Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๑๒ บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจ…
บทที่ ๑๒
บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
พฤติกรรมบำบัด
เทคนิคที่ใช้บ่อยในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช
การใช้แรงเสริมพฤติกรรม เช่น การชมเชย ความสนใจ
การฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม คือ การฝึกทักษะในการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น เเละโลกภายนอก
การขจัดความรู้สึกอย่างเป็นระบบ คือ ฝึกต่อต้านความรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวลของตนโดยการผ่อนคลาย
การเรียนรู้จากตัวแบบ เป็นการสร้างพฤติกรรมใหม่ให้เกิดขึ้น
การใช้ตัวกระตุ้นที่ไม่พึงพอใจ เป็นการลดหรือเป็นการจัดการกับพฤติกรรมด้วยการวางเงื่อนไขแบบ
การสร้างพฤติกรรมใหม่ สร้างสถานการณ์ที่คล้ายของจริงขึ้นมา
การขจัดพฤติกรรม เช่น การให้แรงเสริมบวก กับพฤติกรรมที่เหมาะสม
บทบาทของพยาบาล
เป็นผู้บำบัดหรือผู้ช่วยเหลือผู้บำบัด
ช่วยสถานที่และจัดสภาพการณ์ที่เหมาะสมกับวิธีการรักษาแต่ละวิธี
ร่วมกับแพทย์และผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษา
ให้กำลังใจผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นการรักษาจนกระทั่งสิ้นสุดการรักษา
ร่วมกับผู้ป่วยประเมินผลการรักษา
องค์ประกอบในการใช้พฤติกรรมบำบัด
การรักษามีรูปแบบและโครงสร้างที่แน่นอน
การรักษาจะเน้นที่ปัญหาปัจจุบัน
วิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้น
ทำการประเมินปัญหาทั้งก่อนและหลังการรักษา
ผู้ป่วยจะมีส่วนในการกำหนดโปรแกรมการรักษา
ในการรักษาแต่ละครั้งจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน
จุดประสงค์หลักของการรักษา คือ การที่ผู้ป่วยพัฒนาความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมปัญหา
ผู้รักษาจะช่วยสอนให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะใหม่ๆ
เทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการรักษาต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ในผู้ป่วยแต่ละราย
การบำบัดรักษาทางจิตใจ
จิตบำบัดรายบุคคล (Individual psychotherapy)
จิตบำบัดแบบหยั่งเห็น
จุดมุ่งหมาย
แก้ไขปัญหาความขัดแย้งของจิตใจเฉพาะเรื่อง
แก้ไขกลไกทางจิตที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพ
ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความจริงของชีวิต
โรคที่ใช้รักษา
โรคประสาท บุคลิกภาพแปรปรวน หลงตัวเอง กามวิตฐาน บกพร่องทางเพศ จิตเภทชนิดแฝง โรคทางกายที่มีสาเหตุมาจากจิตใจ
จิตบำบัดแบบประคับประคอง
มุ่งส่งเสริมปรับปรุงกลไกการป้องกันทางจิตให้เข้มแข็ง เป็นจิตบำบัดที่สนใจเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
วิธีการที่ใช้
Reassurance คือ การให้ความมั่น
Encouragement คือ การสนับสนุน
Guidance คือ การแนะแนวทางที่เหมาะสม
Externalization of interne คือ การหันเหความสนใจไปสู่ภายนอก
Environmental manipulation คือ การจัดการกับสิ่งแวดล้อม
Suggestion คือ การจูงใจให้เชื่อ
Persuasion คือ การโน้มน้าวชักนำ
Ventilation or Catharsis คือ การระบายอารมณ์
Desensitization คือ การลดความอ่อนไหวของผู้ป่วย
จิตวิเคราะห์
เน้นบทบาทของแรงในจิตไร้สำนึกในโรคประสาท เช่น การฝัน และการพลั้งปาก จากผลของประสบการณ์ในวัยเด็ก และกลไกป้องกันของจิตใจต่อความวิตกกังวล
การสะกดจิต
การทำให้เกิดความผิดปกติในการรู้สึกตัว คล้ายกับการนอนหลับ แต่ไม่ใช่การนอนหลับ ขณะถูกสะกดจิตผู้ป่วยจะมีสมาธิสูง
และเชื่อฟังคำแนะนำหรือคำสั่งได้ดี
จิตบำบัดกลุ่ม (Group Psychotherapy)
เป็นการรักษาความแปรปรวนทางจิตใจและพฤติกรรมอย่างหนึ่งโดยอาศัยอิทธิพลของกระบวนการกลุ่มโดยเน้นสัมพันธภาพระหว่างบุคคลช่วยให้เกิดการเรียนรู้ความไว้วางใจความซื่อสัตย์ ขนาดของกลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 4-8 คน มักไม่เกิน 12 คน
บทบาทของพยาบาล
พยาบาลทั่วไป จะทำหน้าที่บริหารงานในหน่วยรักษาให้การพยาบาลตามแผนการรักษา
พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาลจิตเวช สามารถทำจิตบำบัดได้ทั้งกับผู้ป่วยรายบุคคลและเป็นกลุ่ม และเป็นที่ปรึกษาสำหรับพยาบาลทั่วไปและช่วยแพทย์ในการบำบัด
ครอบครัวบำบัด
จุดมุ่งหมายเพื่อให้การกระทำหน้าที่ในครอบครัวทั่ว ๆ ไปดีขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงในสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัว เพื่อลดปัญหาหรือความไม่ลงรอยกันที่เกิดขึ้น
ประเภทของครอบครัวบำบัด
ครอบครัวบำบัดแบบอิงจิตวิเคราะห์
ครอบครัวบำบัดโดยให้ความสำคัญกับเรื่องขอบเขตโครงสร้างส่วนบุคคลของครอบครัว
ครอบครัวบำบัดโดยให้ความสำคัญกับเรื่องการสื่อสารในครอบครัว
บทบาทของพยาบาล
ติดต่อญาติ นัดวัน เวลา สถานที่
จัดสถานที่ในการทำกลุ่ม ที่เงียบสงบ เป็นส่วนตัว
เยี่ยมครอบครัวเพื่อสังเกตดูสภาพแวดล้อม บรรยากาศของครอบครัว
อาจเป็น Leader หรือ Co-Leader
บันทึกพฤติกรรมของสมาชิกที่แสดงออกในขณะอยู่ในกลุ
การบำบัดรักษาทางกาย
การบำบัดด้วยไฟฟ้า (ECT)
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ
การเสียความทรงจำบางส่วน เเต่จะกลับมาปกติภายใน 6 เดือน
การชักนาน เกิน 180 วินาที ทำให้เกินการสับสน เเละอาจลืม
delirium
Cardiovascular system
Musculoskeletal system
คลื่นไส้อาเจียน
ข้อห้ามใช้
Brain tumor ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด วัณโรคระยะรุนแรง ผู้ป่วยที่เป็นกระดูก การติดเชื้อที่มีไข้สูง ผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่แข็งแรง
การพยาบาลผู้ป่วย
ขณะได้รับการรักษา
จัดผู้ป่วยให้นอนราบบนเตียง
จัดท่าคอในลักษณะเเหงนหน้าให้หายใจโล่ง
ตรวจดูฟันปลอมอีกครั้ง เเละใส่Mouth guard
ใช้ Electrodes จุ่มสารละลายวางไว้บนขมับ
การจัดเจ้าหน้าที่ประคองตามจุดเเตกหัก คือไหล่ ข้อมือ ข้อเข่าเเละข้อเท้า
ให้ผู้ป่วยหลับตาเเละให้สัญญาณเมื่อเเพพทย์จะปล่อยสัญญาณไฟฟ้า
สังเกตุการเปลี่ยนเเปลงของผู้ป่วยขณะชัก
จับหน้าให้ผู้ป่วยนอนตะเเคงด้านใดด้านหนึ่ง
หลังได้รับการรักษา
จำกัดพฤติกรรมผู้ป่วยไว้นบเตียง
V/S ทุก 15 นาทีจนคงที่
ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้า ลำคอ พร้อมเรียกชื่อผู้ป่วย
ดูเเลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
สังเกตอาการปวดหัว ปวดเมื่อย คลื่นไส้
ดูเเลรับประทานอาการเเละยาตามแผนการรักษา
สังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับอาการหลงลืมเเละอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ
ดูเเลให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
ให้ข้อมูลเเก่ญาติ
ก่อนให้การรักษา
ให้ข้อมูลและคำปรึกษาทางสุขภาพ
ดูแลให้ญาติเซ็นใบยินยอมการรักษา
ซักประวัติเเละประเมินสภาวะของผู็ป่วยอีกครั้ง
การส่งตรวจ Lab ต่างๆ
เตรียมร่างกายของผู้ป่วย เช่น ความสะอาด การงดน้ำอาหาร
การเตรียมสถานที่และของใช้ในการทำ ECT
ข้อบ่งใช้ในการรักษา
ผู้ป่วยที่อาการเศร้าทุกชนิด และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดที่คลั่งหรือซึมเฉย โรคจิตในวัยเสื่อมในระยะเศร้า โรคความผิดปกติของอารมณ์ อาการทางจิตเวชอื่นๆ ที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
การรักษาทางจิตเวชโดยใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนจำกัดผ่านเข้าสมองในระยะเวลาจำกัด ทำให้เกิดอาการชักเกร็งทั้งตัว ทำให้ความผิดปกติทางจิตบางชนิดลดลง
ชนิดของการทำ ECT
เเบ่งตามการวางอิเลคโทรด ได้เเก่
Bilateral วางอิเลคโทรดบริเวณ temporal area ของศีรษะ ทั้งสองข้าง
Unilateral nondominant
แบ่งตามการใช้ยาสลบ ได้เเก่ Unmodified ECT เเละ Modified ECT
เเบ่งตามคลื่นไฟฟ้า ได้เเก่ Sine wave เเละ Brief-pulse wave
การบำบัดโดยการผูกมัดและการจำกัดขอบเขต
ขั้นตอนในการทำ
วางแผนให้รอบคอบว่าจะหยุดพฤติกรรมผู้ป่วยแบบใด 2. บอกให้ผู้ป่วยทราบว่าจะช่วยเหลือเขาโดยการจำกัดสถานที่
อยู่เป็นเพื่อนระยะหนึ่งเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ว่าไม่ใช่การทำโทษ
เยี่ยมผู้ป่วยเป็นระยะ
กรณีผู้ป่วยหลังให้ยาต้องทดสอบอาการรู้สึกตัวก่อนจึงจะแก้มัดได้
การพยาบาล
ทีมผู้รักษาจะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยมีความสม่ำเสมอทั้งคำพูด และท่าทาง
ให้ความนับถือผู้ป่วย ควรบอกผู้ป่วยทุกครั้งที่จะจำกัดพฤติกรรม ระยะเวลา และพฤติกรรมที่จะจำกัด
การจำกัดพฤติกรรมควรใช้คำพูดก่อน
ขณะที่ควบคุมผู้ป่วย พยาบาลต้องไม่พูดหรือแสดงกิริยาดูถูกว่าผู้ป่วยพูดไม่รู้เรื่อง ต้องอธิบายให้เข้าใจ
ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ไม่ทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าถูกลงโทษ
การผูกมัด (Physical restrain)
ใช้เจ้าหน้าที่ประมาณ 3-5 คน
การใช้ยาและการจำกัดขอบเขต
สำหรับรายฉุกเฉิน แพทย์อาจให้ฉีดยาเพื่อให้ผู้ป่วยสงบก่อนนำผู้ป่วยเข้าห้อง หรือให้ยาหลังจากนำผู้ป่วยเข้าห้องเรียบร้อยแล้ว
พฤติกรรมที่ต้องผูกมัด หรือ จำกัดบริเวณ
พฤติกรรมในรูปของการทำลาย
พฤติกรรมสับสนวุ่นวาย พฤติกรรมแปลกๆ
มีพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากผลของความขัดแย้งในใจ
พฤติกรรมที่แสดงถึงความไม่สบายต่าง ๆ
พฤติกรรมที่ต้องยึดผู้อื่นเป็นที่พึ่งพิง
การบำบัดด้วยยาหรือจิตเภสัชบำบัด
ยาคลายกังวล
ข้อบ่งใช้ โรคทางจิตเวชที่มีอาการกังวล ใช้เป็นยานอนหลับ ใช้รักษา Delirium tremens โรคลมชัก เพื่อแก้อาการชัก โรคของ Neuromuscular อาการก้าวร้าว รุนแรง
ข้อควรระวัง ผู้ป่วยที่มีปัญหาของระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคไต โรคตับ ผู้ที่มีอาการ ซึมเศร้ามาก ๆ ผู้ที่เสพสารเสพติดผู้ที่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกอาจทำให้ทารกมีความผิดปกติได้
การพยาบาล
ควรให้ยาเฉพาะก่อนนอน เพื่อไม่ให้ฤทธิ์ยารบกวนการทำกิจกรรมต่างๆ
ในกรณีฉีดยาเข้ากล้ามให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อมัดใหญ่
สังเกตอาการข้างเคียง และติดตามผลการรักษา
ยา Lorazepam (Ativan) ใช้อมใต้ลิ้นจะดูดซึมเร็วกว่าการกลืนทางปาก
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับยา เเละการสังเกตุอาการเมื่อพบอาการผิดปกติให้มาพบเเพทย์
ยาที่สำคัญในกลุ่มนี้ Benzodiazepines
มีฤทธิ์ Anti anxiety, Anti aggression, Muscle relaxant, Anti convulsant และ Sedative
อาการข้างเคียง คือ ง่วงนอน ความคิดช้า อาจมีสับสน ตื่นเต้น วุ่นวาย
ศีรษะหมุน ผื่นตามผิวหนัง และคลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการเสพติดได้ถ้าใช้นาน ๆ
ยารักษาอาการซึมเศร้า
Conventional antidepressant
Monoamine Oxidase inhibitors (MAOI) มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ MAO ที่ทำให้ระดับของSerotoninและ Catecholamine ในสมองสูง
Tricyclic antidepressants มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ลดอาการซึมเศร้า ทำให้ปากแห้ง ตาพร่ามัว ง่วงนอนปัสสาวะคั่ง ท้องผูกได้
Secondary generation antidepressants
Bicyclic antidepressants เช่น Zimelidine, Viloxazine อาการข้างเคียง คลื่นไส้ อาเจียน ปากเเห้ง ใจสั่น ท้องผูก
Tetracyclic antidepressants เช่น Maprotilin, Mianserin
ยารักษาโรคจิต
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับตรวจวัด BP ตรวจ LFT, CBC และตรวจวัดสายตา 2. การฉีดยาต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อมัดใหญ่ เเละเปลี่ยนบริเวณที่ฉีด
ยากลุ่ม Short-acting หลังฉีดให้ผู้ป่วยนอนพัก วัดBP
ยากลุ่ม Long-acting ใช้ฉีดเข้า M สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหาการทานยา
สังเกตผลของยา อาการข้างเคียง ต่างๆ
ให้ความรู้เเก่ญาติเเละผู้ป่วย
ที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่
Butyrophenone derivatives ใช้ได้ผลดีในการควบคุมอาการตื่นเต้น
ก้าวร้าว ประสาทหลอน หลงผิด หวาดระแวง ตัวอย่างยา Haloperidol (Haldol) ฤทธิ์ข้างเคียงที่สำคัญ คือExtrapyramidal symptom (EPS)
Phenothiazine derivatives ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาทั่วๆ ไป ง่วง ระงับอาการอาเจียน ปากคอเเห้ง ใช้ใน โรคจิตเภท โรคจิตหลงผิด เเมเนีย เป็นต้น ที่ใช่บ่อยๆ ได้เเก่ Chlopromazine, Promazine, Trifluoperazine
ยาจิตบำบัดชนิดใหม่
Risperidone เป็นยารักษาโรคจิต ทำให้เกิดผลข้างเคียง Extrapyramidal effects น้ำหนักเพิ่ม และความดันโลหิตต่ำเวลายืน ปากแห้ง ตาพร่า
ท้องผูก
Cozapine ใช้รักษาโรคจิตเภทได้ผลดีทั้งอาการทางด้านบวก
และอาการทางด้านลบ ผลข้างเคียง อาการ Granulocytopenia ง่วงมาก และมีน้ำลายมาก มีอาการข้างเคียง Extrapyramidal effects เพียง
เล็กน้อย
ยาควบคุมอารมณ์
ลิเทียมคาร์บอเนต ยับยั้งการปลดปล่อย NE และ Dopamine เป็นการปรับสมดุลของ Neurotransmitter รักษา Mania ป้องกันการเป็นซ้ำของโรค Bipolar disorder ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีปัญหาทางหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองถูกทำลาย ผู้ที่ขาดน้ำอย่างรุนแรง ผู้ที่อยู่ในระยะตั้งครรภ์ 3 เดือน มารดาที่ให้นมบุตร
อาการข้างเคียง และการช่วยเหลือ
ที่ไม่เป็นอันตราย ได้แก่ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เป็นต้น ติดตามสังเกตอาการ ตรวจระดับของลิเธียมในกระแสเลือด
หากพบลิเธียมในกระแสเลือด 1.5-2 mEq/L จะพบอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเดิน เห็นภาพไม่ชัด ควรหยุดยาทันที เเละมาพบเเพทย์
ถ้าพบลิเธียมในกระแสเลือด 2–2.5 mEq/L จะมีอาการพิษจากลิเธียม ท้องเสีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนตลอด ชัก ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ถ้าพบลิเธียมในกระแสเลือดมากกว่า 2.5 mEq/L หัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตต่ำมาก มีไข้สูง ไม่รู้สึกตัว การทำงานของไตล้มเหลว เสียชีวิตได้
ผู้ป่วยคอพอกที่รักษาด้วย Tyroxin อาการจะรุนแรงมากขึ้น
พบ Hypothyroidism และ Hyperkalemia ด้วย
การพยาบาล
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาระหว่างมื้ออาหารหรือหลังอาหารทันทีเนื่องจากยาทำให้ระคายเคืองต่อต่อระบบทางเดินอาหาร
ในระยะแรกของการได้รับยาต้องตรวจหาระดับของลิเธียมในกระแสเลือด สัปดาห์ละ 2 ครั้ง จนกว่าจะมีระดับคงที่หรือควบคุมอาการแมเนียได้
ระยะแรกของการได้รับยาจะต้องใช้ยากลุ่มรักษาอาการทางจิตควบคุมอาการไปก่อน และสังเกตประเมินลักษณะอารมณ์ของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ติดตามและประเมินอาการข้างเคียง
แนะนำผู้ป่วยและญาติในการปฏิบัติตัว เช่น ลดอาหารเค็ม ดื่มน้ำมาก ๆ วันละ 3 ลิตร อย่างสม่ำเสมอ ตรวจหาระดับของลิเธียมในกระแสเลือดอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์นัด
นางสาวณัฏฐ์พัชร์ หนูจัน เลขที่ 23