Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Ventricular Septal Defect (VSD) - Coggle Diagram
Ventricular Septal Defect (VSD)
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ชนิดที่ไม่มีอาการเขียว :<3:
(Non-cyanotic heart disease)
ความผิดปกติ :green_cross:
VSD เป็นความผิดปกติของหัวใจที่มีรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่างขวา (right ventricle, RV) และซ้าย (left ventricle, LV)
การรักษา :star:
การรักษาทั่วไป ให้ยาควบคุมอาการถ้ามีภาวะหัวใจวาย
การรักษาจำเพาะ การผ่าตัดหรือปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์ผ่านสายสวนหัวใจ ซึ่งมีข้อบ่งชี้ดังนี้
2.1 มีภาวะหัวใจวายและไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา
2.2 การสวนหัวใจพบสัดส่วนของปริมาณเลือดไปปอด (Qp) มากกว่าร่างกาย (Qs) โดยอัตราส่วนมากกว่า 2:1
2.3 มีภาวะแทรกซ้อนจาก VSD เช่น ผู้ป่วย small VSD ที่มี AR, subaortic หรือ subpulmonic stenosis, มีการติดชื้อที่ลิ้นหัวใจและความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง
สาเหตุ :warning:
มารดาได้รับสารเคมีเป็นจำนวนมาก
ภาวะแทรกซ้อนของมารดาขณะตั้งครรภ์ เช่น ขาดโปรตีน
ได้รับเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน
มารดาเป็นโรคเรื่อรัง เช่น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
มารดาได้รับรังสีเอกซเรย์
การดูแล :silhouette:
การหลีกเลี่ยงฝุ่น ควัน และอากาศที่เย็น
การดูแลเรื่องความสะอาดป้องกันการติดเชื้อ
อาการแสดง :checkered_flag:
ริมฝีปากหรือนิ้วมีสีม่วงคล้ำผิดปกติ
หอบ
เหนื่อยง่าย
หายใจเร็ว
เหงื่อออกง่ายขณะดูดนม
น้ำหนักตัวน้อย
ขึ้นกับขนาดของรูรั่วและแรงต้านทานหลอดเลือดในปอด ในกรณีที่รูรั่วมีขนาดเล็ก (small VSD) เด็กจะไม่มีอาการใดๆ มักตรวจร่างกายพบโดยบังเอิญ ส่วนในเด็กที่มีรูรั่วขนาดกลางหรือใหญ่ (moderate or large VSD) จะมีภาวะหัวใจวาย โดยจะมีอาการได้ตั้งแต่อายุ 2-3 เดือน ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว ดูดนมได้ช้า เช่น แต่ละมื้อนานกว่า 20 นาที เลี้ยงไม่โต และมีอาการของปอดอักเสบซ้ำๆ
พยาธิสภาพ :green_cross:
แบ่ง VSD ตามตำแหน่งของรูรั่วได้ 4 ชนิด 4
1.Type I, outlet หรือ supracrystal VSD มีรูรั่วของผนังกั้นหัวใจห้องล่างใกล้บริเวณ aorta หรือ pulmonary artery (PA)
2.Type II หรือ perimembranous VSD มีรูรั่วอยู่ใต้ลิ้นหัวใจ aortic เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ประมาณร้อยละ 80
3.Type III, inlet VSD หรือ canal VSD มีรูรั่วอยู่ใต้ลิ้นหัวใจ tricuspid ด้านใน
4.Type IV หรือ muscular VSD มีรูรั่วที่ trabeculae ถ้ามีรูรั่วหลายรู มีชื่อเรียก “Swiss cheess” VSD
เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด หรืออย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้เลือดดำปนกับเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้เด็กเกิดภาวะขาดออกซิเจนผิวจึงมีสีเขียวคล้ำม่วง ซึ่งจะเห็นได้ขัดเจนขณะร้องหรือดูดนม และอาจมีความผิดปกติอื่นๆ ที่ค่อนข้างรุนแรง
การวินิจฉัย :explode:
วินิจฉัยโรคได้จากอาการทางคลินิกร่วมกับภาพถ่ายรังสีทรวงอกและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอน คือ
2D-echocardiography เพื่อบอกตำแหน่งและขนาดของ VSD
การสวนหัวใจ (cardiac catheterization) ในผู้ป่วยที่มี large VSD หรือ เพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง นอกจากนี้การสวนหัวใจยังทำเพื่อการรักษาผ่านสายสวน (cardiac intervention) โดยการใช้อุปกรณ์ปิดรูรั่ว
การตรวจร่างกาย :black_flag:
ใน small VSD จะตรวจพบเพียงเสียงหัวใจที่ผิดปกติ คือ เสียง pansytolic murmur โดยไม่พบความผิดปกติอื่น ในกรณี moderate to large VSD จะตรวจพบอาการแสดงของภาวะหัวใจวาย ซึ่งมี “cardinal signs” คือ หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ตับโตและหัวใจโต ตรวจหัวใจจะพบหัวใจเต้นแรง (active precordium), ฟังได้เสียง pansystolic murmur และ diastolic rumbling murmur ซึ่งเกิดจากเลือดปริมาณมากไหลผ่านลิ้นหัวใจ mitral ที่ปกติ ทำให้เกิด relative mitral stenosis (MS) ได้ และถ้าความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง (pulmonary arterial hypertension, PAH) จะได้ยินเสียงการปิดของลิ้นหัวใจ pulmonic (P2) ดังขึ้น