Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เมแทบอลิซึมของไขมันและความผิดปกติที่เกิดขึ้น (Lipidmetabolism) - Coggle…
เมแทบอลิซึมของไขมันและความผิดปกติที่เกิดขึ้น
(Lipidmetabolism)
กระบวนการเมแทบอลิซึม(Metabolism)
เมแทบอลิซึมเป็นกิจกรรมทางเคมีที่เกิดขึ้นเฉพาะสิ่งมีชีวิตเท่านั้น เช่น การสร้างพลังงาน การเจริญเติบโต การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งการกำจัดของเสีย ขบวนการเมแทบอลิซึมแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ
Catabolism หมายถึง ปฏิกิริยาที่ย่อยสลายสารประกอบขนาดใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุลขนาดเล็ก และปล่อยพลังงานเคมีที่อยู่ในพันธะโมเลกุลนั้นๆ เรียกว่า Exergonic
Anabolism หมายถึง ปฏิกิริยาที่สร้างหรือรวมตัวเอาโมเลกุลขนาดเล็กให้เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ซึ่งต้องการพลังงาน เรียกว่า Endergonic
นอกจากการเสียหรือรับพลังงานแล้ว ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตจะมีการถ่ายทอดอิเล็กตรอน เรียกว่า ปฏิกิริยา Oxidation และ Reduction
Oxidation หมายถึง ปฏิกิริยาที่โมเลกุลเกิดการสูญเสียอิเล็กตรอน
Reductiontion หมายถึง ปฏิกิริยาที่โมเลกุลได้รับอิเล็กตรอน
การสังเคราะห์กรดไขมัน (Fatty Acid Synthesis)
เกิดขึ้นที่ไซโตพลาสซึมของเซลล์ตับ กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อไขมัน
จะเริ่มจ้นจาก Acetyl CoA แล้วค่อยๆเพิ่มจำนวนคาร์บอนขึ้นครั้งละ 2 อะตอม จนได้กรดไขมันที่มีจำนวนคาร์บอนตามต้องการ
จะสังเคราะห์เมื่อเซลล์มีพลังงานเพียงพอ และมี Acetyl CoA เหลือใช้ แต่เอนไซม์ที่ใช้สังเคราะห์มีอยู่ในไซโตพลาสซึม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำเอา Acetyl CoA ออกมาจากไมโตคอนเดรียก่อน
เมแทบอลิซึมของคีโตนบอดี (Ketone Bodies Metabolism)
สารคีโตนบอดี เป็นกลุ่มของสารประกอบที่สังเราะห์ได้ในร่างกายเมื่อมีเมแทบอลิซึมของไขมันเพิ่มขึ้นมากจะมีสารคีโตนบอดีสังเคราะห์จากAcetyl CoAมากขึ้นกว่าปกติ เรียกว่าภาวะคีโตซีส (Ketosis)
สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นกรด ประกอบด้วย แอซีโตน กรดแอซีโตแอซีติก และกรดบีตา-ไฮดรอกซีบิวบิวทิริก คนที่เป็นโรคเบาหวานอย่างรุนแรงจะมีสารคีโตนบอดีในเลือดสูงกว่าปกติ อาจทำให้เกิดาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) และพบสารคีโตนบอดีในปัสสาวะ เช่น อาจมีกลิ่นแอซีโตนในปัสสาวะ หรือเรียกภาวะผิดปกติเหล่านี้ว่า คีโตนแอซิโดซิส (Ketonacidosis)
กรณีที่ร่างกายได้รับกลูโคสน้อย เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ขาดอินซูลินที่ลำเลียงกลูโคสเข้าสู่เซลล์ เซลล์ต้องสลายกรดไขมันเพื่อใช้สร้างพลังงาน ปริมาณAcetyl CoA จะสูงขึ้น
แคตาบอลิซึมของกรดไขมัน (Catabolism of fatty acid)
การกระตุ้นกรดไขมัน (Fatty acid activation steps)
การพากรดไขมันเข้าสู่ไมโตคอนเดรีย (Acyl carnitine shuttle)
ปฏิกิริยาเบต้าออกซิเดชัน (B-oxidation) ของกรดไขมันอิ่มตัว
การออกซิไดซ์กรดไขมัน oleate ที่มี 18 c และมี 1 พันธะคู่ (บนคาร์บอนตำแหน่งที่ 9)
ในชั้นแรก oleoyl-CoA (C-18) ซึ่งจะถูกส่งไปยังผนังของไมโตคอนเดรียในรูปของ oleoyl-carnitine และจะเปลี่ยนกลับมาเป็น oleoyl-CoA เหมือนเดิมเมื่ออยู่ในแมทริกซ์ (-2ATP)
จากนั้น oleoyl-CoA ก็จะถูกออกซิไดซ์ 3 ครั้ง ได้ 3 acetyl-CoA และ coenzyme A ester ของกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มี 12 คาร์บอน
ในการออกซิไดซ์ครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นตำแหน่งของพันธะคู่ที่มีการจัดเรียงตัวแบบซิสเอนไซม์ ennoyl-CoA isomerase ก็จะเปลี่ยน dodecenoyl-CoA (C12) จากซิส-ไอโซเมอร์มาเป็นทรานส์-ไอโซเมอร์ (ไม่มี FADH2 เกิดขึ้น ทำให้ได้ ATP ลดลง 1.5 ATP)
และเข้าสู่กระบวนการ Oxidation ต่ออีก 5 ครั้ง ได้เป็น 6 Acetyl-CoA
ดังนั้น oleoyl-CoA จะถูกออกซิไดซ์ทั้งหมด 8 ครั้ง และได้ 9 Acetyl-CoA
Total ATP = 120 - 1.5 = 118.5 ATP
ความผิดปกติที่เกิดขึ้น
เมแทบอลิกซินโดรม
เมแทบอลิกซินโดรม คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหาร หรือที่เรียกแบบทั่วไป คือ โรคอ้วนลงพุง ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนนี้มากที่สุดได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกิน ผู้ที่มีเส้นรอบเอวใหญ่กว่ามาตรฐานที่กำหนดและผู้ที่มีระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง
สาเหตุของภาวะเมตาบอลิกซินโดรมนั้นเกิดจากร่างกายมีอาการดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) จึงทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดการสะสมของไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ในเลือด