Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการถ่ายทอดทางพันธุกรรม - Coggle Diagram
หลักการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
คือ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอักรุ่นหนึ่งได้โดยทางยีนซึ่งเป็นหน่วยพันธุกรรมซึ่งควบคุมการถ่ายทอดลักษณะต่างๆของสิ่งมีชีวิตยีนจะอยู่บนโครโมโซมและโคโมโซมจะอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์
บิดาทางพันธุศาสตร์
เกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล
(Gregor Johann Mendel)
กฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดล
กฏข้อที่2 กฏแห่งการแยก (Law of segregation)
ยีนที่อยู่คู่กัน จะแยกตัวออกจากกันไปอยู่ในแต่ละเซลล์สืบพันธุ์ ดังนั้นภายในเซลล์สืบพันธุ์จะไม่มียีนที่เป็นคู่กันเลย
กฏข้อที่3 กฏแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (Law of independent assortment)
ยีนที่อยู่เป็นคู่กันเมื่อแยกออกจากกันแล้ว แต่ละยีนจะไปกับยีนอื่นใดก็ได้อย่างอิสระ นั่นคือ เซลล์สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่มของหน่วยพันธุกรรมของลักษณะต่างๆ โดยการรวมกลุ่มที่เป็นไปอย่างอิสระ จึงทำให้สามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นในรุ่นลูกรุ่นหลานได้ กฎข้อนี้ เมนเดลได้ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะโดยพิจารณาจากยีน 2 คู่ ( Dihybrid cross )
กฏข้อที่1 Law of uniformity
คือเมื่อสิ่งมีชิวิตที่เป็นพันธุ์แท้ (Homozygote)ที่มีอัลลีลที่แตกต่างกัน มาปฏิสนธิกัน จะทำให้ได้ทายาททางพันธุกรรมในรุ่นแรก มีลักษณะภายนอกที่เหมือนกัน และลักษณะทางพันธุกรรมเป็นพันธุ์ทาง(Heterozygote)
การแสดงออกของยีน (Gene expression)
หมายถึง การเปลี่ยนถ่ายข้อมูลพันธุกรรมที่เก็บไว้ในรูปของดีเอ็นเอ (หรืออาร์เอ็นเอ ในสิ่งมีชีวิตบางชนิด) เพื่อสร้างเป็นสารชีวโมเลกุลที่สามารถทำหน้าทีและมีบทบาทต่อการด ารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
กระบวนการส าคัญหลักๆ
3 กระบวนการได้แก่
ควบคุมการเจริญเติบโต
การเจริญพัฒนา (development)
การมีชีวิตอยู่
Central Dogma of Molecular Biology
สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่บนโลก ในสาย DNA จะมีส่วนที่ใช้ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมแต่ละลักษณะอยู่ เรียกว่า Gene ในการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมนั้น Gene ในสาย DNA จะเกิด กระบวนการถอดรหัส (Transcription) ส่งผ่านข้อมูลทางพันธุกรรมในรูปของ RNA จากนั้น RNA จะเข้าสู่กระบวนการแปลรหัส (Translation) เพื่อสังเคราะห์เป็นโปรตีน จากนั้น โปรตีนจึงทำหน้าที่ให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมตามมา
ยีน
Gene (ยีน) หมายถึง หน่วยทางพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม มีองค์ประกอบที่สำคัญเป็น กรดนิวคลีอิก ที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ (Deoxyribonucleic acid : DNA) เกิดจากการต่อกันเป็นเส้นของโมเลกุลย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) ทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกหลาน
Crossing over
คือกระบวนการซึ่งทำให้มีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างโครโมโซมซึ่งเป็นโฮโมโลกัสกัน ถือเป็นขั้นตอนท้ายๆ ของกระบวนการจัดเรียงใหม่ของพันธุกรรมในโปรเฟส 1 ของไมโอซิส (แพคีทีน) ในขั้นตอนไซแนปซิส ซึ่งไซแนปซิสเริ่มขึ้นก่อนที่จะมีการสร้างไซแนปโตนีมาลคอมเพลกซ์ และยังไม่เสร็จจนกระทั่งช่วงท้ายของโปรเฟส 1 กระบวนการไขว้เปลี่ยนส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อบริเวณซึ่งพอดีกันบนโครโมโซมที่เป็นคู่กันเกิดการแตกและต่อกันระหว่างโครโมโซมคู่กันคนละตัว
recombination
เป็นการสร้างลูกด้วยลักษณะสืบสายพันธุ์แบบผสมที่ต่างจากที่พบในพ่อแม่และโดยมากจะเกิดตามธรรมชาติ ในยูแคริโอต การรวมกันใหม่ของยีนในระยะไมโอซิสอาจทำให้เกิดยีนใหม่ ๆ ที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังลูกได้
แอลลีล หรือ อัลลีล (Allele)
หมายถึง ยีนต่างชนิดกันที่เข้าคู่กันได้ หรือ หน่วยกรรมพันธุ์ที่ ต่างชนิดกันแต่อยู่ในตำแหน่ง(Locus) ของโครโมโซมที่เป็นคู่กัน(Homologous chromosome) และควบคุมลักษณะพันธุกรรมเดียวกัน มัลติเปิลอัลลีลส์ หมายถึง พันธุกรรมลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่ถูกควบคุมด้วยยีนมากกว่า 2 อัลลีลส์ (Alleles) ที่ตำแหน่ง (Locus) หนึ่งของโครโมโซมที่เป็นคู่กัน (Homolo-gous chromosome)
Haplotype คือ รูปแบบของสารพันธุกรรม (genotype) ที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันได้ในกลุ่มประชากรหรือแต่ละบุคคล (Polymorphism) โดยจะเลือกใช้กลุ่มของ DNA (alleles) ที่มีการส่งผ่านไปสู่ลูกหลานเป็น block เดียวกัน เป็นตัวแทนของความหลากหลาย
Genotype คือ รูปแบบของยีนส์ที่ควยคุมฟีโนไทป์ต่างๆมี 2ประเภท ได้แก่1. พันธุ์แท้ เช่น AA aa
พันธุ์ทาง เช่น Aa
Phenotype คือ ลักษณะที่แสดงออกของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฎออกมาให้เห็นด้วยตาเช่น ตาสองชั้น มีลักยิ้ม ผมหยิก