Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ - Coggle Diagram
สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ
ตัวละคร
กวนอู (จ๊กก๊ก)
ครองเมืองแห้ฝือ เป็นผู้ดูแลภรรยาของเล่าปี่ (พี่สะใภ้) มีความโดดเด่นด้านความซื่อสัตย์ และกตัญญู
เตียวเลี้ยว (วุยก๊ก)
ทหารคนสำคัญของโจโฉ มีวาทศิลป์ รู้จักการเจรจา เป็นผู้ที่เสนอความคิดเห็นได้อย่างมีเหตุผล รวมทั้งเป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้กวนอูมาอยู่กับโจโฉ
เล่าปี่ (จ๊กก๊ก)
มีพี่น้องร่วมสาบานคือ กวนอู และเตียวหุย เล่าปี่เป็นคนแก้ปัญหาได้รวดเร็ว รักพี่น้อง และเป็นที่รักของผู้คนรอบข้าง
โจโฉ (วุยก๊ก)
เป็นผู้ต่อกรกับเหล่าโจรโพกผ้าเหลือง และเคยพยายามลอบฆ่าตั๋งโต๊ะ
สาระสำคัญของเรื่อง
โจโฉปรึกษาราชการทัพกับเทียหยก เรื่องยกทัพไปรบกับเล่าปี่ ที่เมืองซีจิ๋ว แต่กลัวว่า อ้วนเสียว จะตีเมือง ฮูโต๋ กุยแกเห็นว่าควรจัดทัพไปตีเมืองซีจิ๋วก่อน ซุนเซียนนำข่าวไปแจ้งกวนอูที่เมืองแห้ฝือ แจ้งแก่ เล่าปี่ที่เมืองเสียวพ่าย เล่าปี่ขอความช่วยเหลือจากอ้วนเสี้ยวแต่ไม่สำเร็จ
สาระสำคัญของเรื่อง(ต่อ)
เตียวหุยยกกองทหารออกมาปล้นค่ายโจโฉถูกกลศึกพ่ายแพ้ เล่าปี่เข้าไปขอความช่วยเหลือจากอ้วนเสี้ยว ที่เมืองกิจิ๋ว โจโฉเข้าตีเอาเมืองเสียพ่ายได้และยกกองทัพไปตีเมืองซีจิ๋ว กวนอูมีฝีมือกล้าหาญชำนาญ ในการสงครามโจโฉอยากชุบเลี้ยงไว้เป็นกำลังทัพ
เตียวเลี้ยวอาสาไปเกลี้ยกล่อม โดยกวนอูมีข้อเสนอ 3 ข้อ
ขอพระราชทานเบี้ยหวัดของเล่าปี่ แก่ภรรยาของเล่าปี่ทั้งสองคน ห้ามผู้ใดเข้าออกถึงประตูที่อยู่ได้
ถ้าพบเล่าปี่ ก็จะกลับไปอยู่กับเล่าปี่ เพราะสาบานเป็นพี่น้องกัน
ขอเป็นข้าพระเจ้าเหี้ยนเต้
คุณค่าด้านสังคม
สะท้อนค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์และกตัญญู
เห็นได้จากตัวละครในเรื่องที่ยกย่องการกระทำของอิเยียงที่ภักดีจนยอมแก้แค้นพร้อมสละชีวิตเพื่อคิเป๊ก รวมทั้งการยกย่องกวนอูผู้ภักดีต่อเล่าปี่
สะท้อนความเชื่อเรื่องโชคลาง และโหราศาสตร์
เห็นได้จากตอนที่โจโฉเชื่อและวางแผนตามคำทำนายของโหรที่บอกว่า ธงหักแสดงถึงการปล้นเสบียงในค่ายของโจโฉ
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การใช้สำนวนเปรียบเทียบที่คมคาย
เพิ่มอรรถรสในการอ่าน
และทำให้เข้าใจความคิดและความรู้สึกของตัวละครได้อย่างชัดเจน
บทสนทนาที่มีวาทศิลป์
มากกว่าบทสนทนาโต้ตอบกันทั่วไป
คือการสอดแทรกแง่คิดหรือความคมคายเข้าไปในประโยคในบทสนทนานั้นด้วย
มีการแต่งแบบนิทานซ้อนนิทาน
เห็นได้จากการสอดแทรกนิทานโบราณอย่าง ‘นิทานอิเยียง’ เพื่อเป็นตัวอย่างเรื่องความซื่อสัตย์และกตัญญู ซึ่งนับเป็นกลวิธีการแต่งที่ซับซ้อนมากขึ้น และทำให้ผู้อ่านได้เรียนรู้นิทานโบราณของจีนอีกเรื่องหนึ่งไปด้วย
คุณค่าด้านเนื้อหา
เป็นประโยชน์ต่อราชการในสมัยรัตนโกสินทร์
เพราะในยุคสมัยนั้นยังมีสงครามและการสู้รบกับดินแดนต่าง ๆ สามก๊กจึงเป็นวรรณคดีที่เปรียบเสมือนตำราที่ถ่ายทอดกลยุทธ์การทำสงคราม ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการคน การทำงาน การวางแผนให้แยบคายต่าง ๆ
เป็นแบบอย่างในการแปลหนังสือ
เพราะสำนวนภาษายังอ่านเข้าใจง่ายและสละสลวย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ซึ่งนับว่าเป็นวรรณคดีแปลแสนคลาสสิกของคนหลายยุคสมัยเลยทีเดียว
ข้อคิดที่ได้รับ
การอ่านนิยายที่เป็นวรรณคดีมรดก จุดประสงค์สำคัญคือให้เห็นค่านิยมของบรรพบุรุษว่ามีแนวคิด ในเรื่องต่างๆอย่างไร เช่น ความประพฤติของตัวละคร เหมาะสมหรือไม่
ความกตัญญู รักษาความสัตย์ และมีความซื่อตรง เป็นคุณธรรมที่สมควรได้รับการยกย่อง และนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
การอ่านวรรณกรรมที่ดีจะช่วยยกระดับและพัฒนาจิตใจให้ดีงามไปด้วย