกรรมเกเร
สาเหตุ
1)ผู้ที่เคยเป็นโรคสมาธิสั้น มาก่อน 2) กรรมพันธุ์ 3) ถูกบิดามารดาทอดทิ้งอยู่ในสถานสงเคราะห์ตั้งแต่อายุน้อย 4)บิดาติดสุรา และ 5) บิดามีบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม
ความหมาย
ผู้ที่มีความประพฤติฝ่าฝืนกฎระเบียบทางสังคมอย่างรุนแรง แสดงพฤติกรรมต่อต้าน ก้าวร้าว รุนแรงทั้งต่อบุคคล สัตว์ ทรัพย์สิน สิ่งของ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 12 เดือน
อาการและอาการแสดง
มีความประพฤติผิดปกติติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอย่างน้อย 6 เดือน โดยมีอาการต่อไปนี้เกิดขึ้นอย่างน้อย 3 อย่าง คือ 1) ลักขโมยปลอมลายมือ 2) หนีออกจากบ้าน 3) พูดโกหก 4) ลอบวางเพลิง 5) หนีโรงเรียน 6) ลอบเข้าไปขโมยของในบ้านคนอื่น 7) ทารุณสัตว์ 8) ข่มขืน 9) ใช้อาวุธในการต่อสู้ 10) ชอบหาเรื่องทะเลาะวิวาท 11) ลักทรัพย์จนถูกจับได้ และ 12) ทำอันตรายต่อผู้อื่น
โรคสมาธิสั้น
สาเหตุ
สันนิษฐานว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันและมีการสืบทอดทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยทางด้านชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
อาการและอาการแสดง
ขาดสมาธิ (inattention) เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน 2. อาการซน (hyperactivity) เด็กจะมีลักษณะซน ยุกยิก อยู่ไม่สุข นั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ ต้องลุกเดิน หรือขยับตัวไปมา ชอบปีนป่าย เล่นเสียงดัง เล่นผาดโผน 3. อาการหุนหันพลันแล่น (impulsivity) เด็กจะมีลักษณะวู่วาม ใจร้อน ทำอะไรไปโดยไม่คิดก่อนล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นขาดความระมัดระวัง
ความหมาย
โรคสมาธิสั้นประกอบด้วยอาการซนอยู่ไม่นิ่ง (hyperactive) หุนหันพลันแล่น (impulsivity) และอาการขาดสมาธิ