Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์ที่ 1 Ca Lung metastesis - Coggle Diagram
สถานการณ์ที่ 1
Ca Lung metastesis
หญิงไทยอายุ 42 ปี Dx. CA Lung metastesis ยังไม่ได้ให้ยา Chemotherapy รู้สึกตัวดี มีอาการเหนื่อยนอนราบไม่ได้ On ICD ต่อลงขวดแบบสองขวดมีexudates 200 cc สีแดง Fluctuate ดี หายใจ Room air O2 sat 98% On 5% DN/2 V drip 60 cc/ hr ให้ทำBreathing Exercise มีอาการไอแห้งๆเป็นบางครั้ง ทำchest x-ray ยังไม่ได้ผล BP= 110/70 mmHg. P =94 ครั้ง/นาที R= 22 ครั้ง/ นาที T =37.4 ° C
พยาธิสภาพ
มะเร็งปอดเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก
แพร่ไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดจะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้รวดเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง
แบ่งได้เป็น 2 ชนิด
1.มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากรักษาด้วยการใช้ยาหรือฉายรังสี
2.มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (พบได้ประมาณ 85-90%) แต่แพร่กระจายได้ช้ากว่าและสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ
สาเหตุ
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งชนิดนี้ถึง 85% เนื่องจากภายในบุหรี่ประกอบไปด้วยสารพิษที่เป็นอันตรายและยังมีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด สามารถพัฒนาให้เกิดมะเร็งปอด รวมไปถึงมะเร็งชนิดอื่นอย่างมะเร็งในช่องปากและมะเร็งหลอดอาหารได้ในภายหลัง สารก่อมะเร็งเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเนื้อเยื่อภายในปอดได้ทันที
สูดดมควันบุหรี่จากคนรอบข้าง หรือเรียกกันว่า ควันบุหรี่มือสอง สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งปอดได้ไม่แพ้กับการสูบบุหรี่โดยตรง เพราะสามารถรับสารพิษหรือสารก่อมะเร็งได้ด้วยวิธีการเดียวกัน ผู้ที่อาศัยร่วมกับผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสในการเป็นมะเร็งปอดได้ถึง 20-30% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้อยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่
ก๊าซเรดอน สารกัมมันตรังสีที่มีอยู่ทั่วไป อาจมาจากดิน หิน หรืออาจพบในอาคารบางแห่ง หากสูดดมเอาก๊าซชนิดเข้าไปมาก ๆ อาจส่งผลให้ปอดได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
สารพิษและมลภาวะต่างๆ ที่ได้รับในแต่ละวันก็เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดได้สูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับสารเคมีหรืออยู่ในภาคอุตสาหกรรมซึ่งทำให้ได้รับสารเหล่านี้เข้าไปเป็นประจำโดยไม่รู้ตัว เช่น สารหนู ถ่านหิน แร่ใยหิน เบริลเลียม แคดเมียม เป็นต้น
ปอดมีการติดเชื้อ เนื้อเยื่อปอดที่มีการติดเชื้อหรือถูกทำลายจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroderma) หรือวัณโรค ที่เสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในเนื้อเยื่อปอด ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้
อาการและอาการแสดง
ไอเรื้อรัง
เจ็บหน้าอก
หายใจลำบากมีเสียงดัง (Wheezing)
ไอมีเลือดปนในเสมหะ
เสียงแหบ
เบื่ออาหาร
การป้องกัน
หยุดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุรี่
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง เช่น สถานที่ๆมีฝุ่นควันมาก หรือการทำงานในเหมืองแร่โดยไม่ใช้เครื่องมือป้องกันตนเอง
อยู่ในที่ๆ มีอากาศบริสุทธิ์
หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
ภาวะแทรกซ้อน
อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน (เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ) หรือมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion)
ทำให้หอบเหนื่อย หายใจลำบาก
มะเร็งมักจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง ไขสันหลัง ตับ กระดูก ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย พิการ หรือทุกข์ทรมาน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ปัญหาที่ 1 ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากมีการติดเชื้อในปอด
ข้อมูลสนับสนุน
SD: มีอาการไอแห้งๆเป็นบางครั้ง
OD: มีอาการเหนื่อยหอบ อัตราการหายใจ 22 ครั้ง/นาที
นอนราบไม่ได้ หายใจ Room air O2 sat
98%
วัตถุประสงค์
ให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงต่อความต้องการของร่างกาย
ลดการติดเชื้อและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
เกณฑ์ประเมินผล
อุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศา
ลักษณะหายใจปกติ ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ นอนราบได้ อัตราการหายใจ 16-20 ครั้ง/นาที
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอุณหภูมิของร่างกายทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามอาการไข้ ถ้าอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 38.5 c ให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษา
ประเมินการทำงานของปอดและการหายใจของผู้ป่วย
สังเกตอาการ Cyanosis
จัดท่าให้นอนศรีษะสูงเพื่อให้หายใจได้สะดวก
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ดูแลสุขอนามัยของผู้ป่วยและความสะอาดของสิ่งแวดล้อม
ปัญหาที่ 2 เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากหายใจหอบเหนื่อย
ข้อมูลสนับสนุน
SD:ผู้ป่วยหายใจหอบเหนื่อย
OD:เป็นโรคมะเร็งปอด
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนและร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการแน่นหน้าอกและหายใจสะดวกเป็นปกติ
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
T 36.5-37.4 °C , PR 60-100 ครั้ง/นาที, RR 16-20 ครั้ง/นาที BP 140/90 mmHg. O2 Sat 100%
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า การหายใจหอบชีพจรเร็ว
จัดท่านอนศีรษะสูงเพราะทำให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่ เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อน บนเตียง เพราะการพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการทำกิจกรรมทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
วัด vital Sign ทุก 4 ชั่วโมง เพราะการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
ประเมิน O2 saturation ทุก 4 ชั่วโมงเพราะเป็นการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
ปัญหาที่ 3 อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการมีลมและสารน้ำในเยื่อหุ้มปอด
ข้อมูลสนับสนุน
SD: ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการเจ็บแปลบที่หน้าอกขณะหายใจเข้า
OD: มีอาการเหนื่อยหอบ อัตราการหายใจ 22 ครั้ง/นาที นอนราบไม่ได้ หายใจ Room air O2 sat 98%
วัตถุประสงค์
ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการมีลมและสารน้ำในเยื่อหุ้มปอด
เกณฑ์การประเมิน
ลักษณะหายใจปกติไม่มีอาการเหนื่อยหอบ
อาการเจ็บแปลบที่หน้าอกขณะหายใจเข้าลดลง
อัตราการหายใจไม่เกิน 20 ครั้ง/นาที
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอัตราการหายใจ
ดูแล Intercostal drainage(ICD) ให้ทำงานได้ตามปกติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดย ดูแลให้เป็นระบบปิดอยู่เสมอเพื่อไม่ให้มีรอยรั่วให้ลมเข้าไปในเยื่อหุ้มปอดมากขึ้น
บีบรูดสายยางทุก2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการอุดตันของสายยาง
ดูแลขวดน้ำที่ต่อจาก ICDให้ต่ำกว่าทรวงอกผู้ป่วยเสมอเพื่อให้สารน้ำในเยื่อหุ้มปอดไหลออกมาได้สะดวก
ดูแลแท่งแก้วในขวดที่ต่อจากผู้ป่วยให้จมอยู่ใต้น้ำเสมอเพื่อป้องกันอากาศเข้าไปในเยื่อหุ้มปอดเพิ่มขึ้น
เปลี่ยนขวดแก้วและดูแลบริเวณแผลที่มี ICD โดยยึดหลัก Aseptic technique เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
เมื่อต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปนอกหอผู้ป่วยควรเตรียมคีมหนีบ (clamp) ท่อ ICD ไปด้วยถ้าเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ขวด ICD แตกจะได้หนีบท่อไว้เพื่อป้องกันลมเข้าไปในเยื่อหุ้มปอด
สังเกตอาการของการมีลมหรือน้ำเพิ่มขึ้นในเยื่อหุ้มปอด เช่นมีอาการเหนื่อย หรือเจ็บหน้าอกแบบเสียวแปลบขณะหายใจเข้ามากขึ้น
ฝึกให้ผู้ป่วยบริหารการหายใจ(deep breathing) เพื่อให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่
ปัญหาที่ 6 ไม่สุขสบาย เนื่องจากมีอาการไอมาก
ข้อมูลสนับสนุน
SD: ผู้ป่วยบอกว่าคอแห้ง ไอจนเจ็บคอและหน้าท้อง
OD: -
วัตถุประสงค์
บรรเทาอาการไอให้น้อยลง
เกณฑ์การประเมิน
อาการไอน้อยลง
สุขสบายขึ้นไม่เจ็บหน้าท้อง
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการไอ
แนะนำให้จิบน้ำอุ่นบ่อยๆเพื่อให้คอชุ่มชื้นลดการระคายเคืองได้ในสำคอ
ดูแลให้ได้รับยาแก้ไอยาตามการรักษาของแพทย์
สอนวิธีการหายใจและไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective cough) และกระตุ้นให้หายใจและไออย่างถูกต้องเพื่อขับเสมหะออกได้
แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เกิดอาการไอมากขึ้น เช่น อาหารทอด อาหารเผ็ด ควัน ฝุ่นละอองเป็นต้น
ปัญหาที่ 4 การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนก๊าซในถุงลมปอดลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
SD:ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้
OD:อัตราการหายใจเท่ากับ 22 ครั้งต่อนาที O2 sat Room air O2
98%
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมให้การแลกเปลี่ยนก๊าซในถุงลมปอดมีประสิทธิภาพมากที่สุด
เกณฑ์การประเมิน
ลักษณะหายใจปกติ ไม่มีอาการหายใจลำบาก อัตราการหายใจประมาณ 16-20 ครั้งต่อนาที
ผู้ป่วยไม่เกิดอาการขาดออกซิเจน
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะลักษณะการหายใจว่ามีการหายใจเร็วและแรงขึ้นหายใจลำบากหรือใช้กล้ามเนื้อคอและไหล่ช่วยในการหายใจหรือไม่ และสังเกตอาการ cyanosis
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงเพื่อทำให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ไม่ไปดันปอดทำให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น การระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนแก๊ส เป็นไปได้ดีขึ้น
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาของแพทย์
ฝึกให้ผู้ป่วยบริหารการหายใจให้ถูกต้องโดยหายใจเข้าลึกๆให้ท้องป่องแล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกอย่างช้าๆ จนหมด เพื่อลดการเกิด airway collapse และฝึกกล้ามเนื้อกระบังลมให้แข็งแรง
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้มากขึ้นโดยเริ่มเดินในเวลาสั้นๆ 10-15 นาทีแล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาจนถึง 30 ถึง 40 นาที ต่อวัน ถ้าผู้ป่วยสามารถทำได้อาจเพิ่มแรงของการออกกำลังกายโดยการเดิน ให้เร็วขึ้นเพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นจากการต้องนอนอยู่แต่ในบ้านมาเป็นผู้ที่สามารถทำกิจกรรมนอกบ้านได้บ้าง
ติดตามผลการตรวจ chest X-ray และ blood gas เป็นระยะๆ
ปัญหาที่ 5 มีอาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เนื่องจากมี exudates 200 cc สีแดง
ข้อมูลสนับสนุน
SD:ผู้ป่วยบอกว่านอนราบไม่ได้
OD:อัตราการหายใจ 22 ครั้ง/นาที นอนราบไม่ได้ หายใจ Room air O2 sat 98%
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สุขสบาย
เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจปอดขยายได้เต็มที่
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากเดิม
ผู้ป่วยบอกว่าหายใจสะดวกขึ้น ปอดขยายตัวได้เต็มที่
กิจกรรมการพยาบาล
เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
จัดท่านอน fowler position เพื่อให้ปอดขยายตัวได้ดี
กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่สามารถกระทำได้
อ้างอิง
สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ สุจิตรา ลิ้มอำนวย และวิพร เสนารักษ์. (2540). กระบวนการพยาบาล : ทฤษฎีและการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 10).ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
สุระพรรณ พนมฤทธิ์. และสุภาภรณ์ อุดมลักษณ์. (2543). กระบวนการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ : บริษัทประชุมช่าง จำกัด.
ศิริพร ขัมภลิขิต สุภาพ ธีระประทีป และธีรนุช ห้านิรัติศัย. (2542). คู่มือวินิจฉัยทางการพยาบาล. 1995-1996. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ : บุ๊คเน็ท จำกัด.
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/lung-cancer
สมาชิก
นางสาว พรษิพิมพ์ สมประศาสน์ 6301110801030
นางสาวพิจิตรา อภิบาลคีรีมาศ 6301110801031
นางสาวพีราภรณ์ พื้นชมภู 6301110801032
นางสาวภณิดา หนูประโคน 6301110801033
นางสาวเมธาวลัย ชัยรักษา 6301110801035
นางสาวมุกธิดา อาจหาญ 6301110801034