Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประโยชน์ของการสวดมนต์ - Coggle Diagram
ประโยชน์ของการสวดมนต์
ประโยชน์ของการไหว้พระ
๓. ฝึกให้มีสติ เห็นหรือรู้เท่าทันอาการของจิต หรือกิริยาของจิต หรือพฤติแห่งจิตที่แสดงออกมาเป็นความคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งและอารมณ์ต่างๆ แทรกคำสวดมนต์เป็นระยะๆ
๑. จะทำให้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้มีความรู้สึกละอายแก่ใจและเกรงกลัวต่อการทำชั่ว ถ้าสวดมนต์พร้อมคำแปลจะทำให้เข้าใจคำสอนไปด้วย
-
๔. มีปัญญาเห็นว่า ถ้าขาดสติเผลอเพลินติดไปกับความคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้นก็จะทำให้ลืมคำสวดมนต์และจะทำให้เกิดทุกข์ ถ้ามีสติ สมาธิ ปัญญารู้เท่าทัน ก็จะไม่เผลอเพลินติดไปกับสิ่งใดให้ใจเป็นทุกข์ เรียกว่า เห็นอริยสัจจ์
๕. ฝึกสติ สมาธิ ปัญญา รู้คำสวดมนต์ควบคู่ไปกับรู้ความ คิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งและอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดแทรกคำสวดมนต์ได้ทุกความคิดอย่างต่อเนื่อง โดยรู้อยู่กับที่ไม่เผลอเพลินติดไปเลย แล้วจะรู้หรือเห็นจิตที่คิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่ง และอารมณ์ต่างๆ นั้นเกิดขึ้นดับไปๆ ๆ เป็นการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะทำให้ไม่ขาดสติเผลอเพลินติดไปกับความรู้สึก นึก คิด ตรึก ตรอง ปรุงแต่งและอารมณ์ใดเลย ก็จะพ้นทุกข์
ข้อสังเกตู
ถ้ารู้เรื่องที่คิดไม่ใช่รู้จิตหรือรู้ใจ แต่รู้ธรรมารมณ์ คือ สิ่งใดหรือเรื่องราวใดๆ ที่จิตหรือใจคิดไปถึง และแสดงว่าเพลินใจติดไปกับความคิดนั้นแล้ว แต่ถ้ารู้จิตที่แสดงอาการคิด ซึ่งเป็นความไหวตัวหรือกระเพื่อมตัวของจิต เรียกว่ารู้จิตหรือเห็นจิตที่แสดงอาการ หรือแสดงกิริยา หรือแสดงพฤติแห่งจิต
แต่ในการฝึกตอนแรกๆ จะรู้เรื่องที่คิดยาวๆ ก่อน ต่อไป เมื่อรู้ตัวเร็วขึ้น เรื่องที่คิดก็จะสั้นลงไปเรื่อยๆจนถึง “ใจ” ซึ่งเป็นต้นจิตที่คิด ที่แสดงกิริยา หรือแสดงอาการ หรือความคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งและอารมณ์ต่างๆ ล้วนออกมาจาก “ใจ” ซึ่งเรียกว่า ต้นจิต หรือ จิตต้น จึงทำให้มีสติปัญญาตั้งที่ใจ รู้อยู่ที่ใจ หรือรู้อยู่กับที่ที่ใจ ก็สามารถรู้ตั้งแต่คิด หรือต้นจิตที่แสดงกิริยาหรืออาการคิด
จากนั้นก็ฝึกสติปัญญาให้รู้ตั้งแต่ต้นจิตหรือต้นคิดอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย โดยให้รู้ควบคู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ใช้เป็นเครื่องล่อจิตตลอดเวลา เช่น รู้ควบคู่กับคำสวดมนต์ หรือคำบริกรรมหรือลมหายในข้าออก หรืออิริยาบถของกาย หรืองานที่กำลังทำอยู่ ก็จะไม่ขาดสติเผลอเพลินไปกับสิ่งใดให้ใจเป็นทุกข์
ประโยช์ของการทำสมาธิ
มีอะไรบ้าง
-
-
-
1.3 ปริมาณ กรดแลคเตท ในเลือด ซึ่งเกี่ยวกับความคิด ความวิตกกังวล จะลดลงเป็นลำดับทำให้คิดรอบคอบมากขึ้นก่อนที่จะทำอะไรลงไป
-
-
-
-
-
-
การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนามีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เป็นการสวดสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ โดยสรุปเอาประเด็นสำคัญมาสวด เพื่อกันลืม เพื่อทบทวน และเพื่อเป็นการทรงจำ ที่บอกว่าเพื่อกันลืมก็เพราะในครั้งพุทธกาลไม่มีพระไตรปิฎกเป็นเล่ม ๆ อย่างนี้จึงต้องใช้วิธีท่องจำคำสอนของพระพุทธเจ้าแม้หลังจากพุทธปรินิพพานมีการสังคายนาพระไตรปฎิกครั้งที่ ๑ เรียบเรียงคำสอนทั้งหมดเป็นพระไตรปิฎกแล้วก็ตาม ก็ยังใช้การท่องจำสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลา ๔๐๐ กว่าปี ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” ภายหลังจึงเริ่มจารึกด้วยตัวอักษรเพราะฉะนั้นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดต้องอาศัยการท่องจำทั้งนั้น และมีการคัดเอาคำสอนที่สำคัญ ๆ มาสวดสาธยายอยู่เป็นเนืองนิตย์ เป็นบทสวดมนต์สืบทอดต่อกันมาทั้งนี้เพื่อตอกย้ำตัวเอง เหมือนกับที่คนทางโลกท่องสโลแกนบางอย่าง
เราจะเห็นว่าในครั้งพุทธกาล บางคราวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาพาธ ยังมีพระภิกษุมาสาธยายพุทธมนต์ให้ฟัง เช่น บทโพชฌงค์ และด้วยอานุภาพแห่งบทโพชฌงค์ที่ฟังแล้วทำให้สบายใจ อาการอาพาธก็คลายและทุเลาลง แล้วเวลามีพระภิกษุอาพาธพระพุทธเจ้าก็ทรงสาธยายพระพุทธมนต์ให้ฟังเหมือนกัน บทสวดมนต์เป็นสิ่งที่มีอานุภาพอย่าดูเบา และชาวพุทธเราก็สวดกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ทั้งพระภิกษุ ทั้งญาติโยมเพื่อเป็นการทบทวนพุทธคุณและคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-