Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง - Coggle Diagram
ภาวะแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง
ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (atheroma)
ช่องภายในหลอดเลือดแดงตีบแคบลง
ทำให้เกิดลิ่มเลือด (Thrombosis)
ที่หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง
ภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ
กลไกที่โรคความดันโลหิตสูงมีผลต่อหัวใจ
เกิดจากการเพิ่มของการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย เป็นระยะเวลานาน
ภาวะหัวใจล้มเหลว(heart failure)
หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ได้อย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
หากหัวใจซีกขวาล้มเหลว
ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเข้าหัวใจซีกขวาได้
อาจเกิดภาวะคั่งน้ำตามอวัยวะต่าง ๆ
ตับโต
บวมน้ำ
แน่นท้อง
ปวดท้อง
เบื่ออาหาร
ขาบวม
ท้องบวม
หากหัวใจซีกซ้ายล้มเหลว
จะมีอาการเหนื่อยง่าย ไม่มีแรง อาจมีเลือดคั่งในปอด
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว(atherosclerosis)
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด
จากการที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดเลือด
ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นเรื่อย ๆ ร่วมกับการมีหินปูน
และไขมันไปสะสมระหว่างหลอดเลือด
การทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อมสภาพลง
มีความยืดหยุ่นลดลง
ผนังหลอดเลือดหนาขึ้น เกิดเป็นตะกรัน (plaque)
ทำให้หลอดเลือดตีบตัน
ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง(aneurysm)
การที่มีแรงดันเลือดที่สูงมากระทบหลอดเลือดเป็นเวลานาน
ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น มีการขยายและโป่งออก
เกิดภาวะหลอดเลือดแดงโป่งพอง
อาจมีอาการจากการกดเบียดของหลอดเลือดต่ออวัยวะข้างเคียง
การกดเบียดหลอดลม ทำให้มีอาการหายใจลำบาก
การกดเบียดหลอดอาหาร ทำให้มีอาการกลืนลำบาก
การกดเบียดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบ
ภาวะแทรกซ้อนที่ระบบประสาท
ชนิดเฉียบพลัน
โรคหลอดเลือดสมองแตก
(cerebral hemorrhage)
การแตกของหลอดเลือดแดง โดยเลือดที่ออกในสมองจะกลายเป็นก้อนเลือด (hematoma) ซึ่งจะขยายขนาดเพิ่มขึ้น เกิดการกดเบียดเนื้อสมอง
ทำให้ความดันในสมองเพิ่มขึ้น (increase intracranial pressure)
โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
(cerebral thrombosis or infarction)
การอุดตันของหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้เกิดภาวะเนื้อสมองตาย
จากการขาดเลือดและออกซิเจน ซึ่งอาจเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงตีบ
หรือลิ่มเลือดอุดตันที่มาจากหัวใจ (embolism)
โรคสมองขาดเลือดชั่วคราว
(transient ischemic attack: TIA)
ชนิดเรื้อรัง ได้แก่ โรคสมองเสื่อม (vascular dementia)
เป็นภาวะหลงลืมที่เกิดจากหลอดเลือดสมองผิดปกติแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
ภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตา
ผนังหลอดเลือดแดงที่จอประสาทตา
(retinal artery) หนาตัวขึ้น
เมื่อหลอดเลือดนี้ทอดผ่านหลอดเลือดดำ
ก็จะกดเบียดหลอดเลือดดำที่จุดตัด
เมื่อเป็นมากขึ้น
จะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้น
อาการที่สัมพันธ์กับระดับความดันโลหิต
การมีจุดเลือดออก
จอประสาทตาขาดเลือด
เนื่องจากการอุดตันของหลอดเลือด
ภาวะแทรกซ้อนที่ไต
โดยความดันโลหิตที่สูงผิดปกติ
จะทำลายหลอดเลือดภายในไต
ทำให้การทำงานของหน่วยไต(glomerulus)เสื่อมลง
เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ
ส่งผลให้ไตเสื่อมสภาพถึงขั้นไตวายเรื้อรัง
อาการเริ่มแรกของภาวะไตวายเรื้อรัง
ซีด
อ่อนเพลีย
ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน
ขาบวม
คลื่นไส้
อาเจียน
ซึมลง
ภาวะไตวายระยะสุดท้าย(end-stage renal disease)
ตรวจปัสสาวะพบไข่ขาว (albumin) ตั้งแต่2+ ขึ้นไป
ตรวจเลือดพบระดับ BUN และ creatinineสูง