Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนกลาง, วงศธร ทองอุ่นเรือน ม.4/3 เลขที่ 18 - Coggle…
วรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนกลาง
เสือโคคำฉันท์
ผู้แต่ง
พระมหาราชครู
คุณค่าของวรรณคดี
ในด้านอักษรศาสตร์ มีเนื้อหาสนุกสนานน่าติดตาม ถ้อยคำสำนวนไพเราะ ใช้ถ้อยคำได้เหมาะสมกับฉันท์ชนิดต่างๆ 2. ในด้านพระพุทธศาสนา ให้คติธรรมเกี่ยวกับการรักษาความสัตย์ เกิดเป็นคนควรรักษาความสัตย์ไว้กับตัว มีพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า จะมีชื่อเสียงเพราะความสัตย์
โคลงพาลีสอนน้อง
ผู้แต่ง
สมเด็จพระนารายณ์
คุณค่าของวรรณคดี
โดยคุณค่าทางด้านอารมณ์นี้เป็นเครื่องขัดเกลาอัธยาศัยและกล่อมเกลาอารมณ์ให้หายความหมกหมุ่น คลายความวิตกกังวล หนุนจิตใจให้เกิดความผ่องแผ้วทำให้รู้สึกเบิกบานและร่าเริงในชีวิต คุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการสะท้อนความคิด ความเชื่อ ค่านิยมของคนไทยในอดีต การปลูกจิตสำนึกให้คนในชาติรู้จักหวงแหนรักษาผืนแผ่นดินและมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ คุณค่าทางคุณธรรมจริยธรรม ที่สะท้อนมาจากวรรณคดี ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่ผู้ประพันธ์นำมาสอดแทรกในวรรณคดีเรื่องนี้ ซึ่งผู้ศึกษาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าการประพันธ์นี้จะประพันธ์ขึ้นมานานแล้วก็ยังสามารถนำข้อคิดที่ได้มาใช้ในสังคมไทยปัจจุบัน
โคลงทศรถสอนพระราม
ผู้แต่ง
สมเด็จพระนารายณ์
คุณค่าของวรรณคดี
ในด้านการปกครอง ทำให้เห็นการปกครองในสมัยนั้นว่าเป็นธรรม โดยกษัตริย์ ได้ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นหลักในการปกครอง บ้านเมือง
กาพย์มหาชาติ
ผู้แต่ง
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
คุณค่าของวรรณคดี
ด้านพระพุทธศาสนา เทศน์พระเวสสันดรมีอิทธิพลต่อสังคมไทยมาก ทำให้คนไทยใกล้ชิดวัด และนิยมทำบุญให้ทานเป็นนิสัย มีการเข้าวัดเพื่อทำบุญ ให้ทาน ฟังธรรม รักษาศีล และเจริญภาวนา
ด้านอักษรศาสตร์ มีสำนวนดี ถ้อยคำไพเราะ ภาษามีความสละสลวย คำศัพท์ไม่ยากเข้าใจง่าย ไม่ว่าฟังหรืออ่าน ทำให้เกิดความซาบซึ้งมีอารมณ์คล้อยตาม
โคลงราชสวัสดิ์
ผู้แต่ง
ไม่ปรากฏ
คุณค่าวรรณคดี
สอนหลักปฏิบัติของผู้ที่จะรับใช้ใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ โดยสอนทั้งหลักปฏิบัติในการเป็นข้าราชการ และหลักปฏิบัติให้ตนเป็นคนดี เพื่อให้ดำเนินชีวิตด้วยดีในสังคม ในด้านหลักปฏิบัติในการเป็นข้าราชการที่ดีนั้น พิธูรสอนไว้ว่าควรรับใช้พระมหากษัตริย์ด้วยใจที่ซื่อตรง จงรักภักดี สงบเสงี่ยมและนอบน้อมต่อองค์พระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ลูกหลานญาติมิตรและบริวารต้องมีความจงรักภักดีเช่นกัน
สมุทรโฆษคำฉันท์
ผู้แต่ง
พระมหาราชครู
คุณค่าวรรณคดี
คุณค่าด้านวรรณคดี ได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ ๖ ให้เป็นวรรณคดียอดเยี่ยมประเภทฉันท์ ลักษณะเด่นของวรรณคดีเรื่องนี้คือ มีอรรถรสไพเราะด้วยฉันท์และกาพย์
โคลงเบ็ดเตล็ด
ผู้แต่ง
ศรีปราชญ์
คุณค่าของวรรณคดี
แสดงให้เห็นความเป็นปราชญ์ในเชิง ปฏิภาณกวี ของศรีปราชญ์อย่างแท้จริง
จินดามณี
ผู้แต่ง
พระมโหราธิบดี
คุณค่าของวรรณคดี
จินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรก และเป็นแบบอย่างให้นักปราชญ์สมัยต่อมาเขียนแบบเรียนภาษาไทยขึ้น
สมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดฯ ให้มีการแต่งหนังสือภาษาไทยขึ้นเพื่อสั่งสอนให้เด็กไทยรักชาติและศาสนาของตนเอง
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ
ผู้แต่ง
หลวงประเสริฐ
คุณค่าของวรรณคดี
เป็นเอกสารประเภทความย่อ เรียบเรียงเนื้อความขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นเอกสารที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นการสรุปเหตุการณ์ โดยมากเป็นการสรุปใจความสำคัญสั้น ๆ ต่างจากเอกสารอื่น ๆ
อนิรุทธ์คําฉันท์
ผู้แต่ง
ไม่ปรากฏ
คุณค่าของวรรณคดี
1 คุณค่าด้านฉันทลักษณ์ ศรีปราชญ์ใช้ร่ายปนกับฉันท์และไม่เริ่มต้นด้วยบทไว้ครูแต่มีบทขอพรให้ตนเอง ในตอนท้ายเรื่องคำประพันธ์บางตอนมีลักษณะเป็นกลบทด้วย 2. คุณค่าด้านอิทธิพลต่อกวียุคหลัง
กาพย์ห่อโคลง
ผู้แต่ง
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยะวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)
คุณค่าของวรรณคดี
การเดินความหรือการใช้คำเนื้อความในแต่ละบทสร้างจินตภาพได้อย่างแจ่มชัด เลือกสรรคำมาใช้ได้เหมาะกับเนื้อความและเสียง การพรรณนาทำได้อย่างแจ่มแจ้งจับใจ บอกรูปพรรณสัณฐานสัตว์อย่างชัดเจน บอกให้รู้ถึงความเป็นอยู่ของสัตว์ประหนึ่งว่าผู้อ่านได้เห็นตัวจริงของสัตว์นั้นๆ ซึ่งบทประพันธ์ส่วนมากจะเอาชื่อสัตว์มาเรียงกัน หรือบอกลักษณะอาการเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต มีการพรรฌนาการใช้เสียงธรรมชาติของสัตว์นั้นๆได้อย่างเด่นชัดที่สุด
โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ผู้แต่ง
หลวงศรีมโหสถ
คุณค่าของวรรณคดี
มีลักษณะดีเด่นในการใช้คำง่าย ๆ ไพเราะนิ่มนวล การบรรยายละเอียดแจ่มแจ้ง กล่าวถึงความรุ่งเรืองของพระนครลพบุรี และเหตุการณ์หลายประการซึ่งมิได้ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร จึงมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
โคลงกลบทอักษรสามหมู่
ผู้แต่ง
พระศรีมโหสถ
คุณค่าของวรรณคดี
โคลงสี่สุภาพ กลบท ใช้คำๆ เดียวกันเรียงตั้งแต่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ และผันได้ด้วยไม้เอก ไม้โท เป็นชุดๆ วัตถุประสงค์ เพื่อแสดงฝีมือทางวรรณศิลป์ คุณค่า เป็นแบบอย่างในการแต่งกลบทของกวียุคหลัง
นิราศนครสวรรค์
ผู้แต่ง
พระศรีมโหสถ
คุณค่าของวรรณคดี
คุณค่า ได้ทราบถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองยุคนั้น
คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
ผู้แต่ง
ขุนเทพกวี
คุณค่าวรรณคดี
เป็นคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างที่เก่าที่สุดที่กวีรุ่นหลังนำมาเป็นตัวอย่าง
วงศธร ทองอุ่นเรือน ม.4/3 เลขที่ 18