Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี :star: - Coggle Diagram
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
:star:
กรมสรรพสามิต
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าและบริการ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายฉบับต่าง ๆ คือ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 พระราชบัญญัติไพ่ พุทธศักราช 248
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
1) ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบอุตสาหกรรม 2) ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ 3) ผู้นำเข้าซึ่งสินค้า และ 4) บุคคลอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด
กรมสรรพากร
โดยมอำนาจ ดังนี้
จัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
เสนอแนะนโยบายการจัดเก็บภาษีอากรต่อกระทรวงการคลัง
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
กรมสรรพากรมีภารกิจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี การเสนอแนะ และการใช้นโยบายทางภาษีอากร เพื่อให้ได้ภาษีตามเป้าหมายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นกลไกลในการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเกิดความสมัครใจในการเสียภาษี
กรมศุลกากร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
การดูแลเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ผ่านอัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินบาท ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงบริหารจัดการธนบัตรหมุนเวียนภายในประเทศ และดูแลระบบการชำระเงินด้วย นอกจากนี้ ธปท. ยังมีหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน และให้ความคุ้มครองประชาชนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในการใช้บริการของสถาบันการเงินอีกด้วย
มุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินที่มีเสถียรภาพ และมีพัฒนาการอย่างยั่งยืนและทั่วถึง” ซึ่งทาง ธปท. ได้แบ่งพันธกิจหลักขององค์กรออกเป็น 5 ด้านด้วยกัน ซึ่งได้แก่
เสถียรภาพระบบชำระเงิน
ความเป็นเลิศทางด้านธนบัตร
เสถียรภาพระบบการเงิน
คุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน
เสถียรภาพราคา
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เป็นองค์กรของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งลงทุนที่มีประสิทธิภาพของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป
อำนาจและหน้าที่
กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
กฎหมายว่าด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล
กฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
กฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ประวัติและความเป็นมา
ตลาดทุนไทยยุคใหม่มีจุดเริ่มต้นจากการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509) เพื่อรองรับการเติบโตและส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ต่อมา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 - 2514) ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง ตลาดหลักทรัพย์ที่มีระบบระเบียบขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเน้นให้มีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งระดมเงินทุน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ
บทบาทและหน้าที่
ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน และพัฒนาระบบต่างๆ ที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์
ดำเนินธุรกิจใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น การทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สภาวิชาชีพบัญชี
สภาวิชาชีพบัญชี (Federation of Accounting Profession หรือ FAP) เป็นสถาบันตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มีฐานะเป็นนิติบุคคล
อำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพบัญชีมีดังนี้
1 กำหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี
2 กำหนดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
3 รับขึ้นทะเบียนการประกอบวิชาชีพบัญชี ออกใบอนุญาต พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
4 รับรองวุฒิการศึกษาของผู้สมัครเป็นสมาชิก รับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพบัญชี และรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการและการศึกษาต่อเนื่องในด้านต่างๆ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
5 ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของสมาชิกและผู้ขึ้นทะเบียนให้เป็นไปตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี
6 ให้คำปรึกษาและเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบาย และปัญหาของวิชาชีพบัญชี