Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง - Coggle Diagram
ภาวะแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง
1. ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว (atheroma)
ปัจจัยเสี่ยงหลักที่เอื้อต่อการเกิดตะกรันที่ทำให้มีการแข็งตัว
(atheromatous plaque) ในหลอดเลือดแดง
ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือสูง
ความอ้วน อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่และประวัติครอบครัว
ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
ทำให้ช่องภายในหลอดเลือดแดงตีบแคบลง
ทำให้เกิดลิ่มเลือด (thrombosis)
ทั้งที่หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง
ในผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
ยจะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดตะกรันแตก (plaquerupture) มีการเซาะของผนังหลอดเลือดแดง
ส่งผลให้มีเลือดออกในอวัยวะนั้น ๆ ตามมา
2. ภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ
กลไกที่โรคความดัน โลหิตสูงมีผลต่อหัวใจเกิดจากการเพิ่มของการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricular hypertrophy workload) เป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจ
1ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว(atherosclerosis)
เป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด
จากการที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดเลือด
ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นเรื่อย ๆ ร่วมกับการมีหินปูน และไขมันไปสะสมระหว่างหลอดเลือด
การทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อมสภาพลง มีความยืดหยุ่นลดลง
โดยบริเวณพื้นผิวภายในหลอดเลือดมีการสะสมของไขมัน
และสารอื่น ๆ ในผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาขึ้น เกิดเป็นตะกรัน (plaque) ทำให้หลอดเลือดตีบตัน
ส่งผลให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก (anginapectoris) หลังการออกกำลังกาย หรืออาจมีอาการปวดขาหลังจากเดินนาน ๆ และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้แก่
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
1 more item...
กิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
(heart attack)
1 more item...
2 ภาวะหัวใจล้มเหลว(heart failure)
เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ และความดันโลหิตสูง
โดยอาการที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับว่าหัวใจซีกใดล้มเหลว หากหัวใจซีกขวาล้มเหลว ก็จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเข้าหัวใจซีกขวาได้อาจเกิดภาวะคั่งน้ำตามอวัยวะต่าง ๆส่งผลให้ตับโต บวมน้ำ ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ปวดท้อง
หากหัวใจซีกซ้ายล้มเหลวจะมีอาการเหนื่อยง่าย ไม่มีแรง อาจมีเลือดคั่งในปอดทำให้เกิดอาการเหนื่อย หอบ ไอเป็นเลือด นอนราบแล้วหายใจไม่สะดวก หรือนอนแล้วต้องตื่นขึ้นมากลางดึก(paroxysmal nocturnal dyspnea: PND)
3 ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง(aneurysm)
การที่มีแรงดันเลือดที่สูงมากระทบหลอดเลือดเป็นเวลานาน ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่นมีการขยายและโป่งออก
เกิดภาวะหลอดเลือดแดงโป่งพองซึ่งตำแหน่งที่พบได้บ่อยคือ หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องและในช่องอก
อาจมีอาการจากการกดเบียดของหลอดเลือดต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น
การกดเบียดหลอดลม ทำให้มี
อาการหายใจลำบาก
การกดเบียดหลอดอาหาร ทำให้มี
อาการกลืนลำบาก
การกดเบียดเส้นประสาทที่มาเลี้ยง
กล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบ
3. ภาวะแทรกซ้อนที่ระบบประสาท
3.1 ชนิดเฉียบพลัน
1) โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
(cerebral thrombosis or infarction)
เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่าง
เฉียบพลัน เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดสมอง
ส่งผลให้เกิดภาวะเนื้อสมองตายจากการขาดเลือดและออกซิเจนซึ่งอาจเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงตีบ หรือลิ่มเลือดอุดตันที่มาจากหัวใจ (embolism)
2) โรคหลอดเลือดสมองแตก
(cerebral hemorrhage)
โรคนี้เกิดจากการแตกของหลอดเลือดแดง โดยเลือดที่ออกในสมองจะกลายเป็นก้อนเลือด (hematoma) ซึ่งจะขยายขนาดเพิ่มขึ้นเกิดการกดเบียดเนื้อสมอง
ทำให้ความดันในสมองเพิ่มขึ้น(increaseintracranialpressure) โดยจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน และซึมลง
3) โรคสมองขาดเลือดชั่วคราว
(transient ischemicattack: TIA)
ผู้ป่วยมักมีอาการผิดปกติอย่างทันทีทันใดทางระบบประสาทเช่นเดียวกับอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบ แต่อาการจะหายเป็นปกติภายใน 24 ชั่วโมง
3.2 ชนิดเรื้อรัง
่โรคสมองเสื่อม (vascular dementia)
เป็นภาวะหลงลืมที่เกิดจากหลอดเลือดสมองผิดปกติแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ซึ่งพบได้บ่อยรองจากโรคอัลไซเมอร์(Alzheimerdisease) ซึ่งผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำในกระบวนการรับรู้กระบวนการคิดการพูด และการเคลื่อนไหว
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคหลอดเลือดสมองทั้งชนิดสมองขาดเลือดและชนิดเลือดออกในสมอง
โดยความดันซิสโตลิกมีผลร้ายต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าความดันไดแอสโตลิก การที่ความดันซิสโตลิก เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ร่วมกับการพบตะกรันที่ทำให้มีการแข็งตัวในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
4. ภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตา
โรคความดันโลหิตสูงทำให้ผนังหลอดเลือดแดงที่จอประสาทตา (retinal artery)หนาตัวขึ้น
เมื่อหลอดเลือดนี้ทอดผ่านหลอดเลือดดำ
ก็จะกดเบียดหลอดเลือดดำที่จุดตัด และเมื่อเป็นมากขึ้นจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้น
ซึ่งอาการแสดงจะสัมพันธ์กับระยะเวลาที่เป็นโรคมากกว่าระดับความดันโลหิต
ส่วนอาการที่สัมพันธ์กับระดับความดันโลหิต ได้แก
การมีจุดเลือดออก
จอประสาทตาขาดเลือดเนื่องจากการอุดตัน
ของหลอดเลือด
5. ภาวะแทรกซ้อนที่ไต
โดยความดันโลหิตที่สูงผิดปกติจะทำลายหลอดเลือดภายในไต ทำให้การทำงานของหน่วยไต(glomerulus)เสื่อมลง
ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ ส่งผล
ให้ไตเสื่อมสภาพถึงขั้นไตวายเรื้อรัง
โดยอาการเริ่มแรกของภาวะไตวายเรื้อรัง ได้แก่ ซีด อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน ขาบวม คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง
ส่วนภาวะไตวายระยะสุดท้าย(end-stagerenaldisease)
จะตรวจปัสสาวะพบไข่ขาว (albumin) ตั้งแต่2+ ขึ้นไปและตรวจเลือดพบระดับ BUN และ creatinineสูง
5.1 ภาวะความดันโลหิตสูงชนิดไม่รุนแรง
(benign hypertension nephrosclerosis)
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการมีความดันโลหิตที่สูงมากในช่วงเวลาสั้น ๆ
ส่งผลให้เกิดการทำลายผนังหลอดเลือดจะมีอาการปวดศีรษะ ตามัว สับสน ร่วมกับอาการของภาวะไตวาย เช่น ขาบวม ปัสสาวะออกน้อยลง
5.2 ภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง
(malignanthypertensive nephrosclerosis)
เป็นภาวะแทรกซ้อนี่เกิดจากการมีความดันโลหิตที่สูงเป็นเวลานาน ซึ่งมักมีความเสื่อมของอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย ไตมีความเสื่อมมากขึ้น
โดยตรวจพบอาการบวม มีปัสสาวะออกน้อยลง
มีการเพิ่มขึ้นของระดับ creatinineและไข่ขาวในปัสสาวะ
หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ก็จะกลายเป็นไตวาย
ระยะสุดท้าย ซึ่งระยะนี้จะมีอาการตัวบวม ขาบวมเหนื่อยหอบ สับสน ชัก ไม่รู้สึกตัว และเสียชีวิตได้