Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เคสกรณีศึกษา2 ผู้ป่วยวัณโรคปอด - Coggle Diagram
เคสกรณีศึกษา2 ผู้ป่วยวัณโรคปอด
พยาธิสภาพ
เมื่อเชื้อวัณโรคเข้าสู่ปอดครั้งแรกซึ่งร่างกายไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน หรือไม่มี ภูมิต้านทานเชื้อจะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในถุงลม ต่อมาเม็ดเลือดขาวและ (macrophage) จะมาเก็บกินเชื้อแต่เชื้อวันโรคจะไม่ตายและสามารถแบ่งตัวและเจริญเติบโตในเซลล์(macrophage) ได้เกิดเป็นรอยโรค เชื้อวันโรคอาจแบ่งตัวลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง ถ้ามีการเสื่อมสลายตรงกลางของ รอยโรคจะพบเชื้อโรค เนื้อเยื่อปอดที่ถูกทำลายและเม็ดเลือดขาวที่ตายแล้วจะอยู่กายในลักษณะคล้าย เนยแข็ง ส่วนใหญ่จะมีผนังล้อมรอบรอยโรคนี้ และการติดเชื้อวัณโรคส่วนใหญ่จะหยุดอยู่ตรง รอยโรคดังกล่าว การติดเชื้อครั้งแรกจะไม่เกิดอาการเนื่องจากเชื้อโรคถูกจำกัดในลักษณะดังกล่าว แต่ นกรณีที่ผู้รับเชื้อโรคอ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคไม่ดี ไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายเชื้อได้ ส่งผลให้รอยโรคแตกออกเกิดเป็นโพรงในปอดและเกิดการ อักเสบเป็นแผลในเนื้อปอดจากการแตกของรอยโรค ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปสู่ปอดส่วนอื่นและอวัยวะอื่นของร่างกาย
อาการวัณโรคปอด
อาการทั่วไป
● เหงื่อออกตอนกลางคืน
● ผู้ป่วยมือาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีใช้ต่ำๆ ซึ่งมักเป็นตอนบ่าย ๆ หรือตอนเย็น
● สำหรับผู้หญิงอาจมีประจำเดือนคลาดเคลื่อนหรือขาดหายไป
อาการทางปอด
● บางรายจะมีอาการเจ็บหน้าอก
● ในรายที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดมากมักจะมีอาการเหนื่อยง่าย ตรวจร่างกายอาจพบเสียงกรอบแกรบ (crepitation) ที่บริเวณรอยโรค หรือเสียงหายใจลดลง
● ผู้ป่วยจะมีอาการ ไอ อาจไอเป็นเลือด ไอมีเสมหะปนเลือด เสมหะมักมีสีเหลือง สีเขียว และมีกลิ่นเหม็น
สาเหตุของวัณโรค
วัณโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า mycobacterium tuberculosis วัณโรคปอด (pulmonary tuberculosis)
การเกิดวัณโรคปอดแบ่งได้ 3 ระยะดังนี้
ระยะติดเชื้อวัณโรค ระยะนี้ยังไม่มีอาการแสดง เนื่องจากอยู่ในระยะฟักตัวของโรคแต่สามารถตรวจพบได้ด้วยการทดสอบทูเบอร์คูลิน ซึ่งจะให้ผลบวก
ระยะเป็นวัณโรค เป็นระยะที่วัณโรคมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีอาการและอาการแสดงชัดเจน และพบความผิดปกติจากการภาพถ่ายรังสีทรวงอก
ระยะสัมผัสโรค เป็นระยะที่มีการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดในระยะติดต่อ มักเกิดในบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วย ระยะนี้ยังไม่ปรากฏอาการใดๆ
การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอด
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ และสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับยารักษาวัณโรคปอด
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ
แนะนำข้อปฏิบัติ
3.2 แนะนำวิธีรับประทานยา ขนาดยาที่รับประทาน อาการแพ้ยาที่อาจเกิดขึ้น และวิธีปฏิบัติเมื่อมีอาการสงสัยแพ้ยา
3.3 อาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างการรักษา
3.1 เน้นให้ทราบว่าต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และควรมารับยาตามแพทย์นัดทุกครั้ง
3.4 เมื่ออาการดีขึ้น แพทย์จะนัดตรวจเสมหะและภาพถ่ายรังสีทรวงอกช้ำ
แนะนำการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคสู่ผู้อื่นในระยะก่อนการรักษา
แนะนำข้อปฏิบัติประจำวัน
5.2 นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส
5.3 รักษาความสะอาดของร่างกาย และรักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ
5.1 พยายามอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก อากาศบริสุทธิ์
5.4 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
5.5 ให้บุคคลในบ้านไปรับการตรวจหาวัณโรค
การรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอด
ในปัจจุบันมียาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาวัณโรคปอด แต่ต้องใช้ยามากกว่าหนึ่งชนิดจึงสามารถทำลายเชื้อวัณโรคได้
โดยทั่วไปการให้ยาแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ
ระยะแเรกหรือระยะเข้มข้น
ระยะที่สองหรือระยะต่อเนื่อง
ยารักษาในเคสนี้
pyrazinamide อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้แก่
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดตามข้อ
streptomycin อาการ ไม่พึงประสงค์ที่พบได้แก่
พิษต่อประสาทสมองคู่ที่ 8 พิษต่อไต ทำให้การทำงานของไตเสื่อม
rifampicin อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้แก่
น้ำตา น้ำลาย เสมหะ เหงื่อ ปัสสาวะและอุจจาระเป็นสีส้ม
Ethambutol อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้แก่
ประสาทตาอักเสบ ผื่นคัน มีไข้ ปวดข้อ ไม่สบายท้อง ปวดศีรษะ วิงเวียน สับสน ประสาทหลอน
isoniazid อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้แก่
ตับอักเสบ อาการชาปลายประสาท
6.Ceftriaxoneอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้แก่
อาการบวมแดง เจ็บปวดในบริเวณที่ถูกฉีดยา ท้องร่วง หรือคลื่นไส้อาเจียนเล็กน้อย
E.Kcl อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้แก่
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย