Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความดันโลหิต (Hypertension) - Coggle Diagram
ความดันโลหิต (Hypertension)
พยาธิสภาพ
ความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งและตีบ เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจและแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80 ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัวและลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับที่ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ปกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสียงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง
การพยาบาลความดันโลหิตสูง
ให้ผู้ป่วย Absolute bed rest งดกิจกรรมทุกชนิด งดการรบกวน ให้นอนพัก
ให้ออกซิเจน โดยพิจารณาตามความเหมาะสม ให้รับประทานยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษาของแพทย์ สังเกตอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือมีผื่นตามร่างกายและผลข้างเคียง อาการหน้ามืด ใจสั่น หมดสติ ระดับสัญญาณชีพเปลี่ยนแปลงทันที
เจาะเลือด เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการตามแผนการรักษา
ประเมินสัญญาณชีพหลังรับประทานยาลดความดัน โลหิตทุก 15 นาที อย่างน้อย 4 ครั้ง ตามแผนการรักษา ติดตามประเมินอาการและอาการแสดง
บันทึกและติดตามปริมาณน้ำเข้าและน้ำออกจากร่างกาย (Intake/output) ทุก 4 ชั่วโมง
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และรายงานแพทย์อย่างต่อเนื่อง
ให้กำลังใจและให้ข้อมูลการรักษาแก่ผู้ป่วยและญาติอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความกังวล
ให้คำแนะนำผู้ป่วย สังเกตอาการผิดปกติที่ควรแจ้งพยาบาลทันที เช่น อาเจียนพุ่ง เลือดกำเดาไหล เเขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว ใจสั่น
ให้คำแนะนำการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยและ ญาติเมื่อจบการรักษากิจกรรมการพยาบาลที่ไปทำอยู่บ้านสำหรับผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูง
อาการความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ เหมือนไมเกรน ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ และเมื่อมีอาการมากอาจโคมา และเสียชีวิตได้
สาเหตุของความดันโลหิตสูง
ประมาณ 95% ของคนที่เป็นความดันโลหิตสูง เกิดโดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ประมาณ 5% เท่านั้น ที่ทราบสาเหตุ เช่น เป็นโรคไตวาย หรือมีความผิดปกติของต่อมหมวกไต หรือมีความผิดปกติของเส้นเลือดแดงบางเส้น ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง ได้แก่ ความอ้วน มีโรคความดันโลหิตสูงในครอบครัว การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม และการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินควรไป
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
การรักษาโดยการใช้ยา
การรักษาความดันโลหิตสูงโดยการใช้ยาจะช่วยลดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้ โดยคนไข้แต่ละคนจะตอบสนองต่อยาชนิดต่างๆ ไม่เหมือนกัน ซึ่งแพทย์จะปรับยาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
ลดอาหารเค็ม
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
เลิกสูบบุหรี่
ควบคุมปริมาณแอลกอฮอล์
ควบคุมน้ำหนัก