Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินสื่อการเรียนการสอน - Coggle Diagram
การประเมินสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
การนำเอาผลการวัดและประเมินสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย ( Interpretation ) และตัดสินคุณค่า ( Value Judgment )
ความสำคัญของการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนและคุณภาพของการเรียนการสอน
ได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการเรียนรู้
เกิดการพัฒนาการใช้สื่อการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
สร้างความมั่นใจและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนรู้
ขั้นตอนของการวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอน
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural basis)
1.1 ลักษณะสื่อ
1.1.1 ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ
1.1.2 มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)
1.1.3 มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical standards)
การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative basis)
2.1 แบบทดสอบ
2.1.1 กำหนดจำนวนข้อของแบบทดสอบ
2.1.2 พิจารณากำหนดน้ำหนักวัตถุประสงค์แต่ละข้อของการพัฒนาสื่อ
2.1.3 สร้างข้อสอบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ 2.1.2
2.1.4 พิจารณาตรวจเพื่อความถูกต้อง และการแก้ไขปรับปรุงแบบทดสอบ โดยผู้เชี่ยวชาญสร้างแบบทดสอบ
2.1.5 นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย
2.1.6 วิเคราะห์แบบทดสอบโดยตรวจค่าความเชื่อมั่น ความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความยากง่าย
2.1.7 คัดเลือกข้อสอบให้มีจำนวนข้อตามความต้องการ และสามารถวัดตาม เกณฑ์กำหนดสำหรับแต่ละวัตถุ
2.2 แบบสังเกต
2.2.1 ความสามารถเข้าใจได้ง่าย (Understandable)
2.2.2 การใช้ประสาทสัมผัสได้ง่ายเช่นมีขนาดใหญ่ อ่านง่าย หรือดูง่าย คุณภาพของเสียงดี ฟังง่าย ฯลฯ
2.2.3 การเสนอตัวชี้แนะ (Cuing) สำหรับสาระสำคัญเด่น ชัดเจน สังเกตง่าย (Noticeable
2.2.4 ระยะเวลาที่กำหนดเหมาะสม ทั้งเวลาการนำเสนอ และตอบสนองอีกทั้ง ระยะเวลาในการสื่อสารเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
2.2.5 วิธีการใช้ที่ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อนผู้เรียนสนใจ และ ติดตามการแสดงของสื่อโดยตลอด
วิธีการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
การประเมินโดยผู้สอน
การประเมินโดยผู้ชำนาญ
2.1 ควรเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญ รอบรู้ มีประสบการณ์เกี่ยวกับสื่อนั้นๆ รวมทั้ง
เกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่เสนอหรือถ่ายทอดโดยสื่อนั้น
2.2 การให้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนประเมินผลสื่อการเรียนรู้ ย่อมได้ผลที่น่าเชื่อถือมากกว่า
ประเมินผลเพียงคนเดียวบ่งบอกคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ว่ามีความเหมาะสม ถูกต้อง หรือเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้หรือไม่
2.3 ในการประเมินผลสื่อการเรียนรู้แต่ละประเภท ควรใช้แบบประเมินผลเฉพาะของสื่อ
เรียนรู้ประเภทนั้นๆ ซึ่งอาจมีความแตกต่างจากสื่อประเภทอื่นๆ
2.4 สำหรับสื่อการเรียนรู้ที่มีทั้ง Hardware และ Software นั้น จะประเมินผล Software
เป็นสำคัญ แต่ถ้าต้องการประเมิน Hardware โดยเฉพาะก็จะมีเกณฑ์การประเมินสาหรับสื่อแต่ละประเภทเป็นเครื่องมือสาหรับการประเมินสื่อนั้นๆ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แบบทดสอบความถนัดเพื่อวัดสมรรถนะของผู้เรียนภายหลังเรียนจากสื่อ
แบบสอบถาม
การสังเกตเป็นการเฝ้าดูผลที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อการสอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการใช้
การสัมภาษณ์เป็นการซักถามและพูดคุยกับทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้และผู้เรียนเกี่ยวกับสื่อนั้น