Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1 Breast Cancer - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 1 Breast Cancer
กิจกรรมการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยที่4 เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อเนื่องจากมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำขณะรับยาเคมีบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจเเละมีกำลังใจในการเผชิญปัญหาเเละปรับตัวได้ดียิ่งขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
ล้างมือก่อน และหลังสัมผัสผู้ป่วยทุกครั้ง และแนะนำญาติปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
แนะนำให้ผู้ป่วยล้างมืบ่อยๆ และการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล
จำกัดผู้เข้าเยี่ยม โดยเฉพาะผู้ที่มีการติดเชื้อหรือได้รับวัคซีน เพื่อป้องกันโรคมาใหม่ เนื่องจากการได้รับ
วัคซีนอาจมีการติดเชื้อแฝงอยู่ (Subclinical infection)
ดูแลผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีคุณค่า อาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ และเพียงพอกับความต้องการของ
ควรงดผักสด และผลไม้สดที่ไม่ได้ปอกเปลือก
ป้องกันการติดเชื้อ ห้ามนำเศษอาหาร ผักสด และดอกไม้สดไว้ใกล้ตัวผู้ป่วย
ป้องกันอาการท้องผูก เนื่องจากอุจจาระแข็งและครูดกับผนังลำไส้ ทำให้เกิดแผลและติดเชื้อได้
หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวัน 500 ซีชี ดูแลสุขภาพอนามัยในช่องปาก
ให้ยา Filgen 300 microgram. เข้าทางชั้นใต้ผิวหนังวันละ 1 ครั้งจำนวน 7 เข็ม
ข้อมูลสนับสนุน
ไม่มีภาวะติดเชื้อระบบใดๆ ปลอดภัยจากการติดเชื้อ
ประเมินผล
1.ผู้ป่วยไม่ติดเชื้อ ไม่มีไข้ ปัสสาวะปกติ จำนวนเม็ดเลือดขาว 8,500 cell/cu.mm
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อที่ระบบใดๆ เช่น ไข้ ปัสสาวะแสบขัด เจ็บคอ และผิวหนังอักเสบ
เม็ดเลือดขาว (WBC) อยู่ในเกณฑ์ปกติ5,000-10,000 cell/cu.mmค่า absolute neutrophil กว่า 1,000 cell/cu.mmต้องรายงาน แพทย์
ข้อวินิจฉัยที่5 ผู้ป่วยรู้สึกสูญเสียภาพลักษณ์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังและผม
ข้อมูลสนับสนุน
ผิวหนังของผู้ป่วยบริเวณผ่ามือ ข้อศอก หัวเข่าหนา ผิวเข้มขึ้น เล็บสีเข้มขุ่นแข็ง ผมร่วง
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยสามารถปรับตัวและยอมรับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้
เกณฑ์ประเมินผล
1.ผู้ป่วยบอกความรู้สึกที่มีคุณค่าต่อตนเอง เข้าใจ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้ป่วยสนใจในการดูแลตนเองมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น วางแผนดูแลตนเองเหมาะสมกับโรคและผลของยา
กิจกรรมพยาบาล
ประเมินการรับรู้ของผู้ป่วยต่อการเปลี่ยน แปลงภาพลักษณ์ ความสามารถ บทบาท และแบบแผนชีวิตโดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดถึงความรู้สึก และสังเกตพฤติกรรมการแสดงออก
ร่วมปรึกษากับผู้ป่วยในการปรับปรุงภาพลักษณ์และอื่นๆ ให้ดีขึ้น เน้นความเป็นไปได้ตามสภาพความเป็นจริง
ให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์และอื่นๆดังนี้
3.1 ผมร่วง อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า ผมร่วงจะเกิดขึ้นประมาณ 2 อาทิตย์หลังการให้ยาเคมีบำบัดครั้งแรกซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ผมร่วงจะเกิดขึ้น ชั่วคราวโดยที่จะงอกขึ้นใหม่เมื่อการให้ยาเคมีบำบัดสิ้นสุด ลงประมาณ 2-3 เดือน แนะนำผู้ป่วยตัดผมให้สั้นเพื่อลด ความวิตกกังวล การดูแลผมเพื่อให้ผมร่วงน้อยลงได้แก่ ใช้แปรงที่มีขนนุ่มและหวีผมเบาๆ ใช้แชมพูอ่อน ๆ ในการ สระผม ควรงดการย้อมและดัดผมในระหว่างให้ยาเคมี บำบัด
3.2 ผิวหนังและหลอดเลือดดำมีสีเข้มขึ้นอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าผิวหนังและหลอดเลือดจะมีสีเข้มขึ้น อาการนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราว แนะนำผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดเนื่องจากผิวหนังในระหว่างนี้จะไวต่อแสงมากถ้าจำเป็นต้องออกนอกบ้านให้ทาครีมกันแดด SPF 30ขึ้นไป สวมเสื้อแขนยาว สวมหมวก หรือถือร่ม
การเปลี่ยนแปลงของเล็บ อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าระหว่างให้เคมีบำบัดเล็บจะหนาขึ้น ไม่งอก จมูกเล็บจะชัดเจน และสีเข้มขึ้น อาการที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นชั่วคราว เท่านั้น
ให้กำลังใจและคำชม เมื่อผู้ป่วยมีพฤติกรรม การปรับตัวที่ดี เช่นสนใจตนเอง มีสัมพันธภาพที่ดี กับบุคคล ในครอบครัว
ผลการประเมิน
ผู้ป่วยยอมรับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้สามารถปรับตัวและดูแลตนเองอย่างเหมาะสมมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังและเล็บ ไม่ได้กังวลอะไรมาก เรื่องผมร่วงผู้ป่วยซื้อผมปลอมมาใส่
ข้อวินิจฉัยที่3 อาจเกิดภาวะข้อไหล่ติด และไหล่ซ้ายบวมเนื่องจากขาดความรู้ในการบริหารแขนที่ถูกต้อง
ข้อมูลสนับสนุน
1.หลังผ่าตัดผู้ป่วยนอนเฉยๆ ไม่กล้ายกแขน
ผู้ป่วยซักถามท่าบริหารแขนที่ถูกต้อง
วัตถุประสงค์
ข้อไหล่ไม่ติด แขนซ้ายไม่บวม
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยสามารถบริหารแขนและไหล่ได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับอาการแสดงของแขนบวม โดยประเมินจาก
1.1ความบกพร่องของประสาทรับความรู้สึกและการทำงานของกล้ามเนื้อแขน
1.2 อาการชาหรือรู้สึกปวดตึงๆ
1.3 อาการบวม (โดยวัดรอบแขนข้างซ้ายที่ทำฝ่าตัดที่จุด 5-10 ชม. เหนือและใต้ข้อศอก
ประเมินอาการและอาการแสดงของความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อและการรับความรู้สึกของ แขนและหัวไหล่ข้างซ้ายที่ทำผ่าตัดเต้านม เช่น ไม่สามารถ หมุนหรือขยับข้อได้หรือมีอาการปวดเสียวชามากขึ้น หรือ อ่อนแรงของแขนข้างที่ทำผ่าตัด
อธิบายให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญของการบริหารข้อไหล่ พร้อมกับให้ซักถามปัญหาต่างๆ
แนะนำให้ ผู้ป่วยเริ่มบริหารข้อไหล่ ตั้งแต่วันที่2 หลังผ่าตัด ได้แก่ท่าไต่ผนัง ท่าแกว่งแขนเป็นวงกลม ท่าดึงเชือกขึ้นลง ท่าแกว่งเชือกเป็นวงกลมเป็นต้น การบริหารไม่จำเป็นต้องมีกำแพง หรือเชือก ผู้ป่วยสามา2ถบริ หารบนเตียงได้โดยยกแขนบริหารท่าไต่ผนังกับอากาศ ทั้งนี้การบริหารต้องยึดหลักไม่หักโหม ค่อยๆ ยกข้อไหล่ไปเรื่อย ถ้าปวดก็หยุดตรงระดับนั้น แล้วค่อยๆเพิ่มในวันต่อๆไป หลังผ่าตัด 5 วันไปแล้ว จึงให้บริหารไหล่ ท่ากางแขน 180 องศา(Abduction) เพราะถ้าบริหารก่อนหน้านั้นจะทำให้มีการดึงรั้งของแผล แผลอักเสบได้
วันที่ 3 หลังผ่าตัดให้ผู้ป่วยหวีผมเองโดยค่อยๆยกแขนหวีผม อย่าให้ผู้ป่วยก้มศีรษะลงมาทำให้ผู้ป่วยยกแขนได้น้อย ไม่ได้ผลในการบริหาร
ไม่วัดความดันโลหิต ให้สารน้ำ ฉีดยา เจาะเลือดแขนซ้าย เนื่องจากการตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ออกไป ทำให้การไหลกลับของเลือดได้ไม่ดี
นอนยกแขนซ้ายสูงกว่าระดับหัวใจโดยใช้หมอน 1 ใบรองแขนตังแต่แขนถึงหัวไหล่
การประเมินผล
ผู้ป่วยสามารถใช้ท่าบริหารแขน และไหล่หลังผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง
ข้อไหลไม่ติด เสียวแปล๊บๆ และแขนซ้ายบวมเล็กน้อย
ข้อวินิจฉัยที่2 : ปวดแผลเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับความกระทบกระเทือนจากการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยบ่นปวดแผลผ่าตัดขณะเปลี่ยนอิริยาบถคะแนนความเจ็บปวด 8 คะแนน
ผู้ป่วยหน้านิ่วคิ้วขมวดร้องครวญคราง
วัตถุประสงค์
อาการปวดแผลทุเลาลง ผู้ป่วยมีความสุขสบายมากขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยปวดแผลผ่าตัดน้อยลง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความเจ็บปวดโดยใช้แบบประเมินลักษณะและชนิดของความปวด และประเมินจากสีหน้าท่าทางของผู้ป่วย เช่น คิ้วขมวด นอนกระสับกระส่าย ฝืนตัวเวลาเปลี่ยนท่ากำมือแน่น เหงื่อออก หน้าซีด ความดันโลหิต
สูง หัวใจเต้นเร็ว
แนะนำเทคนิคการหายใจบรรเทาปวด โดยการหายใจเข้าออกยาวๆ ลึกๆ ทางปาก เพื่อผ่อนคลายและ
เบี่ยงเบนความสนใจออกจากความเจ็บปวด
สอน และช่วยผู้ป่วยประคองแผลด้วยมือและหมอนขณะที่ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัวเพื่อลดอาการปวดแผล
ดูแลสายระบายไม่ให้ดึงรั้งแผลของผู้ป่วยและไม่ให้สายหัก พับงอ ก่อความระคายเคืองต่อแผล ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์ คือ Morphine 3 mg. ทางหลอดเลือดดำช้าๆ ทุก 4 ชั่วโมง หากมีอาการปวดแผล พร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และการหายใจช้าลงกว่าปกติ
การประเมินผล
ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายโดยประเมินจากหลังรับยา Morphine 3 mg จำนวน 2 ครั้งในวันแรกของการผ่าตัดระดับความปวด 4 คะแนน สีหน้าผ่อนคลาย และร่างกายไม่เกร็งจากอาการปวด สามารถปฏิบัติกิจวัตร
ประจำวันได้ด้วยตนเอง
หลังได้รับยาแก้ปวดไม่มีอาการข้างเคียงของยา
ข้อวินิจฉัยที่ 1
เสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังผ่าตัดภายใน 24ชั่วโมงแรกเนื่องจากมีเลือดออกขณะผ่าตัดมาก
วัตถุประสงค์
ปลอดภัยจากภาวะตกเลือดหลังผ่าตัดเกณฑ์การประเมินผลไม่มีเลือดซึมบริเวณแผลผ่าตัดเพิ่ม
เลือดในขวด Radivac drain ทั้ง 2 ขวดรวมกันไม่เกิน 200 ซีซีต่อชั่วโมง
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับสารน้ำ 5% D/N/2 1000มิลลิลิตร ทางหลอดเลือดดำ อัตราการไหล 80 มิลลิลิตรต่อ
ชั่วโมง
สังเกตเลือดออกบริเวณแผลผ่าตัด หากเลือดออกมากขึ้นและขอบเขตขยายกว้างรวดเร็ว รายงานแพทย์
1.บันทึกสัญญาณชีพ จนสัญญาณชีพคงที่ใน
ดูแลให้สายระบายที่ต่อออกจากแผลผ่าตัดไม่ให้พับงอหรือสายดึงรั้ง ดูแลสายระบายไม่ให้อุดตัน วาง
ขวดให้ระดับต่ำกว่าตัวผู้ป่วยเพื่อให้สิ่งคัดหลั่งไหลออกสะดวก ดูแลขวด radivac drain.เป็นระบบสูญญากาศและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งบันทึกเลือดที่ออก ถ้ามากกว่า 200 ซีซีต่อชั่วโมง รายงานแพทย์
ข้อมูลสนับสนุน
ขณะทำการผ่าตัด ผู้ป่วยเสียเลือดประมาณ500 ซีซีกลับจากห้องผ่าตัด ผู้ป่วย on radivac drain 2 ขวด ขวดที่ 1 มีเลือด 75 ซีซี ขวดที่ 2 มีเลือด 50 ซีซี
การประเมินผล
สารคัดหลั่งทั้ง 2 ขวดออกรวมกัน 40 - 125 ซีซีต่อวันโดยปริมาณลดลงเรื่อยๆใส่สาย 15 วันสามารถถอด
สายออกได้
สัญญาณชีพปกติ อุณหภูมิร่างกาย 36.5-37องศาเซลเซียส ชีพจร 64 -82 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจ
20 - 22 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต 116/76 - 120/80มิลลิเมตรปรอท
แผลผ่าตัดไม่มีเลือดออกเพิ่ม
ข้อมูลทั่วไป
อาการแรกรับ
อาการแรกรับ:รู้สึกตัวดี ช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ซีดคลำได้ก้อนแข็งที่บริเวณเหนือเต้านมซ้าย กดเจ็บ pain score 1-2 คะแนน สัญญาณชีพ อุณหภูมิ 36.7 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 130/70 มิลลิเมตรปรอท ชีพจ 66 ครั้งต่อนาที หายใจ 20 ครั้งต่อนาที
ประวัติปัจจุบัน
ประวัติปัจจุบัน:
1 เดือนก่อนมา คลำได้ก้อนแข็งที่บริเวณเหนือเต้านมซ้าย กดเจ็บ
2 สัปดาห์ก่อนมาแพทย์นัดทำ Core Needle Biopsy ผa Invasive mammary carcinoma
1 สัปดาห์ก่อนมา แพทย์นัดนอนโรงพยาบาลเพื่อทำการผ่าตัด
อาการสำคัญ
อาการสำคัญ : คลำได้ก้อนแข็งที่บริเวณเหนือเต้านมซ้ายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร กดเจ็บ Pain score 1 -2 คะแนน
ข้อมูลการรักษา
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและพยาธิวิทยา
6 ธันวาคม 2564: เอกซเรย์ทรวงอกผลปกติ คลื่นไฟฟ้าหัวใจผลปกติ
13 พฤศจิกายน 2564 : Core Needle Biopsy
ผล Invasive mammary carcinoma, probably ductal type, poorly differentiated.
6 ธันวาคม 2564: ตรวจ CBC, Electrolyte, BUN,Creatinine ผลปกติและUrine exams ผลพบWBC Creatinine ผลปกติและUrine exams ผลพบ WBC 3 – 5 cells/HPF
การรักษา
การรักษาที่ได้รับขณะนอนโรงพยาบาล :คือการผ่าตัด Left MRM (modifed radical mastectomy)
ผู้ป่วยสูญเสียเลือดขณะผ่าตัด 500 ml. หลังผ่าตัดมีสิ่งคัดหลั่งออกจากแผลวันละ 50 - 200 Ml. ได้รับการฉีดยาต้านการอักเสบ ปริมาณสิ่งคัดหลั่งลดลงใส่สายระบายอยู่ 15วัน แผลแห้งและไม่มีการติดเชื้อ สามารถถอดสาย ระบายสิ่งคัดหลั่งได้ สัญญาณชีพปกติ ไม่มีภาวะพร่องของเกลือแร่และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ หลังผ่าตัด 1 เดือนผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดสูตร FAC regimen (5-FU, Doxorubicin,Cyclophosphamide )หลังรับยาเคมีบำบัดครั้งที่ 3 มีภาวะเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำแต่ไม่มีภาวะติดเชื้อร่วม ได้รับยากระตุ้นเม็ดเลือดขาวคือ Filgen 300 microgram. วันละ 1ครั้ง จำนวน 7 วัน ต่อมาเม็ดเลือดขาวในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติสามารถให้ยาเคมีต่อจนครบ 6 ครั้งและรับฮอร์โมนรักษา ( TMF 1 เม็ดวันละ 1 ครั้งก่อนนอน ) ภาวะแทรกซ้อน อื่นที่เกิดขึ้นขณะและหลังรับยาเคมีในระยะแรกคือ อาการคลื่นไส้อาเจียน ผมร่วง น้ำหนักลด อ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้น้อย
ปัญหาทางด้านจิตใจพบว่าผู้ป่วยมี ความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรค การรักษาและภาพลักษณ์ของตนเอง
การวินิจฉัยโรค
Left Breast Cancer, Staging:T2NOMO poorly, Free margin