Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล - Coggle Diagram
สื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล
ประเภทของการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียง
Loose Spot
คือ สปอตโฆษณาที่คั่นระหว่างช่วงต่อรายการ
In program Spot
คือ สปอตโฆษณาที่เปิดอยู่ในรายการใดรายการหนึ่ง
การเป็นผู้สนับสนุนรายการ (Sponsorship)
เป็นการซื้อเวลาในรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อสนับสนุนรายการและเผยแพร่โฆษณาไปด้วย
ความสำคัญของสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล
สื่อโฆษณา
การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
การเร่งเร้าการขาย
การเตือนความจำให้แก่ผู้บริโภค
การดึงดูดความสนใจผู้บริโภค ณ จุดขาย
การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค
สื่อประชาสัมพันธ์
เป็นตัวกลางในการนำพาข่าวสาร
สร้างความรู้ความเข้าใจที่
ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร
การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
คุณลักษณะของสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล
สื่อโฆษณาประเภทกระจายเสียงและภาพ
จุดเด่น
สื่อโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงมีราคาไม่สูงทำให้สามารถสร้างความถี่ในการโฆษณาได้สูง และยังเป็นสื่อที่มีความครอบคลุมสูง
สื่อโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นโดยผ่านระบบออนไลน์
การโฆษณาทางสื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์สามารถเจาะกลุ่มผู้รับสารได้ดี
ผู้รับสารเชื่อถือโฆษณาทางโทรทัศน์มากกว่าสื่อออนไลน์
สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ดึงดูดความสนใจและสร้างผลกระทบต่อผู้รับสารได้มาก
ข้อจำกัด
ผู้รับสารเปิดวิทยุหรือโทรทัศน์ในขณะทำกิจกรรมอื่นไปด้วย หรือเปลี่ยนช่องเมื่อเข้าสู่ช่วงโฆษณา
สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ใช้งบประมาณสูงทั้งการผลิตและการซื้อเวลา
สปอตโฆษณามีระยะเวลาจำกัด
ผู้รับสารเกิดความเบื่อหน่ายได้ง่าย
อายุข่าวสารสั้น
สื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์ : หนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์ประชานิยม (Popular Newspaper)
หนังสือพิมพ์คุณภาพ (Quality Newspaper)
หนังสือพิมพ์เฉพาะกลุ่ม (Specialized Newspaper)
จุดเด่น
สื่อสิ่งพิมพ์มีความน่าเชื่อถือสูง
ผู้อ่านสื่อสิ่งพิมพ์มีความตั้งใจอ่านเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร
สื่อสิ่งพิมพ์มีพื้นที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารมาก
สื่อสิ่งพิมพ์มีความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง
สื่อสิ่งพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์มีความครอบคลุมสูง
สื่อสิ่งพิมพ์สามารถแนบส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น คูปอง แคตาล็อกสินค้า แผ่นพับ ใบปลิว เป็นต้น
จำนวนผู้อ่านสื่อสิ่งพิมพ์มีมากกว่าจำนวนยอดพิมพ์
แนวทางการสร้างสรรค์ในสื่อสิ่งพิมพ์สามารถทำได้หลากหลาย
ข้อจำกัด
การโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์มีอายุข่าวสารสั้น
ต้องมีการจองล่วงหน้า
สื่อสิ่งพิมพ์ดึงดูดความสนใจจากผู้รับสารได้น้อยกว่า
การเข้าถึง (Reach) และความถี่ (Frequency) อยู่ในระดับต่ำ
สื่อโฆษณานอกบ้าน/สื่อโฆษณากลางแจ้ง
จุดเด่น
สื่อนอกบ้านสามารถเจาะจงพื้นที่ในการวางสื่อโฆษณาได้
เป็นสื่อที่มีความถี่สูง
สื่อโฆษณานอกบ้านเหมาะสมที่จะใช้เป็นสื่อสนับสนุนเพื่อย้ำเตือนความทรงจำของผู้บริโภค
มีการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สื่อนอกบ้านสามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหวหรือสร้างมิติแก่ภาพ
การออกแบบสื่อโฆษณานอกบ้านสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
ข้อจำกัด
ระยะเวลาในการเปิดรับสื่อค่อนข้างสั้น
ไม่สามารถให้สารโฆษณาได้อย่างละเอียด
ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาค่อนข้างสูง
ป้ายโฆษณากลางแจ้งขนาดใหญ่จำนวนมากอาจทำลายทัศนียภาพหรือบดบังวิวธรรมชาติได้ ทำให้เป็นปัญหากับชุมชนแวดล้อม
การเลือกและประเมินผลสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล
หลักการเลือกใช้สื่อโฆษณาควรพิจารณาจาก...
วัตถุประสงค์ของการโฆษณา
กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
คุณลักษณะของสื่อโฆษณา
งบประมาณในการโฆษณา
การประเมินผลสื่อโฆษณา
การประเมินประสิทธิภาพของสื่อโฆษณา เป็นการประเมินว่าการใช้งบประมาณโฆษณามีความคุ้มค่าหรือไม่
การประเมินประสิทธิผลการเข้าถึงของสื่อหรือการเปิดรับของผู้รับสาร เป็นการประเมินว่าสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ สามารถเข้าถึงผู้รับสารเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด
สื่อประชาสัมพันธ์
หลักการเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์ควรพิจารณาจาก...
วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
กลุ่มเป้าหมาย
สถานการณ์แวดล้อม
ศักยภาพในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์และงบประมาณ
ความน่าเชื่อถือของสื่อ
การประเมินผลสื่อประชาสัมพันธ์
การประเมินผลผลิต เป็นการประเมินโดยใช้เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือการนับจำนวนของผลผลิตที่ได้
การประเมินผลสัมฤทธิ์ เป็นการวัดความสำเร็จของการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
การประเมินการเปิดรับสาร เป็นการประเมินสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผู้อื่นเผยแพร่ให้ (Earned Media)