Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
8.2 การพยาบาล ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต, image, image, image, image…
8.2 การพยาบาล
ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
การบำบัดทดแทนไต (Renal replacement therapy, RRT) หมายถึง วิธีการรักษาที่มีบทบาททำหน้าที่แทนไตเดิมที่เสื่อมสภาพไปอาจเป็นการรักษาชั่วคราวเพื่อรอไตฟื้นหน้าที่ในภาวะไตวายเฉียบพลัน หรือ เป็นการรักษาระยะยาวถาวรในภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย ในปัจจุบันมี 3 วิธีการ คือ การฟอกเลือด การล้างไตทางช่องท้องและการปลูกถ่ายไต สำหรับการปลูกถ่ายไตจะใช้เฉพาะในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเท่านั้น
การฟอกเลือด
(Hemodialysis)
การฟอกเลือด (Hemodialysis) หมายถึง การนำเลือดออกจากตัว ผู้ป่วยทางหลอดเลือดเทียมไปผ่านตัวกรองเลือดเพื่อแลกเปลี่ยนของเสีย สารน้ำและเกลือแร่ และน้ำเลือดที่มีของเสียน้อยวนกลับเข้าสู่ร่างกาย อาจมีการทดแทนสารน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูงเข้าสู่ร่างกายในวิธีการฟอกเลือดเทคนิคพิเศษบางชนิด
การฟอกเลือดเป็นช่วง (Intermittent hemodialysis)
รายละเอียดของการเลือกใช้ชนิดและขนาดตัวกรอง น้ำยาฟอกเลือดและชนิดหลอดเลือดเทียมขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ป่วยแต่ละราย
โดยทำการฟอกเลือดสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 4-5 ชั่วโมง
Conventional intermittent hemodialysis
เป็นวิธีขจัดของเสียโดยอาศัยหลักของวิธีการกรอง (diffusion)และการพา(convection) ในแลกเปลี่ยนของเสียระหว่างเลือดและน้ำยาฟอกเลือด
ผลสัมฤทธิ์ของการรักษาขึ้นกับปริมาณของเสียที่ถูกขจัดออกและความร่วมมือของผู้ป่วย
ในด้านความสม่ำเสมอของการฟอกเลือดและการจำกัดอาหารและน้ำอย่างเหมาะสม
แพทย์มีบทบาทในการเลือกขนาดและชนิดของตัวกรองที่เหมาะสมและปรับคำสั่งการรักษาให้ผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือดอย่างเพียงพอ
Hemodiafiltration (HDF)
มักต้องใช้วิธี online HDFเพื่อให้ได้ปริมาณการทดแทนสารน้ำบริสุทธ์เพียงพอ
องค์ประกอบสำคัญที่สุดของการฟอกเลือดวิธีนี้ คือระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ที่มีความสามารถผลิตน้ำได้ในระดับดีเยี่ยมกล่าว คือ ตรวจพบแบคทีเรียไม่เกิน 0.1 CFU/mL ด้วยวิธี membrane filtration technique และ endotoxinต่ำกว่า 0.03 EU/mL(4)
ข้อดี
ความเสถียรของความดันโลหิตและหัวใจ
การขจัดของเสียที่มีโมเลกุลขนาดกลางและใหญ่ เช่น b2 microglobulin, indoxyl sulfate เป็นต้น
ความต้องการยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin stimulating agents, ESA) ลดลง
แก้ไขภาวะทุพโภชาการที่เกิดจากการคั่งของสารพิษจากไตวายได้
เห็นผลดีต่อสุขภาวะในระยะยาวของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยวิธีโดยผู้ที่มีแนวโน้มจะ ได้รับประโยชน์จากวิธีการฟอกนี้ควรมีความพร้อมของหลอดเลือดเทียมสำหรับการฟอกเลือด และไม่มีสาเหตุอื่นนอกเหนือจากโรคไตที่ทำให้เกิดอาการของโรคซีด ทุพโภชนาการหรือปัญหาของระบบไหลเวียน
การฟอกเลือดเป็นช่วงแบบยืดระยะเวลา (Sustained low efficiency
hemodialysis, SLED)
มีปริมาณสารน้ำเกินมากแต่ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยการฟอกเลือดระยะสั้นได้
เป็นการฟอกเลือดอย่างน้อยครั้งละ 6-8 ชั่วโมง
ใช้ขนาดตัวกรองเล็ก ไม่ต้องอาศัยอัตราการไหลของเลือดสูงจึงทำให้มีความเสถียรของระบบไหลเวียนโลหิตดีกว่าวิธีปกติ
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
การที่เอาเลือดออกจากร่างกาย ผสมกับเฮพาริน (heparinized blood) เข้ามายังตัวกรองเลือด (dialysis) โดยไหลอยู่คนละข้างกับน้ำยา(dialysate) ซึ่งมีเซมิเพอเมียเบิ้ล เมมเบรน (semipermeablemembrain) กั้นกลางสารละลาย (solute)
ข้อบ่งชี้ในการทำ HD
มีระดับ Cr > 12 mg/dl
BUN >100 mg/dl
ภาวะน้ำเกินน้ำท่วมปอดไม่ตอบสนองต่อ diuretic drug
ภาวะเลือดออกผิดปกติจาก ภาวะยูรีเมียทำให้การทำงานของเกร็ดเลือดบกพร่อง
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา
การเตรียมทวารหลอดเลือด
สำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ทวารหลอดเลือดชนิดชั่วคราว
(temporary vascular access)
double lumen catheter
ใช้ในระยะเวลา ≤ 1-3 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วย ARF ใส่ได้ทันทีเมื่อต้องการ ในตำแหน่ง
internal jugular vein
femoral vein
subclavian vein สามารถทำหัตถการที่เตียงผู้ป่วยได้ ใช้งานได้ทันที
ทวารหลอดเลือดชนิดถาวร
(permanent vascular access)
Arteriovenous fistula, AV fistula, AVF
วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด ถ้าคุณมีเส้นเลือดโตเหมาะสมและมีเวลาเพียงพอ เพราะหลังผ่าตัดต้องใช้เวลารอให้เส้นเลือดที่ต่อโตพอที่จะใช้ได้ (อาจหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน) แต่ถ้าสามารถใช้ได้แล้ว ภาวะแทรกซ้อนจะน้อยกว่า และอายุการใช้งานจะนานกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชนิดอื่น
แพทย์จะต่อเส้นเลือดดำเข้ากับเส้นเลือดแดงโดยตรงที่บริเวณข้อมือหรือข้อศอก จะทำให้แรงดันเลือดจากเส้นเลือดแดงไหลเทเข้าเส้นเลือดดำ จะทำให้เส้นเลือดดำที่แขนโตและแข็งแรง
2.การผ่าตัดต่อเส้นเลือดเทียม (arteriovenous graft, AVG)
การผ่าตัดใช้เส้นเลือดเทียมเชื่อมต่อระหว่างเส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำบริเวณแขน
ข้อดีของการผ่าตัดแบบนี้คือสามารถใช้เส้นเลือดหลังผ่าตัดได้เร็ว
ข้อเสียคือปัญหาการติดเชื้อ และเส้นเลือดอุดตันได้สูงกว่าการผ่าตัดต่อเส้นเลือดจริง
คำแนะนำในการดูแล AVF และ AVG
ระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำยกแขนสูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อลดอาการบวม
สังเกตอาการผิดปกติหลังการผ่าตัด
โดยปกติจะนัดตัดไหม 10 – 14 วัน
แนะนำ Fistula hand-arm exercise( hand grip exercise ) ให้ผู้ป่วยบริหารทันที
เมื่อไม่มีอาการปวดแผล โดยใช้มือบีบลูกยางร่วมกับการใช้มืออีกข้างกำต้นแขนข้างที่ผ่าตัด ทำไปพร้อมกัน ครั้งละ 15 นาที อย่างน้อยวันละ 4 – 6 ครั้ง
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในระยะ 2–3 เดือนแรกก่อนการแทงเข็ม
ควรคลำเส้นเลือดที่ใช้ฟอกเลือดบ่อยๆ หรืออย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หรือทุกครั้งที่มีอาการเวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ
สังเกตว่ามีลักษณะการสั่นสะเทือนของเส้นเลือดเท่าเดิมหรือไม่ ถ้าน้อยลงหรือคลำไม่ได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์
หลีกเลี่ยงการกดทับเส้นเลือด
ไม่สวมเครื่องประดับรัดบนเส้นเลือด
ห้ามวัดความดันโลหิต ห้ามเจาะเลือดและให้สารน้ำทางหลอดเลือดแขนข้างที่มี AVF , AVG ห้ามแกะ เกา ผิวหนังแขนข้างที่ผ่าตัดต่อเส้นเลือด
หากบริเวณที่ต่อเส้นเลือด มีอาการบวม แดง หรือปวด มีหนองไหล ร่วมกับมีไข้ อาจเป็นอาการแสดงของการติดเชื้อบริเวณที่ต่อเส้นเลือดให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ระวังไม่ให้แขนข้างที่ต่อเส้นเลือดกระแทก ถูกของมีคม
หลังการฟอกเลือดใช้ผ้าก๊อซปราศจากเชื้อกดห้ามเลือด ด้วยน้ำหนักที่พอเหมาะ ระวังอย่ากดแรง เกินไปและห้ามใช้สายรัด
AVF ควรกดห้ามเลือดนานประมาณ 10 – 15 นาที กรณีAVG ใช้เวลามากกว่า 15 นาที หลังเลือดหยุด ควรประเมินเส้นเลือดโดยคลำพบว่ามีการสั่น ( thrill ) และฟังได้เสียงก้อง ( bruit )ได้คงเดิม
การพยาบาลก่อนทำ Hemodyalysis
วัดสัญญาณชีพ
ประเมินความสมดุลของน้ำและสารอิเลคโตรลัยส์
ดูแลการใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือด
ประเมินทางด้านจิตสังคม และปัญหาทางระบบประสาท
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การพยาบาลขณะทำ Hemodyalysis
วัดสัญญาณชีพทุก 1 – 2 ชั่วโมง
สังเกตอาการและอาการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ดูแลการทำงานของเครื่องไตเทียมอย่างสม่ำเสมอ
พูดคุยให้คำแนะนำ พร้อมทั้งประเมินสภาพจิตใจของผู้ป่วยขณะทำ
การพยาบาลหลังทำ Hemodyalysis
สังเกตอาการและอาการเปลี่ยนแปลง บางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงในระยะท้าย
เมื่อถอดเข็มออกจากหลอดเลือดผู้ป่วย ใช้ผ้าก๊อสสะอาดปราศจากเชื้อกดบริเวณแผลจนแน่ใจว่าไม่มีเลือดออกแล้วจึงปิดแผล
ชั่งน้ำหนัก วัดสัญญาณชีพ เจาะเลือดหา Hb และตัวอื่น ๆ ที่จำเป็นก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวและอธิบายถึงอาการและผลการฟอกเลือดแก่ผู้ป่วย
ภาวะแทรกซ้อน
Disequilibrium syndrome
Hypotension
Hypoxemia
Bleeding
Electrolyte disturbance
and cardiac arrhythmias
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือด
ด้วยเครื่องไตเทียม
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกิน
ความดันโลหิตต่ำอย่างรุนแรง- ตะคริวที่ปวดเกร็งรุนแรง - ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
อาการและอาการแสดง
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาการบวมเฉพาะที่หรือบวมทั่วตัวบวมกดบุ๋ม ท้องมาน
ความดันโลหิตสูง ชีพจรเบาเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายใจลำบาก มีอาการของน้ำในเซลล์สมองมาก
การพยาบาล แนะนำ
ด้านการรับประทานอาหารและการควบคุมน้ำดื่ม
ด้านการออกกำลังกายและการมาฟอกเลือดตามนัด
ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
การฝึกการควบคุมปริมาณน้ำดื่ม
การฟอกเลือดชนิดต่อเนื่อง(Continuous renal replacement therapy,CRRT)
การบำบัดทดแทนไตที่ทำต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง เป็นเวลาหลายวันในหอผู้ป่วยวิกฤต อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยวิกฤต โดยมีแพทย์หรือพยาบาลหน่วยไตเทียมให้คำปรึกษา
ข้อบ่งชี้ของการทำ CRRT
ผู้ป่วยที่มีปัญหาความดันโลหิต และการเต้นของหัวใจไม่ปกติ
สภาวะการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว เนื่องจากความผิดปกติของหัวใจและระบบหายใจ
มีเลือดออกอย่างรุนแรง จากการผ่าตัด หรือมีข้อบกพร่องของ DIC มีความจำเป็นต้องได้รับเลือดหรือองค์ประกอบของเลือดเป็นจำนวนมาก เพื่อแก้ไขภาวะช็อค
ผู้ป่วยที่มีอวัยวะหลายระบบล้มเหลวและมีภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันร่วมด้วย
มีความผิดปกติของสารเกลือแร่ อิเล็คโทรลัยต์ และความไม่สมดุลของกรด ด่างของร่างกาย
มีภาวะ hypercatabolic อย่างรุนแรง มีผลทำให้เกิดการสะสมของเสีย เช่น ยูรีเมียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธี dialysis ปกติได้
ประโยชน์ของการทำ CRRT
มีการขจัดน้ำและของเสียออกจากผู้ป่วยอย่างช้าๆและต่อเนื่อง
การทำ CRRT ขจัดของเสียได้ช้ากว่า intermittent hemodialysis
การพยาบาลผู้ป่วยทำ CRRT
ระยะก่อนการรักษา
การเตรียมพร้อมด้านจิตใจ
การเตรียมพร้อมด้านร่างกาย
การเตรียมอุปกรณ์เพื่อการรักษา
2.ระยะให้การรักษา
บันทึกสัญญาณชีพ
ประเมินอาการแพ้ตัวกรอง อาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดหลัง ชาตามปลายมือปลายเท้า
สังเกตอาการกรณีภาวะเส้นเลือดอุดตันจากฟองอากาศ ได้แก่ หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก ภาวะขาดออกซิเจน
Lab สังเกต อาการ E,lyte imbalance
Record I/O
ป้องกันการเลื่อนหลุดของวงจร
ระยะสิ้นสุดการรักษา
เป็นการดูแลสายสวนหลอดเลือดให้สามารถใช้งานได้ในครั้งต่อไป
ดูแลเหมือนกับ Hemodialysis
ภาวะแทรกซ้อน
Bleeding
Thrombosis และ Thromboembosis
Disconnection
Air embolism
ภาวะติดเชื้อ
continuous ambulatory peritoneal dialysis
(CAPD)
การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis) หมายถึง การขจัดของเสียสารน้ำและเกลือแร่โดยการแลกเปลี่ยนสารต่าง ๆ ในเลือดกับน้ำยาฟอกไตโดยอาศัยเยื่อบุช่องท้องเป็นตัวกรอง ปริมาตรของน้ำยาล้างไตที่ใส่เข้าไปในช่องท้องประมาณ 1.0 - 2.0 ลิตร/ครั้ง ความถี่ของการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาโดยทั่วไปทุก 4-6 ชั่วโมง แต่อาจมีความถี่มากขึ้นขึ้นอยู่การพิจารณาของแพทย์เพื่อให้ได้ความพอเพียงในการขจัดของเสีย สารน้ำและเกลือแร่วิธีการนี้ใช้ได้กับทั้งผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
กลุ่มผู้ป่วยที่เหมาะสมกับการล้างไตทางช่องท้อง
ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันจากโรคหัวใจ (Cardio renal syndrome)
ผู้ป่วยโรคไตวายที่มีโรคหัวใจรุนแรง (New York Heart Association Classification ระดับที่ 3 และ 4
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถจัดการให้มีหลอดเลือดเทียมสำหรับการฟอกเลือดได้
ผู้ป่วยเอชไอวีที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันและเรื้อรัง
ผู้ที่มี hypercatabolic state ระดับอ่อนถึงปานกลาง
วิธีการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไต
การเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตแบบมาตรฐาน (Conventional peritoneal dialysis)
โดยบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกฝนแล้วเป็นผู้เปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตเข้าและออกจากช่องท้อง
เหมาะกับการล้างไตทางช่องท้องทั่วไป ประมาณ 8-12 ลิตร/วัน
การเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตโดยใช้เครื่องอัตโนมัติ (Automated peritoneal dialysis, APD)
CAPD หมายถึง การล้างไตวิธีหนึ่ง ที่อาศัยผนังเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) ท าหน้าที่คล้ายเมมเบรนของตัวกรองฟอกเลือดแยกระหว่างส่วนของเลือด (blood compartment) กับส่วนของน้ำยาไต(dialysis compartment) ส่วนของเลือด มักทำการล้างไตชั่วคราว ไม่เกิน 48 ชั่วโมง
มีการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตวันละ 4 วงจร ( 4 ครั้ง/วัน ) โดยตั้งแต่ปล่อยน้ำยาใหม่เข้าช่องท้อง ทิ้งค้างไว้นาน 4-6 ชม. เมื่อครบเวลาก็ปล่อยน้ำยาออก นับเป็น 1 วงจร ( ถ้าเป็นถุงคู่ก็จะปลดถุงทิ้งเหลือเฉพาะสายแต่ถ้าเป็นถุงเดี่ยวก็จะมีถุงเปล่าติดตัวอยู่หลังปล่อยน้ำยาเข้าท้อง )
วัตถุประสงค์
ให้คงระดับของของเหลว เกลือแร่และขจัดสาร (solute removal)
ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับไตต่อไป
ทำให้ไตฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
สร้างที่ว่างในร่างกายผู้ป่วยสำหรับให้สารน้ำในโภชนบำบัด หรือให้ยาต่างๆ
ข้อบ่งชี้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 มีระดับ eGFR น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 มล./นาที/1.73 ตร.ม. และไม่พบสาเหตุที่ทำให้ไตเสื่อมการทำงานชั่วคราว
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 ขึ้นไป ที่มีค่า eGFR มากกว่า 6 มล./นาที/1.73 ตร.ม. ที่มีภาวะ แทรกซ้อนจากโรคไตเรื้อรัง ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยอย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อบ่งชี้ในการทำการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
Uremic symptoms
Fluid overload ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
E’lyte imbalance K> 7.0 mEq/L
Acic base imbalance
BUN > 80-100 mg/dl
ข้อห้าม
มีภาวะที่ขัดขวางการไหลของน้ำยาล้างไต
2.ผู้ป่วยที่มี Ileostomy, Nephrostomy,Ileal
conduit
ผู้ป่วยที่มีภาวะปวดเรื้อรัง Degenerative disc
4.มีการติดเชื้อที่ผิวหนังทางหน้าท้องทางช่องท้อง
5.น้ำหนักตัวในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า
100 กิโลกรัม
ผู้ป่วยมีความผิดปกติของลำไส้
ในผู้ป่วยที่มี abdominal prosthesis
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะติดเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่สายล้างไตทางช่องท้อง (mechanical
complication)
ปวดท้องช่วงที่ปล่อยน้ำยาเข้า
ปวดท้องในช่วงที่น้ำยาไหลออก
การรั่วของน้ำยาบริเวณปากแผล (leakage)
น้ำยาล้างไตมีเลือดปน
แรงดันในช่องท้องสูง
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ e,lyte imbalance น้ำเกิน ความดันต่ำ
สูญเสียโปรตีนทางน้ำยาล้างไต
การพยาบาล
เมื่อผู้ป่วยผ่านเกณฑ์การคัดเลือก และได้รับการอนุมัติตามสิทธิ์เพื่อทำการล้างไตทางช่องท้อง ผู้ป่วยจะได้รับการส่งต่อให้พบศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ
เมื่อพ้นระยะ 2 สัปดาห์แล้ว จะเริ่มการฝึกให้ผู้ป่วยและญาติทำการล้างไตทางช่องท้อง และจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน
ท่อล้างไต (Catheter) หรือสายเท้งคอลฟ (Tenckh off Catheter)
เป็นท่อซิลิโคน
ใช้เป็นช่องทางสำหรับการผ่านเข้า - ออกของน้ำยาพีดี มีรูเปิดเล็ก
ๆ จำนวนมากรอบปลายท่อฝั่งที่อยู่ภายใต้ช่องท้อง
ปลอกหุ้มเป็นปุยสีขาว (คัฟฟ์) จำนวน
2 ปลอก ไว้สำหรับตรึงท่อไม่ให้ขยับ
การฝังท่อล้างไต มี 2 วิธีคือ
การฝังท่อโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดผนังช่องท้อง
การฝังท่อโดยการผ่าตัด (Surgical)
การพยาบาล
การเตรียมทางด้านจิตใจโดยอธิบายถึงจุดประสงค์ของการทำและตอบข้อซักถาม
การเตรียมทางด้านร่างกาย โดยทำความสะอาดผิวหนังบริเวณหน้าท้องชั่งน้ำหนักตามผลชันสูตร วัดสัญญาณชีพ และแนะนำให้ทำความสะอาดร่างกาย
เตรียมน้ำยาไดอะลัยส์และอุปกรณ์ในการทำ
ประเมินการล้างมือของผู้ป่วย (กรณีผู้ป่วยทำเอง) ขั้นตอนการเปลี่ยนถุงน้ำยา ล้างมือโดยใช้หลักเดียวกันกับการล้างมือก่อนการท าหัตถการ ต่างๆ
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะล้างไตทางช่องท้อง
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายศีรษะสูง
ยึดหลักเทคนิคปราศจากเชื้อในการเปลี่ยนขวดแต่ละรอบ
3.สังเกตลักษณะของน้ำยาไดอะลัยส์ที่ออกจากช่องที่ออกจากช่องท้องผู้ป่วยทุกครั้ง
จดบันทึกเวลาและจำนวนน้ำยาไดอะลัยส์เข้าและออก
ชั่งน้ำหนักผู้ป่วยก่อนทำและขณะทำทุกวัน
เจาะเลือดตรวจหา E’ lyte , Urea, Cr ทุก 12 ชั่วโมง
วัดสัญญาณชีพอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
ดูแลกิจวัตรประจำวันแก่ผู้ป่วยและทำความสะอาดร่างกาย
สังเกตอาการและอาการแสดงของปัญหาและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
หากน้ำยาไม่ค่อยไหลให้ค่อยๆขยับเปลี่ยนท่า
บันทึกแล้วรายงานแพทย์
การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Renal transplantation)
การปลูกถ่ายไต (Kidney transplantation) วิธีนี้จึงเหมาะสมกับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่มี
โรคหัวใจรุนแรงและมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดปลูกถ่ายไต
การพยาบาลก่อนทำ
เตรียมผู้ป่วย โดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผ่าตัดปลูกถ่ายไต ข้อดี - ข้อเสียในการรักษา ซึ่งการเตรียมผู้ป่วยในระยะนี้ควรใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก่อนทำการรักษา
เตรียมผู้ป่วยผ่าตัด
ประเมินสภาพจิตใจของผู้ป่วย
เจาะเลือดดูกลไกการทำงานของตับ กลไกการหยุดเลือด
การทำหน้าที่ของหัวใจ
ตรวจปัสสาวะและถ่ายเอ๊กซเรย์ปอด
แนะนำทำความสะอาดร่างกาย ทำความสะอาดบริเวณผิวหนังหน้าท้อง
ให้อาหารอ่อนเย็นก่อนผ่าตัด สวนอุจจาระเช้าก่อนผ่าตัด และงดน้ำอาหาร หลังเที่ยงคืน ให้ยากดระบบภูมิคุ้มกัน และยาปฎิชีวนะในวันผ่าตัด
การพยาบาลขณะทำ
ขณะเข้าห้องผ่าตัด ผู้ป่วยอาจวิตกกังวล กลัวแปลกสถานที่และบุคคล พยาบาลควรอยู่ใกล้ ๆ กับผู้ป่วยพูดคุยเพื่อลดความกลัว
การพยาบาลหลังผ่าตัด
สังเกตอาการและอาการเปลี่ยนแปลง วัดสัญญาณชีพ
ดูแลการได้รับสารน้ำและอิเลคโตรลัยส์
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวมีกิจกรรมในระยะแรกหลังผ่าตัด
ดูแลการให้ยากดระบบภูมิคุ้มกัน
ดูแลการรับประทานอาหารของผู้ป่วย
เมื่อผู้ป่วยจะกลับบ้าน
ความรู้เรื่องยา
การจำกัดอาหารและกิจกรรม
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะสลัดไต
สังเกตภาวะติดเชื้อ