Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้น, image, image, image, image, วงศธร ทองอุ่นเรือน…
วรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้น
ลิลิตโองการแช่งน้ำ
คุณค่าของวรรณคดี
๑) วัฒนธรรมประเพณี พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพิธีกรรมสำคัญที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) โดยได้รับอิทธิพลมาจากขอม คือ เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมาจนกระทั่งยกเลิกไปหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕
ผู้แต่ง
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าอาจแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)
ลิลิตยวนพ่าย
ผู้แต่ง
ไม่ปรากฏผู้แต่ง
คุณค่าของวรรณคดี
ลิลิตยวนพ่ายมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การรบทัพจับศึก ค้านิยมทางสังคม และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ลิลิตยวนพ่ายที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวรรณกรรมเก่าที่สมบูรณ์ไม่ชำรุดหรือถูกแต่งเติม ยังมีคุณค่าด้านภาษาศาสตร์ทำให้ได้เห็นถึงวิธีการใช้ภาษา คำสำนวน โวหาร ของกวีสมัยโบราณ และเป็นแบบอย่างของวรรณคดีประเภทสดุดี
มหาชาติคำหลวง
ผู้แต่ง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถรับสั่งให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่งเมื่อจุลศักราช ๘๔๔ หรือพุทธศักราช ๒๐๒๕
คุณค่าของวรรณคดี
มหาชาติคำหลวงเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาโดยตรง แต่งโดยแทรกภาษาบาลีลงไปทำให้ค่อนข้างอ่านยาก แต่ก็เป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าทั้งด้านภาษาศาสตร์ มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และค่านิยมของคนไทยมาจนทุกวันนี้ อนึ่ง มหาชาติคำหลวงยังเป็นต้นแบบให้กวีหรือนักปราชญ์ราชบัณฑิตสมัยหลัง ใช้เป็นแนวทางในการนิพนธ์เรื่องมหาชาติขึ้นอีกหลายสำนวน เช่น กาพย์มหาชาติในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมหาชาติคำฉันท์สมัยรัตนโกสินทร์ และภาพจิตรกรรมเรื่องมหาชาติตามผนังโบสถ์วิหารต่าง ๆ ด้วย
ลิลิตพระลอ
ผู้แต่ง
กวีที่แต่งเป็นใคร มีตำแหน่งทางราชการอย่างไร ไม่ทราบแน่ชัด
คุณค่าของวรรณคดี
ลิลิตพระลอได้รับการตัดสินจากวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ ให้เป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทลิลิต เพราะมีความโดดเด่น คือ ให้แง่คิดด้านความรัก ความกล้าหาญ ความสะเทือนใจ ใช้ภาษาได้ไพเราะคมคาย เป็นแบบอย่างของการแต่งโคลงและวรรณคดีประเภทลิลิต
โคลงนิราศหริภุญชัย
ผู้แต่ง
สันนิษฐานทีผู้แต่งคนหนึ่ง อาจชื่อทิพแต่งไว้เป็นภาษาไทยเหนือ ต่อมามีผู้ถอดออกมาเป็นภาษาไทยกลางอีกตอนหนึ่ง
คุณค่าของวรรณคดี
วรรณคดีเรื่องนี้ยังเป็นหลักฐานยืนยันถึงที่ตั้งปูชนียสถาน และโบราณวัตถุที่เชียงใหม่ และลำพูน เช่น พระพุทธสิหิงค์ พระแก้วมรกต ที่วัดเจดีย์หลวง ประตูเชียงใหม่และเวียงกุมกาม (เมืองเก่าระหว่างเชียงใหม่กับลำพูน) วัดพระธาตุหริภุญชัย กล่าวถึงความเจริญทางพุทธศาสนาและวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น สุธนู สมุทรโฆษ รามเกียรติ์ พระรถเมรี ท้าวบารสกับนางอุษา
โคลงทวาทศมาส
ผู้แต่ง
พระเยาวราช ขุนพรมมนตรี ขุนกวีราช ขุนสารประเสริฐ
คุณค่าของวรรณคดี
เป็นเรื่องที่มีคุณค่าทั้งในฐานะการเป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์ คือการที่กวีเลือกสรรถ้อยคำโวหารที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อความได้ครบถ้วน และเกิดจินตภาพอย่างชัดเจน มีการใช้ฉันทลักษณ์คือโคลงซึ่งมีลีลาสง่างามเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
โคลงกําสรวล
ผู้แต่ง
ศรีปราชญ์
คุณค่าวรรณคดี
มีคุณค่าทางวรรณคดีอย่างยอดเยียมถ้อยคำสำนวนโวหารที่คมคายจับใจ แสดงความเป็นต้นคิดหลายตอน ทำให้กวีรุ่นหลังพากันเลียมแบบอย่าง เช่น ตอนชนเมือง และตอนฝากนาง นอกจากนี้ยังให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ บางเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ สมุทรโฆษ
วงศธร ทองอุ่นเรือน ม.4/3 เลขที่ 18