Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 กระบวนการพยาบาลในการเสริมสร้างสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพของบุคคลวัย…
บทที่ 7 กระบวนการพยาบาลในการเสริมสร้างสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพของบุคคลวัยผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี มีภาวะเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพที่ไม่ซับซ้อนและซับซ้อน ในระยะเฉียบพลัน วิกฤต เรื้อรัง และระยะสุดท้าย เกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะการเสียสมดุลน้้า และเกลือแร่
ลักษณะความผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะ
การอุดกั้นของระบบทางเดินปัสสาวะ
การรักษา
การแก้ไขเหตุของการอุดกั้นและการคั่งค้างของน้้าปัสสาวะ เช่น การผ่าเอานิ่วออกจากไต, การผ่าตัดเอานิ่วออกจากกรวยไต, การผ่าตัดไตออกบางส่วนหรือตัดออกทั้งหมด,การผ่าตัดเอานิ่วออกจากหลอดไต, การผ่าตัดนิ่วจากกระเพาะปัสสาวะออกทางเหนือหัวเหน่า และการผ่าตัดเอานิ่วออกจากท่อปัสสาวะ
ระบายน้้าปัสสาวะออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ
-การใส่สายยางเข้าทางรูเปิดของท่อปัสสาวะ
-การผ่าตัดเปลี่ยนทางใหม่ให้ปัสสาวะออกมาภายนอก
พยาธิสรีรภาพของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการขับถ่ายปัสสาวะ
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเหนือต้าแหน่งการอุดกั้น โดยการพองตัวออก (hypertrophy)
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพราะมีความดันเพิ่มขึ้นผิดปกติอาการและอาการแสดงอาการปวดการถ่ายปัสสาวะ การถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เนื่องจาก การอุดกั้นของระบบทางเดินปัสสาวะ แบ่งเป็นถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด, ไม่ถ่ายปัสสาวะเลย, ปัสสาวะน้อย ถ่ายปัสสาวะบ่อย, การปวดถ่ายปัสสาวะ, การถ่ายปัสสาวะลำบาก และการถ่ายปัสสาวะไม่ออก
บาดเจ็บทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุ : ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของทางเดินปัสสาวะ ส่วนมากเกิดจากการถูกกระทบกระแทก หรือถูกยิง หรือถูกแทงบริเวณช่องท้อง ผู้ป่วยจะมีการบาดเจ็บได้ตั้งแต่ ไต หลอดไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ
การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บทางเดินปัสสาวะ ข้อวินิจฉัย และวางแผนการพยาบาลผู้ป่วย
1.เลือดไหลเวียนไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายลดลง เนื่องจากสูญเสียเลือดจากการบาดเจ็บทางเดินปัสสาวะ
2.ปวดท้องจากภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
3.วิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะของโรค
ปัญหาการกรองผิดปกติ
ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure)
อาการและอาการแสดง
เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยเริ่มจากปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเลย
การรักษา
Pre Remal AKI : ให้สารน้ำและเกลือแร่ทดแทนจนกว่า volume status เข้าสู่ภาวะปกติ, post Remal AKI : การใส่สายสวนปัสสาวะ Foley’s Catheter และการทำ Percutaneous nephrostomy, -Intrinsic AKI ชนิด Acute tubular necrosis : ป้องกันไม่ให้ไตสูญเสียการทำงานเพิ่มเติ่ม, ป้องกันโรคแทรกซ้อน และส่งเสริมให้เกิดการฟื้นตัวของไต
ความหมาย
เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด โดยเริ่มจากปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเลย มีอาการบวมที่ขาและเท้า เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกมึนงง อ่อนเพลีย หรือง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา นอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวดหลังบริเวณชายโครง หายใจถี่ ทั้งนี้บางรายอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย หรือในกรณีที่อาการรุนแรง อาจมีอาการชักหรือหมดสติเข้าสู่ภาวะโคม่าแบบเฉียบพลัน
สาเหตุ
post Remal AKI ภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ
Intrinsic AKI เกิดจากพยาธิสภาพที่ไต
Pre Remal AKI ภาวะที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ
ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure)
อาการและอาการแสดง
บวม กดบุ๋ม : หน้า เท้า, ปัสสาวะผิดปกติ, ปวดบั้นเอวหรือชายโครงด้านหลัง, ความดันโลหิตสูง, ซีด/โลหิตจาง, คลำพบก้อนเนื้อบริเวณไต
การรักษา
การรักษาเฉพาะเจาะจงตามชนิดของโรคไตเรื้อรัง
ประเมินและรักษาโรคหรือภาวะอย่างอื่นที่พบร่วมด้วย
ชะลอการเสื่อมของไต
ป้องกันและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
ป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
เตรียมการรักษาทดแทนไต เช่นการล้างไต หรือปลูกถ่ายไต
ความหมาย
อาการของไตวายเรื้อรังจะไม่เกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว แต่จะค่อย ๆ สำแดงอาการออกมาเป็นระยะ ไตวายเรื้อรังจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ระยะตามระดับของค่าประเมินการทำงานของไต (Estimated Glomerular Filtration Rate - eGFR) หรือค่าที่ประมาณว่าในแต่ละนาทีไตสามารถกรองของเสียออกจากเลือดได้เท่าไหร่ ซึ่งคนปกติทั่วไปจะมีค่าประเมินการทำงานของไตอยู่ที่มากกว่า 90 มิลลิลิตรต่อนาที (ml/min)
สาเหตุ
เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ภาวการณ์ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ, นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ, ภูมิแพ้ตัวเอง,ใช้ยาแก้ปวดหรือได้รับสเตียรอยด์นานๆ
ปัญหาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (cystitis)
ปัจจัยเสี่ยง
การกลั้นปัสสาวะนาน, การมีอุจจาระหรือสิ่งปนเปื้อนอื่นในบริเวณอวัยวะเพศและฝีเย็บ, การรักษาความสะอาดไม่ถูกต้อง, การคุมกำเนิดโดยใช้สารฆ่าตัวอสุจิหรือการสวนปัสสาวะทางท่อปัสสาวะ เป็นต้น
การรักษา
ควรดื่มน้ำสะอาดมากๆ ประมาณ 6-8 แก้ว ต่อวัน
ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นปัสสาวะ
กินยาปฏิชีวนะ ประมาณ 3-5 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ร่วมกับการรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสาวะ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยควรรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์ แม้อาการจะดีขึ้นก่อนก็ตาม เนื่องการรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ครบ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ และการเกิดเชื้อดื้อยาได้ โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นภายใน 24-48 ชม. หลังได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะมีเลือดปนออกมา ปวดท้องน้อย รวมถึงลักษณะน้ำปัสสาวะที่ออกมามีปริมาณน้อย สีขุ่น และกลิ่นเหม็นผิดปกติ
ความหมาย
การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะเชื้แบคทีเรีย (Escherichia coli: E. coli) ซึ่งเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การเช็ดก้นในลักษณะจากด้านหลังมาทางด้านหน้า การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือการสวนปัสสาวะ เกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพศหญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเชื้อปนเปื้อนติดเข้าสู่ท่อไปยังกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ Urinary Tract Infection (UTI)
การรักษา
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
ปัสสาวะทุก 2-4 ชั่วโมง
การอาบน้ำไม่ควรแช่ในอ่างอาบน้ำ
เมื่อมีความผิดปกติในการขับถ่ายควรรีบพบแพทย์
รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มหรือผลไม้การเพิ่มความเป็นกรด
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์และไม่สวมกางเกงที่รัดแน่นจนเกินไป
ปัจจัยเสี่ยง
การสูบบุหรี่, Catheterization, พฤติกรรม, อายุ, เบาหวาน, Incomplete emptying of bladder, Vesico-ureteral reflux (VUR) ปัสสาวะไหลย้อนกลับ, นิ่วหรือการอุดกันทางเดินปัสสาวะ
อาการและอาการแสดง
Upper tract infection
มีอาการเช่นเดียวกันกับ Lower tract infection รวมทั้งปวดบั้นเอว (frank pain) มีไข้คลื่นไส้อาเจียน และอ่อนแรง
Lower tract infection
ปัสสาวะขัด (dysuria)
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่(urgency)
ปัสสาวะถี่ (frequency)
ปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย (suprapubic heaviness)
อาจพบว่ามีเลือดปนออกมาในปัสสาวะได้ (gross hematuria)
ความหมาย
การตอบสนองของการอักเสบของเยื่อบุผิวระบบทางเดินปัสสาวะต่อการบุกเข้าของแบคทีเรีย เนื่องจากเยื่อบุผิวระบบปัสสาวะทั้งหมดเชื่อมต่อกันทั้งหมด ท้าให้ทั้งระบบของทางเดินปัสสาวะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อทั้งหมดและมีอาการของการติดเชื้อระบบปัสสาวะได้หลายแบบซึ่งมักสัมพันธ์กับการมีแบคทีเรียในปัสสาวะ (bacteriuria) และปัสสาวะเป็นหนอง (pyuria)
กรวยไตอักเสบ(pyelonephritis)
ความหมาย
กรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลัน (acute pyelonephritis) คือ กลุ่มอาการของไข้ หนาวสั่น และกลุ่มอาการของไข้ หนาวสั่น และปวดบริเวณเอว ซึ่งพบร่วมกับการมีแบคทีเรียในปัสสาวะเป็นหนอง
กรวยไตอักเสบแบบเรื้อรัง (chronic pyelonephritis) บ่งบอกถึงการหดตัวของเนื้อเยื่อไต และเกิดพังผืดของไต ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้จากกายวิภาค ภาพทางรังสีวิทยา หรือ หลักฐานของหน้าที่ของโรคไตที่เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อ
อาการและอาการแสดง
อาการปวดที่บริเวณสีข้างหรือบั้นเอวขึ้นอย่างฉับพลันและอาจปวดร้าวลงมาที่บริเวณขาหนีบ, มีไข้สูงร่วมกับมีอาการหนาวสั่นมากเป็นพักๆ, ปัสสาวะมักมีลักษณะขุ่นขาว บางครั้งอาจเป็นเลือด หรืออาจข้นเป็นหนอง, อาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
ปัจจัยเสี่ยง
ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชาย, การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะมักเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เพราะส่งผลให้มีปัสสาวะแช่อยู่ในทางเดินปัสสาวะนานกว่าปกติ และการอักเสบต่อเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งมักพบเป็นสาเหตุในผู้หญิง หรือในผู้ป่วยที่ต้องนอนนาน ๆ
การรักษา
อาการไม่รุนแรง : ให้การรักษาประคับประคองไปตามอาการ (เช่น ในขณะที่มีไข้สูง หนาวสั่น ให้รับประทานยาลดไข้-พาราเซตามอล เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ดื่มน้ำให้มาก ๆ และห่มผ้าหนา ๆ ห้ามอาบน้ำเย็น) ร่วมไปกับให้รับประทานยาปฏิชีวนะ เช่น (Amoxicillin) ครั้งละ 500 mg วันละ 4 ครั้ง ทุก 8 ชั่วโมง
อาการรุนแรง ถ้ารับประทานยาไม่ได้ อาจต้องให้ยาทางหลอดเลือดดำ โดยรับตัวผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์จะฉีด Gentamicin ให้ครั้งละ 40-80 mg
โรคต่อมลูกหมากโต
(BPH - Benign Prostatic Hyperplasia)
สาเหตุ
ยังไม่มีหลักฐานการยืนยัน
สัมพันธ์กับระดับเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนdihydrotestosterone
อาการและอาการแสดง
อาการระคายเคืองทางเดินปัสสาวะ (Irritative symptoms) และอาการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ (Obstructive symptoms)
การรักษา
มีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องรักษาหรืออาจจะใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, รักษาโดยการใช้ยาจะมีอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ ยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้คลายตัวลง (alpha-blockers) ยาช่วยลดขนาดต่อมลูกหมาก (5-alpha reductase inhibitor)
ยาในกลุ่มสมุนไพร, รักษาโดยการผ่าตัด (TransUrethral Resection of Prostate : TURP)
เนื้องอกของกระเพาะปัสสาวะ
(BLADDER TUMOR)
อาการและอาการแสดง
ปัสสาวะปนเลือดโดยไม่เจ็บปวด, ถ่ายปัสสาวะบ่อย, ถ่ายปัสสาวะลำบากหรือถ่ายปัสสาวะไม่ออกอย่างเฉียบพลัน, อาการปวดบั้นเอว, คลำพบก้อนบริเวณท้องหรือท้องน้อย
การรักษา
การรักษาโดยการผ่าตัด ได้แก่ TRANSURETHRAL RESECTION AND
FULGURATION, PARTIAL OR SEGMENTAL CYSTECTOMY, TOTAL CYSTECTOMY, BILATERAL CUTANEOUSURETEROSTOMYเป็นการรักษาแบบ PALLIATIVE, การรักษารังสี, การใช้เคมีบำบัด, การรักษาด้วยเลเซอร์
สาเหตุ
สารก่อมะเร็ง (CARCINOGEN) ในน้ำปัสสาวะ, การติดเชื้อเรื้อรังหรือการระคายเคืองเรื้อรังที่กระเพาะปัสสาวะ, พาราไซด์(SCHISTOSOMIASIS), บุหรี
กลุ่มโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
(Nephrotic Syndrome)
อาการและอาการแสดง
มีอาการบวมบริเวณรอบดวงตา ท้อง แขน ขาข้อเท้า และเท้า, น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น, ปัสสาวะเป็นฟอง, ปวดปัสสาวะน้อยมาก, อ่อนเพลีย, เบื่ออาหาร, ท้องเสีย
สาเหตุ
กรวยไตเป็นแผล, การกรองไตผิดปกติ, เยื่อบุผิวภายในกรวยไตหนาตัวขึ้น, .กลุ่มอาการอะมีลอยโดซิส (Amyloidosis), โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE), โรคไตจากเบาหวาน, ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดไต, การใช้ยาบางชนิด
การรักษา
ยาขับปัสสาวะ, ยากดภูมิคุ้มกัน, ยาลดคอเลสเตอรอล กลุ่มยาสแตติน, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, ยาควบคุมความดันโลหิต
นางสาวอารียา ทวนขุนทด รหัสนักศึกษา 62106301146 ห้อง 3B เลขที่ 71