Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ - Coggle Diagram
สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ
บทที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลในศตวรรษที่ 21
การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะต้องเป็นการประเมินผล เชิงคุณภาพ เน้นการปฏิบัติจริง บูรณาการวิธีการประเมินและใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลาย สร้างและพัฒนา ระบบแฟ้มสะสมงานของ ผู้เรียนนําเทคโนโลยีมาใช้ในการวัดและประเมินผลและนําประโยชน์ของผลสะท้อน จากการปฏิบัติของผู้เรียนมาปรับปรุงแก้ไขงาน
แนวคิดหลักของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การจัดทําระบบส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รอบรู้ทักษะ การเรียนรู้ไว้ 5 ด้าน ที่สําคัญได้แก่
(3) หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 (21st Century Curriculum and instruction)
(4) การพัฒนาทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 (21st Century Professional Development)
(2) การประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 (Assessment of 21st Century Skill)
(5) สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Environment)
(1) มาตรฐานในศตวรรษที่ 21 (21st Century Standards)
การจัดกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยองค์ประกอบสําคัญ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 จะประกอบไปด้วย
(2) การจัดการเรียนรู้ประกอบไปด้วยหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21
(3) การประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
(1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้
กรอบแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
กรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่แสดงผลลัพธ์ของนักเรียนและปัจจัยส่งเสริม สนับสนุนในการจัดการเรียนรู้เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21 โดยเครือข่ายองค์กรความรวมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills)
ทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (21t Century Skills) ) มีดังนี้
(1) สาระวิชาหลัก (Core Subjects)
(1.3) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
(1.4) ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
(1.2) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
(1.5) ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
(1.1) ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
(2) ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills)
(2.2) การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
(2.3) การสื่อสารและการร่วมมือ
(2.1) ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
(3) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information Media and Technology Skins)
(3.1) ความรู้ด้านสารสนเทศ
(3.2) ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
(3.3) ความรู้ด้านเทคโนโลยี
(4) ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills)
(4.1) ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
(4.2) การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
(4.3) ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
(4.4) การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
(4.5) ภาวะผู้นําและความรับผิดชอบ (Responsibility)
3RX 7C คือ
3R ได้แก่
อ่านออก (Reading)
เขียนได้ (Riting)
คิดเลขเป็น (Rithmetics)
7C ได้แก่
(1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา (Critical thinking & problem solving)
(2) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity & innovation)
(3) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์(Cross-cultural understanding)
(4) ทักษะด้านความร่วมมือ การทํางานเป็นทีม และภาวะผู้นํา (Collaboration, teamwork & leadership)
(5) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ (Communications, information & media literacy)
(6) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing & ICT literacy)
(7) ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้(Career & learning skills)
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ประกอบด้วย
(1) การวัดด้านความรู้ความสามารถ (Cognitive Domain)
(3) การวัดตามประเภทเจตคติและบุคลิกภาพต่อการทํางาน (Afective Domain)
(2) การวัดตามประเภททักษะการปฏิบัติ (Psychomotor Domain)
แนวทางการวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนจุดมุ่งหมายพื้นฐานสองประการ คือ
ประการแรก คือ การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียน และการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง บันทึก วิเคราะห์แปลความหมายข้อมูล แล้วนํามาใช้ในการส่งเสริม หรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียน ตลอดจนการให้ ผู้เรียนสามารถตั้งเป้าหมายและพัฒนาตนได้ จุดมุ่งหมาย
ประการที่สอง คือ การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน เป็นการประเมินสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) ซึ่งมีหลายระดับ ได้แก่ เมื่อเรียนจบหน่วยการเรียน จบรายวิชาเพื่อตัดสินให้ คะแนน หรือให้ระดับผลการเรียน ให้การรับองค์ความรู้ความสามารถของผู้เรียนว่าผ่านรายวิชาหรือไม่
จุดเน้นของการวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จึงมีจุดเน้น ดังนี้
(1) สร้างความสมดุลในการประเมินผลเชิงคุณภาพ
(2) เน้นการนําประโยชน์ของผลสะท้อนจากการปฏิบัติของผู้เรียนมาปรับปรุงแก้ไขงาน
(3) ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการทดสอบวัดและประเมินผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
(4) สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ของผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ
วิธีการวัดและประเมินทักษะทักษะในศตวรรษที่ 21
วิธีการวัดและประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21ที่เหมาะสมอย่างยิ่งคือการประเมินผลจากสิ่งที่ผู้เรียนได้ แสดงให้เห็นถึงว่ามีความรู้ ทักษะและความสามารถ ตลอดจนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันเป็นผลจากการ เรียนรู้ ตามที่ผู้สอนได้จัดกระบวนการเรียนรู้
(1) การประเมินด้วยการสื่อสารส่วนบุคคล ได้แก่
(1.1) การถามตอบระหว่างทํากิจกรรมการเรียน
(1.2) การพบปะสนทนาพูดคุยกับผู้เรียน
(1.3) การพบปะสนทนาพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
(1.4) การสอบปากเปล่าเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติ
(1.5) การอ่านบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ของผู้เรียน
(1.6) การตรวจแบบฝึกหัดและการบ้านพร้อมให้ข้อมูลป้อนกลับ
(2) การประเมินจากการปฏิบัติ (Performance assessment)
(2.1) ภาระงานหรือกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียน ปฏิบัติ (Tasks)
(2.2) เกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics)
(3) การประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment)
เป็นการประเมินผลจากการปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยงานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติจะเป็นงานหรือสถานการณ์ที่ เป็นจริง (Real Life) หรือใกล้เคียงกับชีวิตจริง จึงเป็นงานที่มีสถานการณ์ซับซ้อน (Complexity) และเป็นองค์ รวม (Holistic) มากกว่างานปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนทั่วไป
(3.1) กําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้โดยพิจารณามาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดจากหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน นํามาเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ กระบวนการและด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
(3.2) กําหนดกิจกรรมการเรียนการสอนและออกแบบ/สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษา
(3.2.1) ออกแบบงานให้ผู้เรียนปฏิบัติจะมี 3 ลักษณะ
ระดับการปฏิบัติจากสถานการณ์จําลอง ใช้แบบสังเกต/เกณฑ์การให้คะแนนแบบRubrics
ระดับการปฏิบัติจริง ใช้แบบสังเกต/เกณฑ์การให้คะแนนแบบ Rubrics
ระดับการรับรู้ ใช้แบบทดสอบในการวัด
(3.2.2) การออกแบบการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
(3.2.3) สร้างเครื่องมือวัดในการวัดการศึกษาตามที่ได้ออกแบบไว้
(3.3) เก็บรวบรวมข้อมูลและใช้ผลการวัดและประเมินเพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนของผู้เรียน
(4) การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน (Portfolio assessment)
เป็นวิธีการประเมินที่ช่วยส่งเสริม ให้ การประเมินตามสภาพจริงมีความสมบูรณ์ สะท้อนศักยภาพที่แท้จริงของผู้เรียนมากขึ้น โดยการให้ผู้เรียน ได้เก็บ รวบรวมผลงานจากการปฏิบัติจริง ทั้งในชั้นเรียนหรือในชีวิตจริง
(4.1) ลักษณะของแฟ้มสะสมงาน
(4.1.3) บ่งชี้จุดแข็งของนักเรียนมากกว่าจุดบกพร่อง
(4.1.4) เอื้อต่อการสื่อสารผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนต่อบุคคลอื่น
(4.1.2) เน้นผลงานเป็นสําคัญ
(4.1.5) เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
(4.1.1) เป็นการสะสมงานที่สําคัญของนักเรียนแต่ละคน โดยครูและนักเรียนร่วมกันกําหนด เป้าหมายของแฟ้มสะสมงาน
(4.2) ประเภทของแฟ้มสะสมงาน
(4.2.1) แฟ้มสะสมงานระหว่างดําเนินการ (Working portfolios)
(4.2.2) แฟ้มสะสมงานที่สมบูรณ์ (Final portfolios)
(4.2.3) แฟ้มสะสมงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic portfolios)
(4.3) ส่วนประกอบของแฟ้มสะสมงาน
(4.3.1) ส่วนนํา
(4.3.2) ส่วนบรรจุหลักฐานชิ้นงาน
(4.3.3) ส่วนบรรจุเกณฑ์การตัดสินใจแฟ้มสะสมงาน
(4.4) สิ่งที่เก็บในแฟ้มสะสมงาน
(4.4.1) ผลงานต่าง ๆ
(4.4.2) ผลการทดสอบ
(4.4.3) การเรียนบันทึกรายวัน
(4.4.4) การประเมินตนเอง
4.4.5) การประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้น
(4.4.6) การสังเกต
(4.4.7) การประชุมร่วมกัน
บทที่ 6 แนวทางการวัดและประเมินสําหรับนักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษา
ในการจัดการเรียนรู้ และกําหนดแนวทางในการวัดและประเมินผลผู้เรียนเพื่อให้เหมาะสมกับความบกพร่องของ “ผู้เรียนที่มี ความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษา” ดังนั้นในบทนี้จะขอกล่าวถึงแนวทางในการวัดและประเมินสําหรับ นักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษา
ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs) หรือเด็กพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีปัญหาและความต้องการจําเป็นพิเศษ ซึ่งมากกว่าเด็กปกติทั่วไป
แบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
2) กลุ่มเด็กที่มีความสามารพิเศษ หรือที่รู้จักกันในนาม
“เด็กปัญญาเลิศ-เด็กอัจฉริยะ”
3) กลุ่มเด็กด้อยโอกาส
1) กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการศึกษาทั้ง 9 ประเภท อันได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เด็กที่มีความบกพร่องทางกํารได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เด็กออทิสติก
และเด็กพิการซ้ําซ้อน
ความสําคัญของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สําหรับนักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ
หลักเกณฑ์ของคนพิการ ทางการศึกษา พ.ศ. 2552 ไว้ 9 ประเภท ได้แก่
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
บุคคลออทิสติก
บุคคลพิการซ้อน
ในปีพ.ศ. 2541 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศนโยบายให้ผู้พิการทุกคนที่อยากเรียนต้องได้เรียน ปีพ.ศ. 2542 มีการรับเด็กพิการเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป ตามนโยบาย ของรัฐบาล และในปีพ.ศ. 2543 ได้ขยายโอกาสและบริการทางการศึกษาสําหรับคนพิการให้ทั่วถึง ให้มีคุณภาพ และดําเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมติ คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ ได้มีนโยบายให้ คนพิการทุกคน ต้องได้เรียน โดยให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อพัฒนาตนเอง
ซึ่งกําหนดให้ผู้สอนจะต้องประเมินนักเรียนใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และ เขียน
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สําหรับนักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สําหรับนักเรียนที่มีความ ต้องการจําเป็น พิเศษทางการศึกษามีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
เพื่อประเมินความรู้ความสามารถพื้นฐานและความต้องการจําเป็นพิเศษเพื่อวางแผนการจัดการ เรียนรู้
เพื่อประเมินพัฒนาการและผลการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่อง
เพื่อตัดสินผลการเรียน เมื่อจบหน่วยการเรียนรู้หรือจบรายวิชาตามมาตรฐานและตัวชี้วัดใน หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
การวัดและประเมิลผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษจะต้องอาศัยการจัดทํา แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) ซึ่งการจัดทําแผนการ จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
การศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เพื่อให้ทราบจุดเด่น คือ ความสามารถหรือศักยภาพในปัจจุบันที่นักเรียน สามารถทําได้ในสาระการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ จุดด้อย คือ สิ่งที่นักเรียนไม่สามารถทําได้ ในสาระการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้ประเมิน/ครูควรตรวจสอบหรือประเมินความสามารถพื้นฐานจาก สภาพจริงในหลายสถานการณ์ให้ครอบคลุมก่อนจัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
การประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความ ต้องการจําเป็นพิเศษจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
การประเมินพัฒนาการและผลการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Evaluation)
การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน (Summative Assessment)
หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สําหรับนักเรียน
ที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ
สําหรับนักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางใน การตัดสินใจการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ที่สอดคล้องตามหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้
การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้สําหรับนักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษา
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สําหรับนักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษา
1.สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องดําเนินการ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
4.3. การช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกด้านการจัดสภาพแวดล้อม
4.2. การช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกด้านการตอบสนอง
4.1. การช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกด้านการนําเสนอ
4.4. การช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกด้านการจัดเวลาและตาราง
การประเมินนักเรียนพิจารณาจากพัฒนาการของนักเรียน ความประพฤติการสังเกตพฤติกรรมการ เรียนรู้ การร่วมกิจกรรมและการทดสอบ
เปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้
ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและรูปแบบการศึกษาต่าง ๆ
ให้สถานศึกษาจัดทําเอกสารหลักฐานการศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผลการเรียนรู้รายงาน
แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สําหรับนักเรียน ที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ
มีองค์ประกอบ ดังนี้
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน เป็นการ ประเมินศักยภาพของนักเรียนในการอ่านหนังสือ เอกสารและสื่อต่าง ๆ
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นการประเมิน คุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนอันเป็น คุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสํานึก
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอนดําเนินการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายวิชาตามตัวชี้วัดในรายวิชาพื้นฐาน ตามผลการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติม โดย การปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพความพิการหรือความบกพร่องของนักเรียน
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นการประเมินการปฏิบัติ กิจกรรมและผลงานของนักเรียน และเวลา ในการเข้าร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในแต่ละกิจกรรม
จัดการเรียนร่วม แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
กรณีนักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษา ที่เรียนร่วมกับเด็กทั่วไปในกลุ่มสาระการ เรียนรู้/ รายวิชาใดเต็มเวลาและหรือบางเวลาในโรงเรียนจัดการเรียนรวมและมีการปรับตัวชี้วัดให้เหมาะสมกับ นักเรียนพิการ แต่ละประเภทกําหนดแนวปฏิบัติดังนี้
2.5 ปรับเครื่องมือวัดและประเมินผล
2.4 ปรับวิธีการในการวัดและประเมินผลให้ให้เหมาะสมกับความต้องการ
2.6 กําหนดเกณฑ์การให้คะแนนใหม่ให้เหมาะสมกับศักยภาพนักเรียน
2.3 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาที่ต้องปรับเปลี่ยนเนื้อหา/ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินจะต้องมี การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกันในชั้นเรียน
2.7 ปรับระยะเวลาหรือกําหนดเวลาในการสอบให้เหมาะสม
2.2 เป็นการพิจารณาเฉพาะบุคคลไม่เปรียบเทียบกับนักเรียนทั่วไป
2.8 ปรับสถานที่สอบเพื่อนักเรียนจะได้ไม่ไปทําความรบกวนให้กับผู้อื่น
2.1 ให้ใช้เกณฑ์การวัดและประเมินผลในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด
2.9 การนําเสนอข้อสอบ (presentation) โดยมีผู้อ่าน/เครื่องอ่านข้อสอบให้ฟัง ใช้เทปเสียง ซีดี โปรแกรมอ่านหน้าจอ (Screen reader)
2.10 วัดและประเมินผลความก้าวหน้าและระบุไว้ในช่องการวัดประเมินผล การศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP)
กรณีนักเรียนพิการหรือบกพร่องที่มีความรู้ความสามารถเท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับนักเรียนทั่วไปที่ เรียนร่วม เต็มเวลาในโรงเรียนจัดการเรียนร่วม กําหนดแนวปฏิบัติดังนี้
1.2 อาจมีการปรับวิธีการ/เวลาในการวัดและประเมินให้ยืดหยุ่น
1.3 จัดให้มีสิ่งอํานวยความสะดวกและวิธีการสื่อสารให้นักเรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระ
1.1 ให้วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้
กรณีนักเรียนพิการหรือบกพร่องขั้นรุนแรงที่ไม่สามารถปรับใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดใน กลุ่มสาระการเรียนรู้ รายวิชาใด ๆ ได้ถึงแม้จะปรับวิธีการสอนหรือวิธีการสอบแล้วก็ตาม การจัดการเรียนรู้ มุ่งเน้นการเรียนรู้ทักษะชีวิต เพื่อการดํารงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข กําหนดแนวปฏิบัติดังนี้
3.4 ประเมินความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ได้ใช้วิธียืดหยุ่นและปรับวิธีการให้คะแนน
3.3 ประเมินความสามารถในการปฏิบัติตามระดับคุณภาพ
3.5 การประเมินผลการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
3.2 เป็นการประเมินเฉพาะบุคคลไม่เปรียบเทียบกับนักเรียนปกติ
3.1 ให้ประเมินผลตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กําหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สําหรับนักเรียน
6.1 การตัดสินผลการเรียน
หลักเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินผลการเรียนที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กําหนด ดังนี้
นักเรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
นักเรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัดหรือตัวชี้วัดที่ปรับใช้สําหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะและ ผ่าน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด
นักเรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชาหรือได้รับการตัดสินผลการเรียนที่กําหนด ไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนดในการ อ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนและโครงสร้าง เวลาเรียนของหลักสูตรสถานศึกษานั้น ๆ ซึ่งในการปรับใช้จากข้อกําหนด ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พ.ศ. 2551 ควรได้คํานึงถึงสิ่งสําคัญ ดังต่อไปนี้
คุณภาพนักเรียน นักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษา จะต้องได้รับการ ประเมิน คุณภาพ
มิติของการประเมิน นักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษา ควรได้รับการ ประเมินและ ตัดสินผล
เวลาเรียน นักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษาที่ศึกษาในระบบ ควรมีเวลา เรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
6.2 การให้ระดับผลการเรียน
2.1 การให้ระดับผลการเรียน ในการตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนกรณีนักเรียนที่มีความ ต้องการจําเป็น พิเศษทางการศึกษาที่เรียนรวมในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สามารถให้ระดับผลการเรียนหรือ ระดับคุณภาพ โดยพิจารณาจากการผ่านจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) มาประกอบ การให้ระดับผลการเรียนและตัดสินระดับคุณภาพตามเกณฑ์ปกติโดยคํานึงถึงความเหมาะสมตาม ศักยภาพ พัฒนาการ ความรู้ความสามารถ และความบกพร่องของนักเรียน
2.2 การประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ผลการ ประเมินเป็น ผ่านและไม่ผ่าน กรณีที่ผ่านให้ระดับผลการประเมินเป็นดีเยี่ยม ดีและผ่าน ทั้งนี้ให้คณะกรรมการ พัฒนาและประเมิน การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน
2.3 การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาเวลาในการเข้าร่วม กิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรม และผลงานของนักเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด และคณะอนุกรรมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรม
6.3 การเลื่อนชั้น
เมื่อสิ้นปีการศึกษา นักเรียนจะได้รับการเลื่อนชั้น เมื่อมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
นักเรียนมีเวลาเรียนตลอดปีการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
นักเรียนมีผลการประเมินผ่านมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด ไว้ในแต่ละ รายวิชา และผ่านเกณฑ์การวัดเฉพาะบุคคล (IEP)
นักเรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
6.4 การเรียนซ้ําชั้น
นักเรียนที่ไม่ผ่านรายวิชาจํานวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียน ในระดับสูงขึ้น สถานศึกษา อาจแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้เรียนซ้ําชั้นได้
มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80
นักเรียนมีผลการประเมินผ่านมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไม่ถึงเกณฑ์ตามที่ สถานศึกษากําหนด
6.5 การสอนซ่อมเสริม
ในกรณีนักเรียนได้รับการพิจารณาให้ซ้ําชั้นหรือนักเรียนมีความรู้ทักษะ กระบวนการ หรือเจตคติ/ คุณลักษณะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด สถานศึกษาต้องจัดการสอน ซ่อมเสริมเป็นกรณีพิเศษ
6.6 เกณฑ์การจบการศึกษา
เกณฑ์การจบการศึกษาตามแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
6.1 นักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษา บรรลุคุณภาพตามจุดประสงค์เชิง พฤติกรรม ที่กําหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ในรายวิชาใด ๆ โดยอิงมาตรฐานการเรียนรู้
6.2 นักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษา ที่มีความบกพร่องรุนแรง ควรพิจารณา ให้จบ การศึกษาโดยนักเรียนต้องผ่านการประเมินตามจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคล (IEP)
6.7 การรายงานผลการเรียน
การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและนักเรียน ทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของ นักเรียน ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและจัดทํา เอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ
ข้อมูลระดับสถานศึกษา ประกอบด้วย ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการ ประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
ข้อมูลระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติประกอบด้วย ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับเขต
ข้อมูลระดับชั้นเรียน ประกอบด้วย เวลามาเรียน ผลการประเมินความรู้ความสามารถตาม
ข้อมูลพัฒนาการของนักเรียนด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม และ พฤติกรรมต่าง ๆ
แนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สําหรับนักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษแต่ละ ประเภท
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สําหรับนักเรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษา ควรอยู่ บนพื้น ฐานที่สอดคล้องและตอบสนองกับความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษาของนักเรียน โดยใช้ แผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP) เป็นเครื่องมือในการดําเนินการ เชื่อมโยงกับมาตรฐานและตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและออกแบบการ เรียนรู้และ การวัดและประเมินผล ให้สอดคล้องกับความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษาของนักเรียน
2.2 พฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการ (Process Skill: P) หรือด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
2.3 พฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attribute: A) หรือด้านจิตพิสัย (Effective Domain)
2.1 พฤติกรรมด้านความรู้ (Knowledge: K) หรือพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
การประเมินระดับความรู้ความสามารถพื้นฐานและความต้องการจําเป็นพิเศษเพื่อนําข้อมูลไปใช้ใน การวางแผนจัดการเรียนรู้โดยประเมินความสามารถปัจจุบัน
การจัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เป็นแผนการจัดการศึกษาที่จัดทําขึ้นให้ สอดคล้องกับความต้องการจําเป็นพิเศษของนักเรียนเฉพาะบุคคล
การกําหนดเกณฑ์และแนวทางการวัดและประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับ พัฒนาการและผลการเรียนรู้ของนักเรียน ตรวจสอบความรู้ความสามารถของนักเรียนตามกรอบ มาตรฐานการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและประเมินผล ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) โดยดําเนินการประเมินผลควบคู่กับการจัดกระบวนการเรียนการสอน และให้โอกาสนักเรียนได้แสดงความรู้
การประเมินทบทวนและปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) เพื่อตรวจสอบ ประเมินผลการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ให้ทราบว่านักเรียนมีพัฒนาการตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP) ฉบับนั้น
การรายงานผลการจัดการศึกษาตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เป็นการรายงาน ความก้าวหน้า ให้ผู้ปกครองและนักเรียนทราบผลการพัฒนาและผลการเรียนรู้ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการ ประเมินและ จัดทําเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ หรืออย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง