Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบสอบถามและแบบประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (กลุ่มที่ 1) - Coggle Diagram
แบบสอบถามและแบบประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (กลุ่มที่ 1)
ปัญหาที่ 1 การได้ยินไม่ดี
ข้อมูลสนับสนุน : หูไม่ค่อยได้ยิน
(ใช้การสังเกตขณะพูดคุยกับผู้สูงอายุ)
ทฤษฎีการเสื่อมสภาพของเซลล์
สาเหตุของการไม่ได้ยิน
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่มีผลต่อการได้ยินของผู้สูงอายุการสูญเสียการได้ยิน จากการสูงอายุเป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัยในทางเสื่อมสภาพของระบบการได้ยินตั้งแต่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง ไปจนถึงหูชั้นใน
ดังต่อไปนี้
หูชั้นนอก ใบหูของผู้สูงอายุจะสูญเสียความยืดหยุ่นและความแข็งแรง ต่อมสร้างขี้หูมีการทำงานมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะขี้หูอุดตันได้บ่อยขึ้น
หูชั้นกลาง แก้วหูของผู้สูงอายุจะมีความยืดหยุ่นน้อยลง และกระดูกเล็กๆ ในหูชั้นกลางมีการแข็งตัวมากขึ้น
หูชั้นใน เซลล์ขนบริเวณโคเคลีย(cochlea) ของผู้สูงอายุเป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย ดังนี้
3.1 เซลล์ขนที่ฐานในบริเวณโคเคลียมีการเหี่ยวฝ่อไป
3.2 เส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากเซลล์ขนบริเวณโคเคลีย ส่งไปยังสมองมีการเสื่อมลง
3.3 เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงโคเคลียมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงลดลงการเปลี่ยนแปลงตามวัยของระบบการได้ยินในวัยสูงอายุดังกล่าว ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียการได้ยินเสียงที่มีความถี่สูง และจะได้ยินเสียงที่มีความถี่ต่ำได้ดีกว่า ส่งผลให้เกิดภาวะประสาทหูเสื่อมนั้น ผู้สูงอายุอาจได้ยินเสียงชัดในระดับความถี่ต่ำ และไม่ได้ยินเมื่อมีการใช้เสียงในระดับความถี่สูง
อาการ
ผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมตามอายุ โดยทั่วไปรู้สึกว่าได้ยินเสียงคนอื่นพูดพึมพำ
มีปัญหาการได้ยินเสียงสูง เช่น เสียงนาฬิกาเดิน มีปัญหาการฟังและความเข้าใจในบทสนทนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ที่มีเสียงรบกวนมาก ฟังเสียงผู้ชายง่ายกว่าเสียงผู้หญิง บางเสียงที่รู้สึกว่าดังมากเกินไปและน่ารำคาญ หรือมีเสียงดังในหู
การส่งเสริมการไม่ได้ยิน
ควรมีการตรวจหูผู้สูงอายุ และคัดกรองปัญหา
การได้ยินในการตรวจสุขภาพประจำปี
ผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียการได้ยินจะมีความยากลำบากในการสื่อสารควรให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลและสมาชิกในครอบครัวให้มีทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเริ่มต้นการสนทนาด้วยการทำให้ผู้สูงอายุให้ความสนใจ และพร้อมที่จะฟัง เลือกใช้สถานที่ที่มีความเหมาะสมควรกำจัดเสียงต่าง ๆ ที่อาจรบกวนการสนทนาใช้ประโยคเรียบง่ายมีความหมายพูดช้าปานกลางเน้นคำที่สำคัญ
ควรแนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง เช่น ผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด ผลไม้ประเภทส้ม มะเขือเทศและอาหารประเภทถั่ว
การได้รับกรดโฟลิคอย่างเพียงพอประมาณ 800 ไมโครกรัมต่อวัน สามารถลดระดับของสารโฮโมซีสเตอีนได้ถึงร้อยละ 25 จึงสามารถชะลอการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุได้
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงเสียงดังมากจนเกินไป ที่มีผลกระทบต่อหู เช่น เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบลเอที่ทุกความถี่ ส่วนใหญ่พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมมีระดับเสียงที่ดังเกิน มากกว่า 85 เดซิเบลเอ เป็นจำนวนมากซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทางกาย และจิตใจ
3.หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู
ถ้าเป็นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, โรคไต โรคกรดยูริกในเลือดสูง, โรคซีดโรคเลือด ควบคุมโรคให้ดี
เพราะโรคเหล่านี้ ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทหูน้อยลง ทำให้ประสาทรับเสียงเสื่อมมากหรือเร็วขึ้น กว่าที่ควรจะเป็น
4.หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
5.หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
6.ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ,ชา, เครื่องดื่มน้ำอัดลม (มีสารคาเฟอีน ), งดการสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน) สารคาเฟอีน และนิโคติน ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทหูน้อยลง ทำให้ประสาทรับเสียงเสื่อมมาก หรือเร็วขึ้น กว่าที่ควรจะเป็น
7.พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด วิตกกังวล และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ปัญหาที่ 2 ภาวะทุพโภชนาการ
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (The free radical theory)
เป็นผลมาจากการเผาผลาญ กระบวนการออกซิเดชั่นของ O
ที่ไม่สมบูรณ์ในกระบวนการ Metabolism สารจำพวกโปรตีน, คาร์โบไฮเดรทและอื่นๆ ทำให้เกิด อนุมูลอิสระ
Lipofuscin เพิ่มขึ้น มีผลกับเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพจะค่อยๆถูกกีดกันจากออกซิเจนและสารอาหาร
เกิดการเสื่อม สภาพของเนื้อเยื่อรอบข้างในที่สุด การยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ คือ รับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ที่มีสีเหลือง ส้ม และวิตามินอีทุกวัน
ข้อมูลสนับสนุน
มีฟันโยกคลอนละหักง่าย เหงือกร่นจนเห็นรากฟันทำให้ซี่ฟันยาวขึ้น
เคี้ยวอาหารแข็งไม่ค่อยได้หรือไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร
มีความเสี่ยงต่อภาวะเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
สาเหตุของการเกิดภาวะทุพโภชนาการ
ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ภาวะจิตสังคม
ภาวะเศรษฐกิจ และการมีโรคประจำตัว
1.การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีโครงสร้างและการทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกายเสื่อมลง เช่น ศูนย์กระตุ้นความอยากอาหารทำงานลดลง การมีเหงือกร่น การยึดติด ของฟันกับกระดูกเหงือกไม่แน่น เหงือกอักเสบ เกิดฟันคลอนขณะเคี้ยวหรือกัดอาหาร มีฟันผุ หรือฟันร่วงหลุด ทำให้การบดเคี้ยวอาหารลำบาก
ไม่ละเอียด ต้องรับประทานนิ่มๆ ชนิดเดิมซ้ำๆ
มีปริมาณน้ำลายลดลง ขาดเอนไซม์ในการย่อย แป้ง ปากและลิ้นแห้ง การรับรส การรับกลิ่นลดลง การเคลื่อนไหวของ หลอดอาหาร การย่อยอาหาร การดูดซึมของกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง การเผาผลาญ อาหาร การขับถ่ายอุจจาระลดลง ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดภาวะขาดอาหารจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอกับความ ต้องการของร่างกาย
ภาวะจิตสังคม ผู้สูงอายุที่เคยทำงานประจำเมื่อถึงวัยนี้ซึ่งเป็นวัยเกษียณอายุไม่ได้ ทำงานประจำแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ บทบาททางสังคม ขาดเพื่อนที่เคยมีกิจกรรมร่วมกัน บางรายขาดคู่ชีวิตหรือต้องอยู่โดยลำพัง
แบบแผนในการดำเนินชีวิตที่ผ่านมาต้อง เปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกสูญเสียสถานภาพ สูญเสียอำนาจ สูญเสียการมีสังคมกับเพื่อนความมีคุณค่าในตนเองลดลง ความวิตกกังวล ขาดความมั่นใจ เศร้าโศก เก็บกด พบว่าผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพจิตต่ำ
ทำให้ผู้สูงอายุขาดแรงกระตุ้นในการรับประทานอาหาร ทำให้รับประทานอาหารจำนวนน้อยลง รับประทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อ พบว่าผู้สูงอายุรับประทานอาหารเพียง 1-2 มื้อ/วัน ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการ
ภาวะเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุที่อยู่ในวัยเกษียณและไม่สามารถทำงานได้ ทำให้มีรายได้ คงเดิมหรือลดลงแต่รายจ่ายส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น จากการที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถหาซื้ออาหารที่ตนเองต้องการ รับประทานได้ต้องรับประทานอาหารประเภทแป้งและไขมันเพราะรับประทานง่ายและราคาถูก กว่าอาหารโปรตีน ทำให้เกิดความไม่สมดุลของภาวะโภชนาการ
การมีโรคประจำตัวของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง / ไขมันในเลือดสูง / คลอเลสเตอรอลในเลือดสูง ผู้สูงอายุจึงแสวงหายาทั้งจากแพทย์แพทย์ทางเลือก ซื้อยารับประทานเอง ยาสมุนไพร ยาเหล่านี้มีปฏิกิริยา ต่อร่างกายและมีผลต่ออาหารที่ได้รับ เกิดการขัดขวางการย่อย การดูดซึม การเผาผลาญ และการขับออกจากร่างกาย ทำให้ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร หรือเพิ่มการสูญเสียสารอาหารทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ
อาการของภาวะทุพโภชนาการ
ภาวะทุพโภชนาการทำให้เกิดอาการในลักษณะที่แตกต่างกันไปตามประเภท ดังนี้
ภาวะโภชนาการต่ำ
น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
มีความอยากอาหารลดลง
ผมร่วง ซีด ใจสั่น
เวียนศีรษะ อ่อนแรง รู้สึกเพลียตลอดเวลา และอาจเป็นลมหมดสติ
เจ็บป่วยง่าย ป่วยแล้วหายช้ากว่าปกติ แผลสมานช้า
มีปัญหาในการย่อยอาหารและการหายใจ
รู้สึกเสียว เจ็บคล้ายเข็มทิ่ม หรือชาที่ข้อต่อ
ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย
มีอาการซึมเศร้าหรือรู้สึกหดหู่ใจ
รู้สึกหนาวตลอดเวลา
มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ทำกิจกรรมต่าง ๆ ช้า หงุดหงิด หรือวิตกกังวลผิดปกติ เป็นต้น
ภาวะโภชนาการเกิน
มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์
มีไขมันส่วนเกินสะสมอยู่ในร่างกายปริมาณมาก
หายใจติดขัด หายใจไม่คล่อง
นอนกรนจากปัญหาเรื่องการหายใจ
เหนื่อยง่าย ร้อนง่าย เหงื่อออกง่าย เหงื่อออกมาก
ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ยากลำบาก
อึดอัด เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ
การส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ผู้สูงอายุควรได้รับปริมาณอาหารที่สมดุลกับความต้องการพลังงานของร่างกาย อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อกรัม
โปรตีนที่มีคุณภาพสมบูรณ์และย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ไข่ นมที่มีไขมันน้อย หรือนมพร่องมันเนย เนื้อ สัตว์ไม่ติดมัน และโปรตีนจากพืช ได้แก่ เต้าหู้ และผลิตภัณฑ์ ถั่วเหลือง เป็นต้น อาหารประเภทไขมัน ซึ่งให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรีต่อกรัม
เป็นไขมันอิ่มตัวต้องไม่เกินร้อยละ 10 และกรดไขมันไม่อิ่มตัวร้อยละ 10-20 ของปริมาณไขมันที่บริโภค กรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว และ น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น ส่วนผลไม้ควรรับประทาน 3-4 ส่วน และ ควรเป็นผลไม้ที่ผู้สูงอายุเคี้ยวและกลืนได้ง่าย ไม่ควรเป็น ผลไม้รสหวานจัด
ส่วนอาหารที่ช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมได้มากขึ้น ได้แก่ประเภท นม ที่ควรเป็นนมไขมันต่ำ นมพร่องมันเนย หรือนมถั่วเหลือง อาหารประเภทปลาตัวเล็กๆ เต้าหู้ และงา
การใช้กลยุทธ์การส่งเสริมโภชนาการในผู้สูงอายุ เป็นกลยุทธ์การส่งเสริมโภชนาการเพื่อทำให้ผู้สูงอายุได้รับอาหารที่เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา และข้อจำกัดของแต่ละบุคคล เช่น ผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว การช่วยเหลือในการรับประทาน อาหารตามความเหมาะสม เช่น การตักอาหารให้ การป้อนอาหาร การตัดอาหารให้เป็นชิ้นพอดีคำแล้วให้ผู้สูง อายุหยิบเข้าปากเอง (finger foods)
ปัญหาที่ 3 ข้อเข่าเสื่อม
ทฤษฎีการเสื่อมสลายของเซลล์
ข้อมูลสนับสนุน : มีอาการโรคข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลาง
สาเหตุ
อายุ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งความเสี่ยงในการเกิดเข่าเสื่อมจะมีมากขึ้นเมื่อมีอายุที่มากขึ้น
การบาดเจ็บ ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ
เพศ เพศหญิงมีโอกาสเกิดเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป
น้ำหนัก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วน อาจทำให้ข้อต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อเข่าต้องรับน้ำหนัก 3-4 เท่าต่อน้ำหนักตัว
กรรมพันธุ์ ผู้ป่วยข้ออักเสบบางรายจะพบว่ามีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคเข่าเสื่อมเกิดจากโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ๆ
สาเหตุจากโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดการทำลายของข้อต่อ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าท์นอกจากนั้น ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องยกของหนักหรือแบกรับน้ำหนักมาก ๆ เป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน ก็จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเข่าเสื่อมได้มากขึ้น
อาการ
อาการปวด ของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยระยะแรกจะมีอาการปวดเวลาใช้งาน ข้อ เช่น เวลาเดินขึ้น – ลงบันได นั่งยอง ๆ หรือเมื่อมีกิจกรรมและมีอาการมากที่สุดในตอนเย็น ถ้ารุนแรงมากจะปวดแม้แต่อยู่เฉย ๆ อาการปวดเวลากลางคืนจะพบในรายที่มีการทำลายของข้อในระยะท้าย ๆ
ข้อบวมโตขึ้น (swelling) ซึ่งมีได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ เมื่อมีการดำเนินของโรคเพิ่มขึ้น เกิดข้ออักเสบทำให้ข้อเข่าบวมโตขึ้นจากการที่มีน้ำเยื่อหุ้มข้อเพิ่มมากขึ้นจากกระบวนการเกิด การอักเสบ ส่งผลทำให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น และแบบที่ 2 คือมีการสร้างของกระดูกเพิ่มขึ้นมาใหม่
ข้อติดแข็ง (Stiffness) อาการข้อติดแข็งจะพบร่วมกับการเจ็บป่วยข้อ เนื่องจากในขณะที่มีอาการปวด ผู้สูงอายุไม่ยอมเคลื่อนไหวข้อเข่าร่วมกับมีการเจริญของกระดูกที่งอกใหม่ บริเวณผิวข้อเข่า จึงทำให้เกิดอาการยึดติด เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก ข้อเข่าเหยียดตรงไม่ได้ เกิดความผิดปกติในการเดิน อาการข้อเข่าติดแข็งมักพบภายหลังจากตื่นนอนตอนเช้า
เนื่องจากมีการหยุดใช้ข้อเข่าเป็นเวลานานแต่จะเกิดเพียงชั่วครู่เมื่อได้ขยับเขยื้อนข้อ เข่าสักพักอาการข้อติดแข็งก็จะหายไป ตามธรรมดาแล้วอาการข้อติดแข็งนี้มักจะอยู่ไม่ เกิน 30 นาที
เสียงกรอบแกรบจากการเสียดสีของกระดูก (Crepitation) เกิดจากการเสียดสีของขอบ กระดูกที่เจริญขึ้นมาใหม่บริเวณขอบของข้อต่อร่วมกับช่องวางระหว่างข้อแคบลง ทำให้การเสียดสีของกระดูกมีมากขึ้น ซึ่งผู้สูงอายุจะได้ยินเสียงดังกรอบแกรบในขณะเคลื่อนไหวข้อเข่า
ความรู้สึกของข้อเข่าไม่มันคง ( Sensation of insecurity or instability) โดยเมื่อกระดูก อ่อนผิวข้อบางลง จนทำให้กระดูก ใต้กระดูกอ่อนหนาตัวขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน ผิวข้อและทำให้ส่วนประกอบภายในข้อเข่าหลวม จึงเกิดการพลัดตกหกล้มได้ง่าย
การเดินที่ผิดปกติ (Gait disturbance) ซึ่งเป็นผลจากการชำรุดของข้อต่อและกล้ามเนื้อ ร่วมกับโครงสร้างภายในข้อที่มีกากเปลี่ยนแปลง ช่องวางภายในข้อแคบลง มีการงอกของกระดูก เพิ่มขึ้นเมื่อมีแรงกดลงบนพื้นผิวข้อเข่าไม่สม่ำเสมอ ซึ่งมักตรวจพบการเดินที่ผิดปกติจากความเจ็บปวดขณะลงน้ำหนัก
ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมักจะใช้การลงน้ำหนักขาข้างนั้นให้น้อย ที่สุดและสั้นที่สุด ถ้าเป็นทั้งสองข้างประกอบกบเข่าคดโค้งจะเดินกะเผลกโยกตัวเอนไปมา เพื่อลดความเจ็บปวดรวมทั้งปรับสมดุลไม่ให้ล้ม
อาการผิดรูปของข้อ (Joint deformity) โดยจะมีการตรวจพบขาโก่ง (Bow leg) คือมีอาการข้อเข่าแยกออกจากกันเห็นได้ชัดเจน บางรายอาจมาด้วยข้อเข่าชิดกันเรียกว่าขาฉิ่ง
พยาธิสภาพ
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการสูงอายุ ข้อเข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายและเป็นข้อที่ต้องรับน้ำหนักมาก ตลอดเวลาที่เดินหรือยืน จึงทำให้ผิวกระดูกอ่อนมีการสึกกร่อนบางลง เกิดการแตกปริ (Fibrilation) และการสะสมของหินปูน หรือแคลเซียมบริเวณผิวกระดูกและช่องว่างระหว่างข้อ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีอาการปวดข้อ ข้อติดแข็ง และการเคลื่อนไหวข้อได้น้อยกว่าปกติ
การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม
หมั่นออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
การนั่งส้วมไม่ควรนั่งยอง ควรปรับเปลี่ยนเป็นชักโครก
ไม่ควรนั่งกับพื้น หรือทำกิจกรรมที่ต้องก้มเป็นเวลานาน
หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดหรือที่สูงชัน
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
หากมีน้ำหนักตัวมากหรืออ้วน ควรควบคุมอาหาร
การส่งเสริม
การปรับเปลี่ยนอิริยาบถและสภาพแวดล้อมให้ เหมาะสมในชีวติประจำวัน การนั่ง ควรนั่ง บนเก้าอี้มีที่พนักพิงและที่รองแขน เพื่อช่วยในการพยุงตัวลุกขึ้น ไม่ควรนั่งพับเพียบ นั่ง ขัดสมาธินั่งคุกเข่า นั่งยองๆ หรือนั่งราบกับพื้น หลีกเลี่ยงการยืนนิ่งๆ นาน ๆ ควรมีการเปลี่ยน อิริยาบถ
เช่น ลุกเดินไปมาอย่างน้อยทุกครึ่งถึง 1 ชั่วโมง นั่งเหยียดขาหรือบริหารกล้ามเนื้อเข่าร่วมด้วย เป็นระยะการนอน นอนบนเตียงสูงระดับเข่า ไม่ควรนอนราบ ราบพื้น ควรพักอาศัยอยู่ชั้นด้านล่างขึ้นลงบันไดให้น้อยที่สุดเนื่องจากขณะก้าวขึ้นลงบันไดจะมีแรงกดที่ ข้อเข่ามาก การยืน ควรยืนตรงให้น้ำหนักตัวลงขาทั้งสองข้าง เท่าๆ กัน
การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ ใส่รองเท้าแบบสวม พื้นนุ่มกระชับพอเหมาะ หรือใช้เครื่องช่วยเดินที่ เหมาะสม การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ผู้ที่น้ำหนักเกิน ควรลดหรือควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้น โดยการควบคุมอาหาร
การออกกําลังกาย ที่ถูกต้องจึงมี 6 ท่า บริหารง่ายๆ มาให้ลองทำเพื่อป้องกันและบรรเทา โรคข้อเข่าเสื่อม
การบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่า
ท่าที่ 1 นั่งบน เก้าอี้ ค่อยๆยกต้นขาขึ้นหนึ่งข้างแล้วผายขาออกไปแตะพื้นด้านข้างทำสลับกัน10ครั้ง
วัตถุประสงค์ : สร้างกล้ามเนื้อรอบๆหัวเข่าให้ แข็งแรง
ท่าที่2 เหยียดขาด้านหน้าทั้ง2ข้าง เตะขาสลับข้างเท้าลอยพื้น เกร็งขา เพิ่มความยากด้วยการเตะสลับไล่ ความสูงขึ้นเรื่อยๆ
วัตถุประสงค์ : สร้างกล้ามเนื้อรอบๆหัวเข่าให้แข็งแรงมากขึ้น และลดอาการปวดของข้อเข่า
ท่าที่3 : นั่งเก้าอี้ท่าปกติ ยกต้นขาขึ้นตั้งฉาก1ข้างและเกร็ง กล้ามเนื้อช่วงขาหน้าค่อยๆยืดหน้าแข้งให้ขนานพื้น ค้างไว้ 1 วินาที และชักหน้าแข้งกลับที่เดิม
วัตถุประสงค์ : ช่วยให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่แข็งแรงและลดการปวดของข้อเข่า
ท่าที่4 : ยืดขาให้สุด วางฝ่าเท้าให้เต็มพื้น จิกฝ่าเท้าติดพื้นละค่อยๆลากเข้าหาลำตัวช้าๆ
วัตถุประสงค์ : ยืดเหยียดร่างกายหลังการออกกำลังกาย
ท่าที่ 5 : นั่งเก้าอี้เหยียดขาไปด้านหน้า 1 ข้าง กดเข่าให้ตึง วางฝ่าเท้าไว้กับพื้นกระดกปลายเท้า แล้วค่อยๆ ไล่มือลงไปตั้งแต่ต้นขา หัวเข่า หน้าแข้ง และปลายเท้า
1 more item...
การส่งเสริม
อาหารมีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง โดยเฉพาะอาหารทะเล เช่น ปลาทะเล ปลาแซลมอน หรือแม้แต่ ปลาน้ำจืดประเภทปลาเนื้อขาว จะช่วยบำรุงข้อต่อกระดูกให้ แข็งแรง และลดอาการปวดหรืออักเสบในผู้ป่วยที่มี ข้อเข้าอักเสบ และลดอการติดแข็งบริเวณข้อต่างๆ อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือเบต้าแคโรทีนสูง โดยเฉพาะผักต่างๆ อย่างใบยอ ยอดแค ผักโขม ผักคะน้า บรอกโคลี ผักกระเฉด ถั่วงอก อีกทั้งยังควร กินผักให้หลากสี เช่น มะเขือเทศสีแดง แครอทสีส้ม กะหล่ำปลีสีม่วง ข้าวโพดและฟักทองสีเหลือง เพราะจะได้วิตามินที่หลากหลาย โดยเฉพาะผักใบเขียว
อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น อัลมอนด์อบ งาดำ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่ว เหลือง เช่น นํ้าเต้าหู้ เต้าหู้หลอด แม้แต่การกินปลาตัว เล็กตัวน้อยก็จะช่วยเพิ่มแคลเซียมใหก้ระดูกแข็งแรง ทั้งนี้ควรจะกินอาหารที่มีวิตามินดีสูง จำพวก นม ไข่ ปลาซาดีน ควบคู่กันไปได้ด้วย เพราะวิตามินดีจะช่วย เรื่องการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น
อาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี โดยเฉพาะผลไม้ต่างๆ เช่น ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะละกอสุก
เพราะวิตามินซี จะช่วยต้านการเกิดอนุมูลอิสระอีกทางหนึ่ง
อาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี เพราะช่วยดูดซึมแคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และป้องกันโรคกระดูกมีอยู่ในอาหารหลายชนิด เช่น ไข่แดง ตับ นม เนย ปลาซาดีน และ ปลาทูน่า เป็นต้น วิตามินดีจากแสงยูวี การรับแสงยูวีในยามเช้า
อาหารที่มีสารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น เชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แอปเปิ้ล ชาเขียว หัวหอม และมะเขือเทศ จะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ
รับประทานอาหารประเภท อบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง แทน ประเภทผัด ทอด หรือ แกงกะทิ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัว
อาหารที่ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมควรหลีกเลี่ยง
อาหารเสริมและวิตามินสำเร็จรูป หากต้องการกิน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่า ผู้ป่วยขาดวิตามินชนิดใดหรือไม่ และจะกําหนดให้ กินในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาหารเสริมหรือ วิตามินบางอย่างก็ไม่มีความจำเป็น มีราคาสูง และ หากได้รับมากเกินไปกลับจะเป็นโทษมากกว่ามีประโยชน์